1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การพัฒนาระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด: กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
สมเกียรติ เขียวแก่
Keyword:
ความพึงพอใจ, พนักงานรักษาความปลอดภัย, คิวอาร์โค้ดระบบรักษาความปลอดภัย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
หน้า: 1 - 9
( Download: 1424 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด มาทดแทนระบบตรวจเช็คแบบเดิม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กลุ่มบุคลากรของสถาบันฯ ที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของสถาบันฯ ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หน่วยกายภาพและการบริการ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่าระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ดเป็นระบบที่ใช้งานสะดวกมีประสิทธิภาพในการจัดการ และมีประโยชน์ในการใช้งาน ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ ผลประเมินโดยรวมของผู้ใช้งานในด้านประสิทธิภาพ และด้านประโยชน์การใช้งาน มีความพึงพอใจระดับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เท่ากันทุกด้าน ซึ่งอยู่ในช่วงเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Download
|
5 |
วิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ธันวา เจริญศิริ
Keyword:
ต้นทุน, รายรับ, รายจ่าย, สัตว์ทดลอง
หน้า: 10 - 20
( Download: 1520 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองของหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลรายรับและรายจ่ายจากการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีค่าเฉลี่ยต่อตัวสัตว์ทดลอง 9.04 บาทตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบรายได้เรียกเก็บจากลูกค้าที่จ้างเลี้ยงสัตว์ทดลองตามประกาศฯ ราคาค่าเลี้ยงดูหนูตัวละ 3 บาท/ตัว/วัน นั่นคือ รายจ่ายเฉลี่ยต่อตัวสูงกว่ารายได้ สะท้อนให้เห็นว่าคณะฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดยประมาณ 6.04 บาท/ตัว/วัน ตามลำดับ สำหรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูสัตว์ทดลองปี 2562 มีการเลี้ยงสัตว์ทดลองจำนวน 84,648 ตัว เฉลี่ยวันละ 232 ตัว คิดเป็นร้อยละ 14.23 ของประสิทธิภาพที่หน่วยสัตว์ทดลองรองรับได้ และต้นทุนการดำเนินงานของหน่วยสัตว์ทดลอง พบว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 247.90 บาทต่อตัว เป็นต้นทุนคงที่ 238.86 บาทต่อตัว และต้นทุนผันแปร 9.04 บาทต่อตัว หากดำเนินงานเต็มประสิทธิภาพที่หน่วยสัตว์ทดลองรองรับได้ สามารถเลี้ยงสัตว์ทดลองได้จำนวน 1,630 ตัวต่อวัน มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 35.28 บาทต่อตัว (ต้นทุนคงที่ 34.00 บาทต่อตัว และต้นทุนผันแปร 1.28 บาทต่อตัว) สามารถสร้างรายได้จากลูกค้าผู้ปฏิบัติงานภายในคณะฯ ทั้งหมด จำนวน 5.43 ล้านบาท และหากลูกค้ามาจากบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมด รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 15.87 ล้านบาท
Download
|
6 |
ความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
โสภิดา สุทธนะ
Keyword:
ความต้องการ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา
หน้า: 21 - 28
( Download: 1404 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.87 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นิสิตมีความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านจิตใจมากที่สุด ( = 4.10, S.D. = 0.67) รองลงมาคือ ด้านอารมณ์ ( = 3.97, S.D. = 0.70) ด้านสังคม ( = 3.89, S.D. = 0.68)ด้านสติปัญญา ( = 3.71, S.D. = 0.73) และด้านร่างกาย ( = 3.62, S.D. = 0.84) ตามลำดับ และนิสิตต้องการให้คณะฯ จัดการเรียนการสอนโดยเน้นการปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง การศึกษาดูงาน การทำกิจกรรม/โครงงานร่วมกับชุมชนและนิสิตต่างคณะ การพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการเป็นผู้นำ และทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญกับยุคโลกาภิวัฒน์
Download
|
7 |
การเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งเพื่อทดแทนอาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar (PDA) สำเร็จรูปสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ
ผู้แต่ง:
สุรศักดิ์ บุญรุ่ง, ฉวีวรรณ มลิวัลย์
Keyword:
น้ำสกัดมันฝรั่ง, อาหารเลี้ยงเชื้อ, การเจริญ, การเก็บรักษา
หน้า: 29 - 35
( Download: 2174 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
อาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar (PDA) เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อราและยีสต์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาหารเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูปมักมีราคาแพง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 150 วัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสี พีเอช และการเจริญของเชื้อรา (Aspergillus niger ATCC6275) และเชื้อยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae TISTR5088) เปรียบเทียบกับอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้าพบว่า เชื้อรา A. niger ที่เลี้ยงในอาหาร PDA ที่เตรียมจากน้ำสกัดมันฝรั่งมีการเจริญใกล้เคียงกันที่ 6.17-6.50 เซนติเมตร การเจริญของเส้นใยมากกว่าอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้า (4.30 เซนติเมตร) หลังการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 4 วัน ส่วนเชื้อยีสต์ S. cerevisiae ที่เลี้ยงในอาหาร PDA ที่เตรียมจากน้ำสกัดมันฝรั่งมีการเจริญใกล้เคียงกันที่ 6.87-6.90 log units และใกล้เคียงกับอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้า (6.90 log units) หลังการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 2 วัน สีน้ำสกัดมันฝรั่ง (L* a* b*) วันที่ 0 มีค่าเท่ากับ 96.78, -0.45 และ 4.28 ตามลำดับ หลังเก็บรักษาสีของน้ำสกัดมันฝรั่งเปลี่ยนเป็น 93.24, -0.22 และ 5.98 ตามลำดับ ส่วนความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ของน้ำสกัดมันฝรั่ง วันที่ 0 มีค่าเท่ากับ 5.52 หลังเก็บรักษา 150 วัน มีค่าเท่ากับ 5.46 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งที่อุณหภูมิ –20 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 150 วัน สามารถนำมาเตรียมอาหาร เลี้ยงเชื้อ PDA เพื่อแทนการใช้อาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้าในการเรียนการสอนของห้องปฏิบัติการได้
Download
|
8 |
การรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal) ต่อการประเมินคุณธรรม และความโปร่งใสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
สวรรค์ชิด สุภาพวงษ์สกุล
Keyword:
การรับรู้, ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน, การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส
หน้า: 36 - 46
( Download: 129 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน 2) หาแนวทางปรับปรุง/ส่งเสริมการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน 3) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลส่วนบุคคลกับระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน 4) เพื่อหาความสัมพันธ์ช่องทางการรับรู้กับระดับการรับรู้ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (Internal) ต่อการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ เก็บข้อมูลจากบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง 473 คนจากประชากร 4,976 คน ผลการวิจัยพบว่า ช่องทางการรับรู้โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 3.40 อยู่ในระดับปานกลาง ช่องทางหนังสือเวียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดเท่ากับ 3.78 สำหรับระดับการรับรู้โดยรวมมีค่าเฉลี่ย 4.06 อยู่ในระดับมาก พบว่าด้านการปฏิบัติหน้าที่มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเท่ากับ 4.29 ด้านการใช้งบประมาณมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.01ด้านการใช้อำนาจมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.02ด้านการใช้ทรัพย์สินของราชการมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเท่ากับ 4.00 ด้านการแก้ไขปัญหาทุจริตมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากเท่ากับ 3.99และกลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรี และปริญญาโทมีค่าเฉลี่ยการรับรู้มากกว่ากลุ่มตัวอย่างที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ช่องทางการรับรู้ทุกช่องทางมีความสัมพันธ์ทางบวกทุกช่องทางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 พบว่า เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ผู้บริหาร และบุคลากร/เพื่อนร่วมงาน มีความสัมพันธ์มากที่สุด โดยมีค่า r เท่ากับ 0.558, 0.546และ 0.487 ตามลำดับ
Download
|
9 |
ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจ ของนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้แต่ง:
ปิยะวัฒน์ สุธา , ภิรมย์ พาบุ
Keyword:
เจตคติ, ความพึงพอใจ, สื่อสังคมออนไลน์
หน้า: 47 - 58
( Download: 1450 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจของนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาและบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทเฟซบุ๊ก มากกว่า 10 ครั้งต่อวันเพื่อติดตามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ทันสมัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์คณะอยู่ในระดับมาก ( =4.37, S.D.=0.58) และพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.86, S.D.=0.70) นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95, S.D.=0.66) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม ระหว่างเพศที่ต่างกันพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจไม่แตกต่างกันแต่ระหว่างกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรพบว่า ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจแตกต่างกัน
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ญดา ประสมพงค์, ธวัช วราไชย, จุรีพร กาหยี, รจนา แก้วพิบูลย์
Keyword:
การยื่นคำร้อง, ระบบออนไลน์, การพัฒนาระบบ
หน้า: 59 - 69
( Download: 1410 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดทำและการดำเนินการคำร้องของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบยื่นคำร้องที่พัฒนาขึ้นโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้อง และจากคำร้องขอลงทะเบียนเรียนกรณีพิเศษ คำร้องขอกักตัวสอบ และคำร้องขอลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตเกินและน้อยกว่ากำหนด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2562 จำนวน 3,667 คำร้อง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการกรอกแบบฟอร์มที่ไม่ถูกต้อง การไม่เข้าใจกระบวนการยื่นคำร้อง และการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการแจ้งผลการพิจารณา ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถแก้ไขคำร้องและลงทะเบียนเรียนไม่ทันภายในเวลาที่กำหนด โดยหลังจากเปิดใช้งานระบบการยื่น คำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า จำนวนคำร้องที่มีปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีลดลงจากร้อยละ 15.03 เหลือร้อยละ 1.38 และไม่พบคำร้องที่มีปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก สามารถลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่เหลือ 6 ขั้นตอน/คำร้อง จากเดิม 9 ขั้นตอน/คำร้อง และลดระยะเวลาการทำงานเหลือเพียงประมาณ 4.25 นาที/ คำร้อง จากเดิมใช้เวลาประมาณ 9.33 นาที/คำร้อง และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสำเนาเอกสารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงได้ประมาณ 1,482.50 บาท/ปี รวมทั้งสามารถลดการใช้กระดาษของนักศึกษาลงได้ประมาณ 6,300 แผ่น/ปี
Download
|
11 |
การวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผู้แต่ง:
กัลยา แซ่ลิ่ม
Keyword:
การวิเคราะห์, ค่าใช้จ่าย, หมวดค่าตอบแทน
หน้า: 70 - 80
( Download: 179 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์หมวดค่าตอบแทนของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบรายรับจัดสรรกับรายจ่าย และรายจ่ายจริงตามรายการหมวดค่าตอบแทนคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระหว่างปีงบประมาณพ.ศ. 2560-2563 ผลการวิเคราะห์พบว่า เงินงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้คณะแต่ละปี มีรายรับจัดสรรรวมทุกหมวดไม่เท่ากัน เมื่อพิจารณางบจัดสรรหมวดค่าตอบแทน พบว่า รวมทั้ง 4 ปีงบประมาณได้รับจัดสรรจากเงินงบประมาณแผ่นดิน เป็นเงินจำนวน 3,527,400 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.21 จากงบจัดสรรทั้งหมดจำนวน 28,899,200 บาท ส่วนงบประมาณเงินรายได้คณะเป็นเงินจำนวน 16,164,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 10.33 ของงบจัดสรรทั้งหมดจำนวน 156,478,000 บาท เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายรวมทุกหมวดทั้งเงินงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณเงินรายได้คณะก็ไม่เท่ากัน ส่วนค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนเงินงบประมาณแผ่นดิน ย้อนหลัง 4 ปีรวมเป็นเงินจำนวน 3,511,619.75 บาทจาก 27,303,581.56 บาท คิดเป็นร้อยละ 12.86 งบประมาณเงินรายได้คณะทั้ง 4 ปีเป็นเงินจำนวน 11,442,349.96 บาท จากค่าใช้จ่ายทั้งหมดจำนวน 132,283,495.67 บาท คิดเป็นร้อยละ 8.65 เมื่อนำหมวดค่าตอบแทนแต่ละปีมาพิจารณาเป็นร้อยละของการใช้จ่ายเงิน พบว่า ปีที่มีการใช้จ่ายเงินสูงสุด คือ ปีงบประมาณ 2560 คิดเป็นร้อยละ 91.61 และต่ำสุดในปีงบประมาณ 2562 คิดเป็นร้อยละ 68.52 และเมื่อศึกษาเป็นรายการแล้ว พบว่า ได้จ่ายเป็นรายการค่าตอบแทนภาระงานสอนเกินสูงสุดทุกปี โดยเฉพาะปีงบประมาณ 2560 เป็นเงินจำนวน 2,226,900 บาท คิดเป็นร้อยละ 54.25 และรายการค่าตอบแทนผู้บริหารสูงเป็นอันดับรองลงมา เมื่อรวมค่าใช้จ่ายหมวดค่าตอบแทนทั้ง 4 ปีงบประมาณจาก 2 แหล่งเงินเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 15,007,050.96 บาท เป็นรายการค่าตอบแทนภาระงานสอนเกินถึงร้อยละ 44.58 คิดเป็นเงินจำนวน 6,690,410 บาท และรายการค่าตอบแทนผู้บริหารร้อยละ 26.82 คิดเป็นเงินจำนวน 4,024,516.13 บาท
Download
|
12 |
การประเมินผลของหลอด LED ต่อการเจริญเติบโตของยาสูบในหลอดทดลอง
ผู้แต่ง:
ชนิดา เจียรจิรพงศ์, อธิวัฒน์ ติละพรพัฒน์
Keyword:
ยาสูบ, LED, ในหลอดทดลอง
หน้า: 81 - 87
( Download: 164 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาผลของการให้แสงจากหลอด LED ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาสูบในหลอดทดลอง โดยใช้หลอด LED 2 ชนิดคือ warm white และ day light การให้แสงจากหลอด LED เกิดจากการใช้หลอดแบบต่าง ๆ ร่วมกัน ดังนี้ ชุดที่ 1 warm white ทั้งหมด ชุดที่ 2 day light ทั้งหมด ชุดที่ 3 warm white: day light อัตราส่วน 1: 3 ชุดที่ 4 warm white: day light อัตราส่วน 1: 1 ชุดที่ 5 warm white: day light อัตราส่วน 3: 1 โดยให้แสงจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นชุดควบคุม ช่วงเวลาให้แสง 16 ชั่วโมง มืด 8 ชั่วโมง อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส พบว่า ต้นยาสูบที่เติบโตในชุดที่ 3 มีความสูงมากกว่าชุดอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ หลังจากเปลี่ยนย้ายอาหารแล้ว 3 ครั้ง ส่วนผลของแสงจากหลอด LED ในชุดที่ 1 และ 5 มีผลส่งเสริมการเจริญเติบโตของต้นหลังจากเลี้ยงภายใต้แสง LED เป็นเวลา 1 เดือน ในขณะที่รากเจริญเติบโตดีขึ้นเมื่ออยู่ภายใต้แสง LED เป็นเวลา 1 เดือน ในชุดที่ 1, 3, 4 และ 5 แต่หลังจากการเปลี่ยนย้ายอาหาร ไม่พบการส่งเสริมการเจริญเติบโตทั้งยอดและราก การให้แสง LED ไม่มีผลกระทบต่อปริมาณสารสีในใบ แต่พบว่าแสง LED ในชุดที่ 3 มีแนวโน้มสามารถเพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์ บี และแคโรทีนอยด์ กล่าวได้ว่าแสงจากหลอด LED ไม่ก่อให้เกิดผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช แต่สามารถช่วยประหยัดพลังงานได้ถึงร้อยละ 50 ดังนั้นการให้แสงจากหลอด LED จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการใช้งานในห้องเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชทดแทนหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้
Download
|
13 |
ชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา สำหรับใช้ในการสอนแบบออนไลน์
ผู้แต่ง:
รัชนีวรรณ หมั่นแสวง, สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล
Keyword:
ชุดทดลองวงจรไฟฟ้า, วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น, วงจรไฟฟ้าพื้นฐาน, ไฟฟ้ากระแสตรง
หน้า: 88 - 94
( Download: 1503 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
สถานการณ์โควิด 19 มีมาตรการในการป้องกันและเพื่อควบคุมสถานการณ์ ให้อยู่ที่พักอาศัยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนไม่สามารถทำการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติได้ ผู้วิจัยสร้างชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพาสำหรับใช้ในการสอนแบบออนไลน์(portable electrical circuit training setfor online teaching) พร้อมกับพัฒนาใบงานการทดลองให้เหมาะสมกับชุดทดลองฯ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา 262215ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า สำหรับการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้วัสดุการศึกษาที่จัดซื้อใช้งานภายในห้องปฏิบัติการวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาประกอบเป็นชุดทดลองฯ เพื่อส่งไปให้ผู้เรียนใช้ทดลองร่วมกับการสอนแบบออนไลน์ในที่พักอาศัย เหมาะกับสถานการณ์ที่ยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ผลการวิจัยนี้เปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนของแรงดัน กระแส และค่าความต้านทาน ที่วัดได้จากการทดลอง บนชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา มีเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อน น้อยกว่าเท่ากับร้อยละ 0.042ดังนั้นชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้
Download
|
14 |
การศึกษาคุณสมบัติทางความร้อนของผงยิปซัม
ผู้แต่ง:
ทรงพล หอมอุทัย, พัชรา ศุกลรัตน์, ,, สุกิจ อติพันธ์, ธงชัย พึ่งรัศมี
Keyword:
ยิปซัม, การวิเคราะห์ทางความร้อน, การนำความร้อน, ความจุความร้อนความหนาแน่น
หน้า: 95 - 102
( Download: 238 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องการศึกษาคุณสมบัติทางความร้อนของผงยิปซัม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์แร่ของผงยิปซัมและศึกษาคุณสมบัติทางความร้อน ได้แก่ ช่วงอุณหภูมิการสลายตัว ค่าความจุ ความร้อน ค่าการนำความร้อน และ ค่าความหนาแน่นในตัวอย่างผงยิปซัม ผงยิปซัมที่ได้มาจาก 4 แหล่ง ได้ทำการตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์แร่ด้วยการศึกษาการเลี้ยวเบนด้วยรังสีเอกซ์ และ การศึกษาคุณสมบัติทางความร้อน ได้แก่ อุณหภูมิการสลายตัว ค่าน้ำหนักที่หายไป ค่าการนำความร้อน ค่าความจุความร้อน และค่าความหนาแน่น ซึ่งเป็นผลมาจากอุณหภูมิ ผลที่ได้ คือ ผงยิปซัมจะแสดง 2 ช่วงอุณหภูมิที่หายไป คือ ช่วงแรกน้ำหนักหายไปร้อยละ 19-20 ในช่วงอุณหภูมิ 150 ถึง 250 องศาเซลเซียส และที่อุณหภูมิ 1,200 องศาเซลเซียส คือ ช่วงอุณหภูมิ การสลายตัว ผงยิปซัมจากแหล่ง K-mining พบว่า มีแคลไซต์และควอตซ์เป็นส่วนประกอบซึ่งจะทำให้ได้ค่าเปอร์เซ็นต์ยิปซัมน้อยที่สุด จากค่าน้ำหนักคำนวณได้ 93.98 การเจือปนในตัวอย่างแร่นี้จะมีผลน้อยมากกับค่าการนำความร้อนและค่าความจุความร้อน การทดสอบค่าความจุความร้อนที่อุณหภูมิห้องและที่อุณหภูมิสูงขึ้นไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ค่าการนำความร้อนจะสอดคล้องกับค่าความหนาแน่นในตัวอย่าง ซึ่งจะเพิ่มขึ้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น ดังนั้นการวิเคราะห์ด้วยวิธี XRD และ วิธี TG-DTA เป็นวิธีการที่สำคัญในการระบุเอกลักษณ์แร่ และการพบเจอปริมาณสิ่งเจือปนในตัวแร่ ผลจากการศึกษาถึงคุณสมบัติทางความร้อนของผงยิปซัมที่อุณหภูมิสูงจะเป็นข้อมูลที่แสดงถึงคุณลักษณะเฉพาะของยิปซัมซึ่งจะเป็นข้อมูลประกอบในการศึกษาคุณสมบัติอื่นเช่น FTIR และ SEM ต่อไป
Download
|
15 |
การศึกษาพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563
ผู้แต่ง:
พรรณวิภา โชคพิกุลทอง, นพพร จันทรนำชู, สมเกียรติ ไทยปรีชา
Keyword:
พฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
หน้า: 103 - 113
( Download: 1371 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนออนไลน์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต กำหนดขนาดตัวอย่าง 360 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสูตรของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่ามีเพียงด้านการจัดการเวลาเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นิสิตคณะต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนด้านทัศนคติในการเรียน และด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผลที่แตกต่างกัน และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคปลายต่างระดับมีพฤติกรรมการเรียนด้านการจัดการเวลาเรียน ด้านการรับรู้และการใช้ความรู้ ด้านปฏิสัมพันธ์ในการเรียน และด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผลที่แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้านการจัดการเวลาเรียน ด้านปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผล ด้านการรับรู้และการใช้ความรู้ และด้านการใช้เทคนิคในการเรียน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคปลาย
Download
|
16 |
การสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวจากของเสียบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม
ผู้แต่ง:
ชลธร กินแก้ว
Keyword:
พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์, อัลคาไลน์พอลิเมอไรเซชัน, อะลูมิเนียมลามิเนต
หน้า: 114 - 122
( Download: 1476 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวจากฟิล์มบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบอะลูมิเนียมลามิเนตที่เป็นของเสียจากการบริโภคของมนุษย์ ดังนั้น การทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันด้วยสารละลายด่างที่สภาวะแตกต่างกันเพื่อสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวที่ดีที่สุดสำหรับการบำบัดน้ำ เริ่มด้วยการชะละลายอะลูมิเนียมในฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก 6 โมลต่อลิตร อัตราส่วนของเหลวต่อของแข็งเป็น 24:1 ด้วยอัตราการกวน 700 รอบต่อนาที เป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจากสารละลายอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่ชะละลายมาได้ โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมอะลูมิเนตเป็นตัวทำปฏิกิริยาที่ B value (อัตราส่วนโมลระหว่างด่างกับอะลูมิเนียม) แตกต่างกัน ด้วยอัตราการกวน 700 รอบต่อนาที และอัตราการเติมสารละลายด่าง 1 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งพบว่าสารละลายด่างที่เหมาะสมในการสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลว คือ โซเดียมอะลูมิเนตที่ B value เท่ากับ 3 และหากทำการระเหยเพิ่มความเข้มข้นของอะลูมิเนียมคลอไรด์เป็น 4 เท่า ก่อนทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน จะทำให้พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่เข้มข้นนี้มีประสิทธิภาพในการตกตะกอนเพิ่มขึ้น สามารถลดความขุ่นของน้ำตัวอย่างให้เหลือ 0.37 NTU คิดเป็นอัตราการกำจัดสารแขวนลอยเป็นร้อยละ 96.21
Download
|
17 |
การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563
ผู้แต่ง:
โกสินธุ์ ศิริรักษ์, กิตติพร ศรีเพ็ชร
Keyword:
ฐานข้อมูล Scopus, การสืบค้น, การวิเคราะห์, การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หน้า: 123 - 130
( Download: 1621 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563 กลุ่มตัวอย่างเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2563 ใช้วิธีการค้นหาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus ประกอบด้วย บทความวิจัย บทความปริทัศน์ บทความสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ และบทในหนังสือ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนการตีพิมพ์ในแต่ละปี ประเภทของบทความ จำนวนการอ้างอิงในแต่ละปี จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละสาขา รายชื่อวารสารที่ได้รับการตีพิมพ์ รายชื่อหน่วยงานที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน รายชื่อประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน และแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,031 บทความ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.22) มีบทความวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 35.52 ในปี พ.ศ.2563 มีจำนวนการอ้างอิง 1,379 ครั้ง โดยสาขาที่ได้รับการตีพิมพ์สูงสุดคือ สาขาแพทยศาสตร์ จำนวน 208 บทความ วารสารที่ได้รับการตีพิมพ์สูงสุดคือ Walailak Journal of Science and Technology จำนวน 63 บทความ (ร้อยละ 6.11) หน่วยงานที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สูงสุด คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 127 บทความ ประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สูงสุด คือ ออสเตรเลีย จำนวน 59 บทความ และแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการวิจัยตีพิมพ์สูงสุด คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 300 บทความ (ร้อยละ 29.10) สรุปผลการศึกษาพบว่า การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการตีพิมพ์ผลงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปกำหนดนโยบาย และส่งเสริมสนับสนุนทิศทาง
การขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อไป
Download
|
18 |
ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
วชิราภรณ์ ทองคุ้ม, มัชฌิมา รัตนลัมภ์
Keyword:
ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, คุณภาพ, การให้บริการ
หน้า: 131 - 140
( Download: 1384 ครั้ง )
|
Download
|
19 |
การวิเคราะห์ความสำคัญของกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผู้แต่ง:
จเร นะราชา
Keyword:
การวิเคราะห์ความสำคัญ, กฎเกณฑ์ , กิจกรรมเสริมหลักสูตร , คนดี , คุณธรรมจริยธรรม
หน้า: 141 - 149
( Download: 1460 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำคัญของกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อนักศึกษา และมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นจากการไม่มีกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษา วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของกิจกรรมเสริมหลักสูตร กฎหมาย รูปแบบและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยสถาบันการศึกษา ระเบียบข้อบังคับและนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลดีต่อนักศึกษา และมหาวิทยาลัยกรณีที่มีกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษา ตลอดจนศึกษาตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ด้วย พบว่า กิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษามีคุณลักษณะของความเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ได้ และเป็นกระบวนการหนึ่งในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนเป็นคนดี และมีคุณธรรมจริยธรรม ตอบสนองการพัฒนากำลังคนของประเทศได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงควรกำหนดกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษาอย่างชัดเจน ได้แก่ กฎเกณฑ์การยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษา และกฎเกณฑ์การเสนอชื่อเพื่อขอเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์คุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่อไป
Download
|
20 |
ผลของการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อการจัดการเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนด้วยการตรวจยีน HLA-B*15:02 ในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจมินัล
ผู้แต่ง:
หนึ่งหทัย อภิพัตฐ์กานต์, วชิรศักดิ์ อภิพัตฐ์กานต์, กันต์พงษ์ ธารฤทธิ์ทวีพร
Keyword:
การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีน , การตรวจคัดกรอง HLA-B*15:02, โรคปวดประสาทไทรเจมินัล
หน้า: 150 - 158
( Download: 1649 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจอมินัล โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2558-2563 เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวทางการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาในผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) ผลพบว่า ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ย 34 รายต่อปี ด้านการตรวจ HLA-B*15:02 เริ่มปี 2562 พบรายใหม่ 20 ราย ได้รับการตรวจ 20 ราย (ร้อยละ100) ปี 2563 รายใหม่ 17 ราย ได้รับการตรวจ 17 ราย (ร้อยละ100) ด้านผลการตรวจ HLA-B*15:02 พบว่าปี 2562 รายใหม่ 20 ราย ผลลบ 19 ราย ใช้ยาได้ 17 ราย (ร้อยละ 89.47) ผลลบ แต่ใช้ยาไม่ได้ 2 ราย (ร้อยละ 10.53) ผลบวก 1 ราย (ร้อยละ5.00) แต่ใช้ยา Oxcarbazepine ได้ ,ปี 2563 รายใหม่ 17 ราย ผลลบ 14 ราย (ร้อยละ 82.35) ใช้ยาได้ 13 ราย (ร้อยละ 92.86), ใช้ยาไม่ได้ พบผื่นแพ้ยา 1 ราย (ร้อยละ 7.14) ผลบวก 3 ราย (ร้อยละ 17.65) ใช้ยาGabapentin ได้ 1 ราย (ร้อยละ33.33) ใช้ยาไม่ได้ 2 ราย (ร้อยละ 66.67) ด้านเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับไม่รุนแรง ได้แก่ วิงเวียนศีรษะ ผื่น เดินเซ ไม่พบแพ้ยา SJS/TEN การศึกษานี้แสดงถึงผลการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ป้องกันและจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจมินัลได้
Download
|
21 |
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นผลงานทางวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
อัญชลี วิเลิศศักดิ์
Keyword:
ระบบสารสนเทศจัดเก็บ, จัดเก็บ, สืบค้น, ผลงานทางวิชาการ, AACSB
หน้า: 159 - 168
( Download: 183 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บและสืบค้นผลงานทางวิชาการ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ SMART ICs ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้กลุ่มต่าง ๆ และเพื่อประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจของการใช้งานระบบ โดยออกแบบตามหลักการวงจรการพัฒนาระบบ SDLC ในรูปแบบWeb Application โดยใช้ภาษา PHP และฐานข้อมูล MySQL กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในการกรอกและใช้ข้อมูลผลงานทางวิชาการจำนวน 31 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ระบบสารสนเทศประกอบด้วย 4 กระบวนการ คือ การจัดการข้อมูลผู้ใช้งานระบบโดยการกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้ระบบแต่ละกลุ่มให้สามารถจัดการข้อมูลและสืบค้นได้แตกต่างกัน การจัดการข้อมูลผลงานทางวิชาการ คือ การเพิ่ม แก้ไข ลบ ตรวจสอบข้อมูลผลงานทางวิชาการแต่ละประเภท การค้นหาและเรียกดูผลงานทางวิชาการตามเงื่อนไขต่าง ๆ และการออกรายงานสารสนเทศ 2) ผลการประเมินการทำงานของระบบสารสนเทศ พบว่า ระดับประสิทธิภาพและความพึงพอใจของการใช้งานของระบบในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.61 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.51 ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่าระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นตรงตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ในการวิจัยนี้และสามารถจำแนกประเภทของผลงานทางวิชาการตามเกณฑ์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถรองรับการนำข้อมูลไปใช้ทั้งระดับปฏิบัติการและระดับยุทธศาสตร์ตามนโยบายของคณะที่จะได้เข้ารับการรับรองมาตรฐานจากThe Association to Advance Collegiate Schools of Business: AACSB และเป็นต้นแบบของการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอื่น ๆ ได้ต่อไป
Download
|
22 |
กลยุทธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
นิภาพร ตันเครือ
Keyword:
กลยุทธ์และสื่อประชาสัมพันธ์, การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยพะเยา
หน้า: 169 - 178
( Download: 1331 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และ 2) กลยุทธ์สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 202 คนและกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ แจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยพบว่า 1) สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนิสิตมากที่สุด คือ การเข้าแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนของมหาวิทยาลัยพะเยา/คณะ คิดเป็นร้อยละ 72.77 รองลงมา คือ สื่อแผ่นพับ/แผ่นปลิวและสื่อสังคมออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (เฟซบุ๊ก,ทวิตเตอร์) คิดเป็นร้อยละ 48.51 ในส่วนของเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจสมัครเข้าศึกษาต่อมากที่สุด ได้แก่ ด้านสถานที่ ในเรื่องภูมิทัศน์สวยงามร่มรื่น และการแนะแนวเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เว็บไซต์ และ เฟซบุ๊ก ของมหาวิทยาลัยและคณะ (4.24±0.77) รองลงมา คือ ด้านคณาจารย์มีความรู้ความสามารถตรงกับหลักสูตรที่สอน (4.13±0.78) 2) กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความต้องการมากที่สุด คือด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้บริหารมีความต้องการในการปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้มีความทันสมัย ทั้งภาษาไทย/อังกฤษรวมทั้งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่าน เฟซบุ๊ก/ทวิตเตอร์/ สื่อโซเซียลอื่นๆ เชิงรุก นอกจากนี้ยังมีความต้องการในการเพิ่มพื้นที่การเข้าแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนอีกด้วย
Download
|
23 |
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
เวธกา กลิ่นวิชิต, ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
Keyword:
ศักยภาพนักวิจัย, บุคลากรทางการแพทย์, วิจัยทางคลินิก
หน้า: 179 - 195
( Download: 1368 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ซึ่งการวิจัยทางคลินิกเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำวิจัยในระดับที่สูงขึ้นจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิจัยคลินิกที่ดี ประชากรที่ศึกษาทั้งสิ้น 315 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 176 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การนำเสนอผลการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสำรวจศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัย ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางและการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการวิจัยทางคลินิก และระยะที่ 3 การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและการประเมินผล ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัย ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.02, S.D.=0.85) มีความต้องการสนับสนุน ดังนี้ 1) ความรู้พื้นฐานวิจัยคลินิก (90.4%) 2) การเผยแพร่ผลงานในวารสาร (87.7%) 3) การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ (82.2%) ระยะที่ 2 แผนกลยุทธ์ด้านวิจัยคลินิก 3 Platforms คือ Platform1 จัดตั้งศูนย์วิจัยทางคลินิก Platform 2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิจัย Platform 3 พัฒนาฐานข้อมูลและเครือข่ายวิจัย ระยะที่ 3 จัดหลักสูตรอบรม 4 หลักสูตร ความสำเร็จของโครงการ 100% มีผลงานตีพิมพ์ 16 เรื่อง สรุปได้ว่าการนำผลวิเคราะห์ศักยภาพและความต้องการของบุคลากรเป็นข้อมูลป้อนเข้าเพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านวิจัยส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของการพัฒนาเพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิกขององค์กร
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |