ประชุมคณะกรรมการ ปขมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ 95 (1/2563) ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประชุมคณะกรรมการ ปขมท. สมัยสามัญ ครั้งที่ 95 (1/2563)  เมื่อวันศุกร์ ที่ 11  ธันวาคม 2563  ห้องประชุมบัวตอง  ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการนี้ ได้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM) เรื่อง การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนางานในยุค "New Normal Through Next Normal" โดย รองศาสตราจารย์ ดร.รัฐสิทธิ์ สุขหุต ผู้อำนวยการสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีเนื้อหาสาระที่สรุปได้เป็นสังเขปดังนี้ 

New Normal = ฐานวิถีชีวิตใหม่ ซึ่งเป็นแบบชั่วคราวหรือทำให้เกิดความถาวรในอนาคตได้

Disruption = เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลัน แบบก้าวกระโดด ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม โดยมีเทคโนโลยีเป็นตัวขับเคลื่อน ใครที่ปรับตัวไม่ได้ก็จะตายหรือสูญพันธุ์ไป ปัจจุบันเปลี่ยนมาเป็น digital มากขึ้น เป็นแบบออนไลน์ platform เป็นต้น แตกต่างจาก Transformation ที่มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป 

ตัวแปรสำคัญอีกประการหนึ่งของการ Disduption คือ Ageing society ผู้สูงอายุมีมาก เด็กเกิดใหม่น้อยลง เกิดมาพร้อมกับเทคโนโลยี IOT (Internet of Thing) ส่งผลให้เกิดความต่างระหว่างวัยมากขึ้นตามไปด้วย Big Data = data ขนาดใหญ่ที่อยู่ในโลกออนไลน์ มีมาก หลากลาย และรวดเร็วของการเปลี่ยนแปลง (Volume, variety, velocity) ถูกนำไปใช้ในเชิงธุรกิจมากขึ้นเรื่อยๆ นำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ ในศาสตร์ของ Data Science นำไปสู่ Business marketing 

Cloud computing = แหล่งของการเก็บข้อมูล อยู่ในคลาว มีบทบาทสำคัญให้ทุกสิ่งอย่าง ในการให้บริการ ต้องมีการเช่า 

AI = ปัญญาประดิษฐ์ เป็นซอฟแวย์ อยู่ในอาร์ตแวย์ มีบทบาทมากขึ้น สามารถทำงานแทนมนุษย์ ที่ทำงานซ้ำๆ ยกเว้นงานที่เป็นแบบสร้างสรรค์ ยังไม่สามารถทำได้

Chatbot = เป็นโรบอต ที่คอยตอบคำถามถามบ่อย 

Computer vision = เป็นการเรียนรู้ผ่านภาพ ผ่านภาษา

Machine learning = เป็นโรบอตที่ทำงานอยู่ในแวย์เฮาส์ เป็นหุ่นยนต์ทำงานแบบซ้ำๆ แทนคนได้ ได้เปรียบในเรื่องของมาตรฐานและความผิดพลาด

Drone = โดรนที่ใหญ่ขึ้นสามารถติดกล้อง หรือรับน้ำหนักได้มากขึ้น สามารถทำงานในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงได้ หรือนำมาประยุกต์ในหลายๆ ด้าน

Virtural Reality (VR)= การจำลองภาพจริงเสมือน ผ่านโลกเสมือนจริง ทั้งในรูปของเกม หรือประยุกต์ใช้ในโรงงาน

Fintech = เสมือนการสร้างบริษัทใหม่ขึ้นมา ที่มีการร่วมลงทุน สร้างเป็น digital  platform online เป็น starup มักมาใช้ในการปรับตัวของธนาคาร เราเห็น application ที่บนบนออนไลน์ จะเห็นได้ว่า ส่วนที่ผู้บริโภคเห็นเป็นส่วนที่อยู่ปลายน้ำของการรวมเทคโนโลยีที่มีการทำงานของ Fintech เป็นการร่วมการทำงานจากหลายๆ ส่วน รวมเทคโนโลยีทุอย่าง ผ่าน startup 

Platform = ชานชลา หรือ สถานที่นัดพบ … 

Digital platform = แหล่งรวมของเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผ่านทางเทคโนโลยี เรื่องใดเรื่องหนึ่งหมายถึงทางธุรกิจ ทางการเรียนการสอน การตลาด การให้บริการอื่นๆ เช่น business platform การซื้อของผ่าน application ลูกค้างหนึ่งคน ดำเนินการสั่งซื้อ โดยมี platform ดำเนินการให้ทั้งหมด หรือ Sharing economy เรามีห้อง ที่พัก บ้าน ที่ว่างอยู่ อาจมีการแบ่งปันให้เช่า หรือวางขายใน platform ส่งผลต่อกระบวนการคิดของเด็กสมัยใหม่แตกต่างจากคนยุคเก่า

Ommi-Channel = เป็นช่องทางการรวมกันของระบบต่างๆ ออนไลน์ เข้าด้วยกัน ไม่มีการแยกระบบ เช่น ระบบการสั่งอาหาร ระบบการส่ง หรือระบบการจ่ายเงิน 

GIG economy = การทำงานที่เป็นแบบชั่วคราว part time เป็น platform ของ Gig IT Economy มากขึ้น มีหลายเหตุผล เช่นอยากมีเวลามากขึ้น เป็น job in GIG Economy มีรายได้เสริม อิสระ สมดุลในเรื่องอาชีพ เช่น TikTok, facebook live, VJ (DJ ออนไลน์) Youtuber เป็นต้น เป็นยุคที่เหมาะกับวัยเพิ่งเกษียณ เช่นกัน

เอกสารประกอบการบรรยาย

วันที่ : 14 ธ.ค. 2563