การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
ณัฐพงษ์ เอียดเต็ม, ชุติ อากาศะชาติ, สิรภพ อบแพทย์
Download: 358 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามองค์ประกอบความปลอดภัยทั้ง 7 ด้าน เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนของการประเมินตนเองตามองค์ประกอบด้านความปลอดภัยปี พ.ศ. 2566 เทียบกับปี พ.ศ. 2565 พบว่า ค่าคะแนนองค์ประกอบหลักด้านความปลอดภัย 5 องค์ประกอบ จาก 7 องค์ประกอบ มีร้อยละผลคะแนนรวมที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.8 เป็น 74.9 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบด้านความปลอดภัย เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างความปลอดภัย (Gap Analysis) พบว่า มีบางองค์ประกอบที่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 75.0 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (ร้อยละ 70.0) องค์ประกอบที่ 3.3 การลดการเกิดของเสีย (ร้อยละ 20.0) องค์ประกอบที่ 4.1 งานสถาปัตยกรรม (ร้อยละ 70.0) องค์ประกอบที่ 4.5 งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 66.7) องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง (ร้อยละ 64.0) องค์ประกอบที่ 5.2 การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (ร้อยละ 68.8) องค์ประกอบที่ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 29.6) และองค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร (ร้อยละ 60.7)
Download
|
การวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus จากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ปีงบประมาณ 2561 - 2565
ผู้แต่ง:
ธนภัทร เลิศมงคลอักษร
Download: 297 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus จากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ปีงบประมาณ 2561 - 2565 การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสืบค้นและเก็บรวบรวมจำนวนบทความตีพิมพ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ โดยมีนักวิจัยหลังปริญญาเอกเป็นผู้ประพันธ์ชื่อแรก (First author) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนบทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ระหว่าง พ.ศ. 2561 - 2565 จำนวนทั้งสิ้น 66 บทความ โดยมีผลงานตีพิมพ์สูงสุดในปีงบประมาณ 2561 (ร้อยละ 133.33) รองลงมาปีงบประมาณ 2562 (ร้อยละ 84.62) และในปีงบประมาณ 2563 - 2565 อาจเป็นผลมาจากการตีพิมพ์บทความวิจัยจะเกิดหลังจากสิ้นสุดการรับทุนแล้วประมาณ 1 - 2 ปี จากผลการวิจัยในข้อ 1.5 จึง คาดว่าในอนาคตปีงบประมาณ 2563 - 2565 จะมีบทความตีพิมพ์เพิ่มขึ้น รวมถึงบทความตีพิมพ์อาจไม่เป็นไปตามที่คาด โดยอาจมีปัจจัยในหลายด้าน ผลการศึกษาในครั้งนี้นำมาสู่การปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิจัย คือ มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมและกระตุ้นให้นักวิจัยสามารถสร้างผลงานวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมกำลังคนที่จะมาช่วยในการพัฒนางานวิจัยและบทความตีพิมพ์ ข้อเสนอแนะประการสุดท้าย คือ การส่งเสริมให้นักวิจัยมีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัยและสร้างผลงานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ มีความภาคภูมิใจต่อมหาวิทยาลัยรวมถึงความก้าวหน้าในอาชีพ และได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ
Download
|
วิเคราะห์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนอาจารย์พิเศษ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565
ผู้แต่ง:
สุธาสินี หินแก้ว
Download: 278 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัจจุบันการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนของอาจารย์พิเศษ 2. วิเคราะห์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนของอาจารย์พิเศษ และ 3. วิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ประจำตามเกณฑ์ภาระงาน คณะทันตแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 การวิจัย พบว่า ชั่วโมงการสอนปีการศึกษา 2565 กลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ มีค่าใช้จ่ายในการเชิญอาจารย์พิเศษมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ และกลุ่มวิชาทันตกรรมป้องกันและทันตสาธารณสุขตามลำดับ โดยกลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์มีชั่วโมงการสอนมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก และสาขาวิชาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก จำแนกได้ว่ากลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ เชิญอาจารย์พิเศษมากที่สุด จำนวน 611 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 611,000 บาท กลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก เชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 527 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 527,000 บาท และกลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ เชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 400 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 400,000 บาท หากอาจารย์ประจำสอนตามเกณฑ์ภาระงานสอน จำนวน 1,050 ชั่วโมงตลอดปีการศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 2,904,000 บาท โดยมี 3 สาขาวิชา ที่มีภาระงานสอนมากกว่าเกณฑ์ภาระสอนที่กำหนดและสามารถเชิญอาจารย์พิเศษมาทำการสอนให้กับนิสิตได้ ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิขาทันตกรรมประดิษฐ์ กลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก และสาขาวิชา
ทันตกรรมหัตถการ โดยมีงบประมาณการค่าตอบแทนอาจารย์พิเศษ จำนวน 1,170,000 บาท
Download
|
การจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
เชิดเกียรติ หยิบยานนท์
Download: 405 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี ของเจ้าหน้าที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ส่วนงานวิชาการ 11 คณะ 4 วิทยาลัย 1 วิทยาเขต และเจ้าหน้าที่สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มีหน้าที่จัดตารางเรียนตารางสอนในระดับปริญญาตรี จำนวนทั้งหมด 24 คน เป็นการศึกษาจากประชากรผู้จัดทำตารางเรียนตารางสอนทั้งหมดภายในสถาบัน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดตารางเรียนตารางสอนในภาคการศึกษาถัดไปมาแจกแจงความถี่ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ผลศึกษาการจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี ระดับความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจด้านนโยบายของสถาบัน และระเบียบข้อบังคับระดับปริญญาตรี รวมถึงด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายละเอียดวิชา มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( =3.68, S.D.=1.02) ระดับความเห็นของเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อเวลาในการจัดตารางเรียนตารางสอนตามปฏิทินการศึกษาและในระบบสำนักทะเบียนและประมวลผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=0.83) โดยมีข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงการจัดตารางเรียนตารางสอน เรื่องฟังก์ชันระบบยังไม่ครอบคลุมการใช้งานมากที่สุด รองลงมา คือ การดึงข้อมูลในระบบไปใช้งานผิดเพี้ยน และต้องการสิทธิการเพิ่มเงื่อนไขหลังจากปิดระบบ ปิดระบบเร็วไปขอให้ยืดหยุ่นในการปิดระบบ ต้องการเมนูภาษาอังกฤษสำหรับต่างชาติ
Download
|
การพัฒนาระบบลงทะเบียนและส่งผลงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ CDD2023 & WKC2023 สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ภานุชญา มณีวรรณ
Download: 251 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบลงทะเบียนและส่งผลงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ CDD2023 & WKC2023 สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบการพัฒนาระบบ นำหลักวงจรการพัฒนาระบบ Software Development Life Cycle (SDLC) มาใช้ในการวิจัย โดยออกแบบระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ สร้างและพัฒนาระบบด้วยภาษา PHP ภาษา HTML ภาษา JavaScript และใช้การจัดการฐานข้อมูล MySQL ระบบที่พัฒนาขึ้นถูกประเมินโดยผู้ใช้ระบบทุกกลุ่มจำนวน 73 คน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยบรรณาธิการ บรรณาธิการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดประชุม ผลการประเมินการใช้งานระบบแต่ละด้านได้ค่าเฉลี่ยมากกว่า 4.00 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมากถึงมากที่สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าระหว่าง 0.50 - 0.56 สรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถช่วยการดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ช่วยแก้ไขปัญหา ได้แก่ ปัญหาความซ้ำซ้อนของ การทำงาน ลดขั้นตอนของการทำงาน ลดปัญหาการรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลจากระบบเพื่อใช้ในจัดงานประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Download
|
การรับฟังเสียงลูกค้าด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
นันท์ชญาณ์ แดนสีแก้วธัญ, กมลพร จันทาคึมบง
Download: 246 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตจำนวน 327 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนมากเป็นเพศหญิง ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 2) มีความคาดหวังหรือความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังหรือความต้องการในด้านผู้เรียนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผู้สอน ด้านหลักสูตร และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา เป็นลำดับสุดท้าย 3) มีความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในด้านผู้สอนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านหลักสูตร ด้านผู้เรียน และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา เป็นลำดับสุดท้าย 4) ความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Download
|
การศึกษาเจตคติต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
สัตยาบัน กาวิชัย
Download: 185 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แยกตาม เพศ ชั้นปี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แยกตามเพศ ชั้นปี และสถานะ การกู้ยืมเพื่อการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การปรับปรุงกิจกรรมจิตอาสาของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สัญชาติไทย ที่กำลังศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 360 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษา ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยแยกตาม เพศ และชั้นปีการศึกษา อยู่ระดับมาก 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีเจตคติด้านการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อแยกตามชั้นปีการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนชั้นปีที่ 1 กับชั้นปีที่ 2 และ 3 มีเจตคติภาพรวมด้านความรู้สึก อารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบนักศึกษาที่มีสถานภาพการกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่างกัน พบว่า นักศึกษามีเจตคติต่อกิจกรรมจิตอาสาด้านการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีข้อคิดเห็นเสนอแนะว่าควรจัดกิจกรรมที่ไม่กระทบกับการเรียน รูปแบบกิจกรรมหลากหลาย และควรปรับปรุงรูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้น่าสนใจมากขึ้น
Download
|
สำรวจความรู้ ความเข้าใจระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
มธุรดา สิงสุธรรม , นิรมล จำนงศรี, ธัญญธร พัวพิทยาธร , อนันต์ แพงจันทร์, ลลิตตา หินเทา, ศศิธร เทียมมาลา
Download: 370 ครั้ง
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สำรวจความรู้และความเข้าใจในระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ปฏิบัติงานจริงในปีงบประมาณ 2566 จำนวนทั้งสิ้น 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความรู้และความเข้าใจในระเบียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายในการเดินทางไปราชการ และตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับปัญหาการจัดทำเอกสารของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการอยู่ที่ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.86 รองลงมามีระดับความรู้ความเข้าใจอยู่ที่ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 39.29 มีระดับความรู้ความเข้าใจอยู่ที่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 17.86 ตามลำดับ และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( =4.33, S.D.=0.08) ส่วนข้อเสนอแนะพบว่าควรมีการสร้างคู่มือการเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการเพื่อเป็นคู่มือให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อความถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ
Download
|
ดูรายการทั้งหมด |