1 |
ปกหน้า-สารบัญ |
2 |
ปกหน้า ด้านใน กองบรรณาธิการ |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
ถอดบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการ: เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ สู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
ผู้แต่ง:
ภาณุพันธุ์ อักษรเสือ, อุทุมพร หลอดโค, จิตติมา มโนนัย บาร์ทเล็ทท์
Keyword:
การปรับปรุงคุณภาพ, การรับรู้, ประสบการณ์, การอบรมเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยเชิงคุณภาพ
หน้า: 1 - 12
( Download: 322 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองการรับรู้และประสบการณ์ของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” และเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการ วิธีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการคัดเลือกบุคลากรจำนวน 9 ราย ที่สังกัดและปฏิบัติงานภายในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ มีการจัดกลุ่มเป็นแก่นเรื่องและหัวข้อย่อย ผลการวิเคราะห์พบว่า ก่อนการเข้าร่วมการอบรมผู้เข้ารับการอบรมรับรู้และเห็นว่าระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและต่องานที่ทำ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการวิจัยไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความเป็นเอกลักษณ์ของวิธีการในแง่ของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และหลังจากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ให้ข้อมูลทุกคนได้เล็งเห็นถึงข้อดีของการวิจัยประเภทนี้ในการปรับปรุงคุณภาพ ประการแรกมีการระบุข้อมูลเชิงลึกได้อย่างแม่นยำเกี่ยวกับปัญหาที่พบ ประการที่สองมีความคิดริเริ่มในการปรับปรุงคุณภาพที่สร้างขึ้นโดยมาจากข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งตัวบุคคลและในที่ทำงาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย สรุปได้ว่า วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีบทบาทสำคัญและสามารถใช้ประโยชน์ได้จากการรับรู้ข้อมูลเชิงลึก ในการค้นหาปัญหาและช่วยกำหนดแผนการปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการ โดยกระบวนการวิธีการฝึกอบรมควรคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมที่มีความเต็มใจ พร้อมที่จะทุ่มเทเสียสละเวลา เน้นให้มีการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
Download
|
5 |
การพัฒนาระบบภาระงานบุคลากรสายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
นพดล วรรณสอน
Keyword:
ระบบภาระงาน, บุคลากรสายวิชาการ, การประเมินผลการปฏิบัติงาน
หน้า: 13 - 23
( Download: 149 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบภาระงานบุคลากรสายวิชาการ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาเป็นระบบจัดการฐานข้อมูลและสารสนเทศแบบเว็บแอปพลิเคชัน Web Application ผู้วิจัยพัฒนาระบบสารสนเทศบนพื้นฐานทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบ System Development Life Cycle ในการพัฒนาระบบผู้วิจัยเลือกใช้เทคโนโลยี ASP.NET ร่วมกับโปรแกรม Visual Studio 2013 และระบบฐานข้อมูล Microsoft SQL Server 2014 ผ่านการทดสอบระบบโดยวิธี Black-box testing ระบบสามารถแบ่งการทำงานออกเป็น 5 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนการทำงานทั่วไปหน้าแรกของระบบ และหน้าลงชื่อเข้าใช้งาน 2) ส่วนการทำงานสำหรับผู้ดูแลระบบ การจัดการข้อมูลผู้ใช้งาน และจัดการสิทธิ์การใช้งาน 3) ส่วนการทำงานสำหรับอาจารย์ เมนูบันทึกภาระงานในด้านต่าง ๆ 4) ส่วนการตรวจสอบภาระงานอาจารย์ตามสาขาวิชา และ 5) ส่วนรายงานข้อมูล หลังจากทดลองใช้ระบบกับผู้ใช้งานบุคลากรสายวิชาการ ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจทุกด้านในระดับมาก ( = 4.14, SD = 0.75) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับความพึงพอใจตามค่าเฉลี่ยสูงสุด พบว่า ด้านการรักษาความปลอดภัย อยู่ในระดับมาก ( = 4.19, SD = 0.71) รองลงมา ได้แก่ ด้านตรงตามความต้องการของผู้ใช้ระบบ อยู่ในระดับมาก ( = 4.15, SD = 0.80) ด้านความง่ายต่อการใช้งานระบบ อยู่ในระดับมาก ( = 4.13, SD = 0.77) และด้านการทำงานตามฟังก์ชันของระบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.10, SD = 0.73)
Download
|
6 |
การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการโภชนาการ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
รัตนา ใจบุญ
Keyword:
การชี้บ่งอันตราย, วิเคราะห์ความเสี่ยง, ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
หน้า: 24 - 31
( Download: 141 ครั้ง )
|
Download
|
7 |
การพัฒนาระบบการจัดสอบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
กฤตยภร คุ่มเคี่ยม, รัตนา ขาวกริบ
Keyword:
การพัฒนาระบบจัดสอบ, คณะวิทยาศาสตร์, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หน้า: 32 - 43
( Download: 119 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัญหา อุปสรรค และความต้องการระบบการจัดสอบจากผู้ใช้บริการและผู้รับผิดชอบ เพื่อพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของระบบการจัดสอบ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้แนวคิดลีน วิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานด้วยแผนผังขั้นตอนการทำงานพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้ฐานข้อมูล Microsoft SQL Server พัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) โดยใช้ภาษา ASP.Net (C#) ร่วมกับการแสดงผลรายงานโดยใช้โปรแกรม Crystal Report มาใช้ในการพัฒนาระบบการจัดสอบ ได้แก่ การจัดห้องสอบ ที่นั่งสอบ กรรมการคุมสอบ และทำการประเมินประสิทธิภาพระบบ การจัดสอบในรูปแบบเดิมเปรียบเทียบกับรูปแบบใหม่ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา อุปสรรค และความต้องการระบบการจัดสอบจากผู้ใช้บริการและผู้ปฏิบัติงาน คือ 1) กระบวนการทำงานที่หลากหลายและซ้ำซ้อน 2) นักศึกษาหาห้องสอบไม่เจอ 3) กรรมการคุมสอบขาดช่องทางการตรวจสอบ ค้นหาข้อมูล ส่งผลให้นักศึกษาเข้าห้องสอบสาย กรรมการคุมสอบลืมวันคุมสอบ/มาคุมสาย เมื่อประยุกต์ใช้กระบวนการลีนมาปรับปรุงกระบวนการและพัฒนาระบบการจัดสอบใหม่ พบว่า กระบวนการที่ออกแบบและพัฒนาระบบใหม่สามารถลดความสูญเปล่าจากระยะเวลาดำเนินการจัดสอบทั้งกระบวนการเดิม 8 สัปดาห์ เหลือ 1 สัปดาห์ 1 วัน กระบวนการเดิม 4 ขั้นตอน เหลือ 1 ขั้นตอน และ งบประมาณค่าใช้กระดาษในกระบวนการจัดสอบเดิม 3,349.22 บาท เหลือค่าใช้จ่ายเพียง 1,123.87 บาท และ Full-Time Equivalent (FTE) การทำงานแบบเดิมใช้เวลา 280 ชั่วโมง ลดระยะเวลาการทำงานเหลือเพียง 56 ชั่วโมง หากมอบหมายภาระงานให้ผู้ปฏิบัติงานดำเนินการเรื่องนี้โดยเฉพาะจะสามารถลดจำนวนคนทำงานลงได้จาก 8 คน เหลือเพียง 2 คน จากการประเมินประสิทธิภาพของระบบ พบว่า นักศึกษาค้นหาข้อมูลและห้องสอบได้ง่าย ลดปัญหาการหาห้องสอบไม่เจอ และกรรมการคุมสอบมีช่องทางตรวจสอบข้อมูลได้ทุกที่ทุกเวลา ลดปัญหาการไม่มีข้อมูลหรือลืมวันคุมสอบ จากการเข้าถึงระบบได้ง่ายโดยผ่านคอมพิวเตอร์ หรือสมาร์ตโฟนเพื่อตรวจสอบข้อมูลเวลาไม่เกิน 20 วินาที และตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้งาน
Download
|
8 |
ประสิทธิผลของการให้ความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องมือและความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
ผู้แต่ง:
อมรรัตน์ หวลกะสิน, เพ็ญนภา ทองประไพ
Keyword:
เครื่องมือวิทยาศาสตร์, ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, แบบประมวลก่อน-หลังการให้ความรู้, แบบสำรวจความพึงพอใจ
หน้า: 44 - 54
( Download: 123 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยในชั้นเรียนนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลของการให้ความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษาก่อนการทำปฏิบัติการด้วยตัวเอง นำไปสู่การลดความผิดพลาดและอุบัติเหตุอันเกิดจากการทำปฏิบัติการต่อผู้ทดลองและสิ่งแวดล้อม กลุ่มวิจัยตัวอย่างมุ่งเน้นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ชั้นปีที่สี่ และระดับบัณฑิตศึกษาที่ต้องใช้งานห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม จำนวนประชากรตัวอย่างปี 2562 และ 2563 เท่ากับ 36 และ 30 คน ตามลำดับ ใช้รูปแบบดำเนินการ 5 ส่วน ได้แก่ 1) การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และพารามิเตอร์ต่าง ๆ ด้วยการบรรยายและสื่อวิดีโอ 2) การให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับระบบสารเคมี อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัย การโต้ตอบภาวะฉุกเฉินและหลักการปฐมพยาบาล 3) การสาธิตการใช้งานเครื่องมือจริงประจำห้องปฏิบัติการ 4) แบบประมวลผลความรู้ก่อนและหลังการอบรม 5) แบบสำรวจความพึงพอใจในการจัดการให้ความรู้ โดยเก็บข้อมูลจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ โครงการอบรมประจำปีการศึกษา 2562 และ 2563 วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้โดยใช้สถิติพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยโครงการอบรมปี 2562 และปี 2563 พบว่านักศึกษาผ่านเกณฑ์การอบรมที่กำหนดร้อยละ 80 ทุกคนและนักศึกษากลุ่มตัวอย่างวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องการใช้งานเครื่องมือวิทยาศาสตร์และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสูงกว่าค่าเฉลี่ยความรู้ก่อนการจัดโครงการอบรม โดยมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) นอกจากนี้ผลวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อภาพรวมของโครงการในปี 2563 อยู่ในระดับดีเยี่ยมซึ่งควรจัดโครงการให้ความรู้ในปีการศึกษาต่อ ๆ ไป ในเรื่องการใช้เครื่องมือ ระบบสารเคมี และความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจและป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการ
Download
|
9 |
เครื่องจ่ายไฟศักย์สูงแบบพัลส์อย่างง่ายที่ใช้คอยล์จุดระเบิด
ผู้แต่ง:
นัฐชยพงศ์ ธีรัชตระกูล
Keyword:
แหล่งจ่ายไฟศักย์สูงแบบพัลส์, ไดอิเล็กตริกแบริเออร์ดิสชาร์จ, ชอบน้ำ
หน้า: 55 - 66
( Download: 91 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
เครื่องจ่ายไฟศักย์สูงแบบพัลส์มีการใช้งานอย่างกว้างขวางทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม และด้านการแพทย์ สำหรับรายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างเครื่องจ่ายไฟศักย์สูงแบบพัลส์โดยใช้คอยล์จุดระเบิด เครื่องจ่ายไฟนี้เป็นแบบตั้งโต๊ะและควบคุมการทำงานด้วยบอร์ด Arduino รุ่น UNO R3เครื่องมือนี้มีข้อดี คือ ใช้งานง่าย มีต้นทุนต่ำ ควบคุมแรงดันไฟฟ้าและความถี่ได้สะดวก สามารถสร้างแรงดันไฟฟ้าพัลส์สูงถึง 49.2 kV ในขณะที่ไม่มีโหลดที่ช่วงความถี่ 100 Hz ถึง 3 kHz และได้ทดลองใช้เครื่องมือที่สร้างขึ้นนี้ไปใช้ในการกำเนิดพลาสมาด้วยวิธีไดอิเล็กตริก แบริเออร์ ดิสชาร์จ ที่ความดันบรรยากาศ นำพลาสมาที่ได้ไปปรับปรุงผิวของแผ่นกระจกสไลด์ พบว่าสามารถทำให้พื้นผิวของแผ่นกระจกสไลด์มีคุณสมบัติในการชอบน้ำ
Download
|
10 |
การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ฐานข้อมูล Access Pharmacy และการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง:
นวพร สุริยะ , บุษดี ยอดพรหม
Keyword:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, สาขาเภสัชศาสตร์, การจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์, ฐานข้อมูล Accesss Pharmacy
หน้า: 67 - 77
( Download: 84 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางด้านเภสัชศาสตร์จากฐานข้อมูล Access Pharmacy ในด้านรายชื่อหนังสือ ความถี่ และเนื้อหาวิชา ปี พ.ศ. 2563 2) ศึกษาการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ของห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านนโยบาย งบประมาณ การคัดเลือก วิธีการจัดหา และปัญหาในการในจัดหา ปี พ.ศ. 2563 กำหนดขนาดตัวอย่าง ด้านการศึกษาการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จำนวนหนังสือ 119 ชื่อเรื่อง และการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 14 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบบันทึกการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบสอบถามการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) การใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ทางด้านเภสัชศาสตร์ที่มีการใช้มากคือ หนังสือชื่อ Pharmacotherapy: A Pathophysiologic Approach เป็นหนังสือที่มีเนื้อหาวิชาทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับการรักษาโรค และความถี่ในการใช้มีการเข้าใช้มากในเดือนมกราคม 2) การจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ห้องสมุดจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่า ห้องสมุดส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดนโยบายเป็นลายลักษณ์อักษรในการพิจารณาคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และใช้เงินรายได้ของมหาวิทยาลัยในการจัดซื้อ โดยใช้เกณฑ์เนื้อหาสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน วิธีการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ได้รับการเสนอแนะจากอาจารย์เป็นผู้คัดเลือก การจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ส่วนใหญ่ซื้อแบบแยกรายชื่อและซื้อผ่านตัวแทนในประเทศ การจัดซื้อโดยห้องสมุดจัดซื้อเอง และมีการจัดซื้อแบบภาคี สำหรับปัญหาการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ พบว่า ปัญหาการจัดซื้อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์นโยบายไม่ได้เป็นลายลักษณ์อักษร งบประมาณในการจัดหาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่เพียงพอ และปัญหาการคัดเลือกหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้เสนอแนะอยู่ในระดับปานกลาง
Download
|
11 |
การวิเคราะห์จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) ที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
Keyword:
นักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า, อาจารย์ประจำ, ประกันคุณภาพ
หน้า: 78 - 87
( Download: 528 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ผลการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 2) วิเคราะห์ความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ผู้วิจัยนำแบบบันทึกสรุปผลการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างและแบบประเมินสรุปคะแนนการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 จำนวน 5 เล่ม และผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน พบว่า 1) สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES มีจำนวนสัดส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 25.82 32.14 34.27 46.22 และ 51.75 2) ค่าความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 มีจำนวนค่าความแตกต่างที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 5.82 (25.82 : 1) 12.14 (32.14 : 1) 14.27 (34.27 : 1) 26.22 (46.22 : 1) และ 31.75 (51.75 : 1) และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ มีการแปลผลค่าคะแนนที่ไม่เป็นไปตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2557 อยู่ที่ 29.08 (0.00 คะแนน) 60.69 (0.00 คะแนน) 71.37 (0.00 คะแนน) 131.08 (0.00 คะแนน) และ 158.76 (0.00 คะแนน) จากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในครั้งนี้จะนำไปกำหนดทิศทางการวางแผนวิเคราะห์ผลการดำเนินงานลงไปในรายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนของคณะเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเกณฑ์มาตรฐาน FTES ต่อไป
Download
|
12 |
ความพึงพอใจของผู้ใช้งานการรับและนำส่งเงินในระบบบัญชีและการเงิน เพื่อการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
สิริมา เพ็ชรรัตน์
Keyword:
ความพึงพอใจ , การใช้ระบบสารสนเทศ, รับและนำส่ง
หน้า: 88 - 96
( Download: 127 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบสารสนเทศด้านรับและนำส่งเงิน โดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้งานระบบบัญชีและการเงินเพื่อการบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นเครื่องมือในการศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่างใช้ประชากรเป็นหน่วยวิจัย ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่มีหน้าที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับรับและนำส่งเงิน รวมทั้งสิ้น 55 คน แบ่งเป็น 3 ประเภทบุคลากร 1) พนักงานมหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานภาพ 2) พนักงานมหาวิทยาลัย 3) พนักงานเงินรายได้ โดยแบบสอบถามจำแนกเป็น 2 ด้านคือ 1) ด้านการใช้งานระบบ 2) ด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบ ผลการวิจัยพบว่า 1) พนักงานมหาวิทยาลัยเปลี่ยนสถานภาพ มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบในระดับมาก (μ=4.20, σ =0.56) และด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบมีความพึงพอใจในระดับมาก (μ=4.20, σ=0.64) 2) พนักงานมหาวิทยาลัย มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก (μ=3.88, σ=0.69) และด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (μ =3.94, σ=0.71) 3) พนักงานเงินรายได้ มีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก (μ=3.55, σ=0.74) และด้านประสิทธิภาพการทำงานระบบมีความพึงพอใจในระดับมาก (μ=3.86, σ=0.79) โดยมีข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ การพัฒนาโปรแกรมต้องดำเนินการให้สามารถใช้งานด้านการรับและนำส่งเงินได้ทุกประเภทเอกสารการรับเงิน และสามารถใช้งานโปรแกรมให้ทำงานได้โดยไม่ติดขัด มีการปรับปรุงและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรับและนำส่งเงินโดยสามารถออกใบเสร็จรับเงินจากระบบ PSU MAS พร้อมการนำส่งเงิน
Download
|
13 |
การวิเคราะห์การบริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ ด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
สุดใจ ผุดผาด
Keyword:
เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์, บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์, บริการตรวจวิเคราะห์
หน้า: 97 - 106
( Download: 113 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาจำนวนผู้ใช้บริการ จำนวนตัวอย่าง จากการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบรายรับ รายจ่ายจากการให้บริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์ โดยใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลรายงานปฏิบัติงานบริการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการด้วยเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2552 - 2564 นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาจำแนกประเภท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา พบว่า ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์จำนวนทั้งสิ้น 720 ราย หน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์มีผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์มากที่สุด 258 ราย จำนวนตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์รวมทั้งสิ้น 3,584 ตัวอย่าง หน่วยงานภายในคณะวิทยาศาสตร์มีจำนวนตัวอย่างในการตรวจวิเคราะห์มากที่สุด 1,650 ตัวอย่าง รายรับจากค่าบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งสิ้น 4,876,665 บาท รายรับจากค่าบริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างของหน่วยงานเอกชนมากที่สุด จำนวน 2,234,300 บาท รายจ่ายจากการให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างทั้งสิ้น 2,102,014 บาท ค่าบำรุงรักษามีรายจ่ายมากที่สุด จำนวน 1,310,498 บาท ซึ่งเปรียบเทียบได้ว่าจำนวนรายรับสูงกว่าจำนวนรายจ่าย 132% คิดเป็น จำนวน 2,774,651 บาทแสดงถึงความคุ้มค่าในการให้บริการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง จึงควรมีการจัดซื้อเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์เครื่องใหม่ มาเพิ่มประสิทธิภาพของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการ
Download
|
14 |
นโยบายสู่การปฏิบัติ: ผลสำเร็จของนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
อนงค์ ตังสุหน , พิชามญชุ์ กาหลง
Keyword:
นโยบาย, การจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้า: 107 - 117
( Download: 103 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (GPP) เป็นนโยบายหนึ่งที่ประเทศไทยได้นำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเป้าหมายของนโยบายนี้ คือ การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การปฏิบัตินโยบายนี้ที่ผ่านมาพบว่า ประเทศไทยยังติดขัดในเรื่องของข้อกฎหมายที่ไม่ได้บังคับใช้อย่างจริงจัง โดยข้อกฎหมายให้อาศัยความตระหนักถึงความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมของหน่วยงานของรัฐ ดังนั้นการจะทำให้นโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมประสบความสำเร็จ จึงขึ้นอยู่กับการกำหนดนโยบายและการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดเป็นรูปธรรมของหน่วยงานรัฐนั้น ๆ บทความวิชาการนี้จึงได้นำเสนอนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย เช่น แนวทางการปฏิบัติตามกฎกระทรวงการคลัง และมาตรการในการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยผู้เขียนได้นำกรณีตัวอย่างของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ประสบความสำเร็จในเรื่องนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นแนวทางให้หน่วยงานรัฐแห่งอื่นได้นำไปใช้
Download
|
15 |
การพัฒนาระบบรับสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา
ผู้แต่ง:
วงศ์สวรรค์ ศรีมนตรีสง่า
Keyword:
ระบบรับสมัคร, การพัฒนาระบบ, TCAS
หน้า: 118 - 128
( Download: 133 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันการสมัครเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา จะต้องผ่านระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย TCAS (Thai University Center Admission System) ด้วยการรับสมัครที่มีหลายรอบซึ่ง แต่ละรอบมีการรับสมัครของแต่ละคณะที่ต้องการข้อมูลและคุณสมบัติของผู้สมัครแตกต่างกัน ทำให้การออกแบบระบบรับสมัครต้องสามารถรองรับการใช้งานทั้งในแง่ของผู้สมัครหรือเจ้าหน้าที่ที่ต้องตั้งค่าการรับสมัครในแต่ละหลักสูตรที่มีความหลากหลายได้ การพัฒนาระบบรับสมัครขึ้นใหม่นี้จะมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับผู้สมัครเป็นหลัก เพื่อเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ใช้และลดข้อจำกัดของระบบเดิม เช่น ผู้สมัครสามารถค้นหาเพื่อกรองเฉพาะหลักสูตรที่สนใจได้, ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อน โดยให้กรอกเฉพาะข้อมูลและอัปโหลดเอกสารที่การสมัครในหลักสูตรนั้น ๆ ต้องการ, การแสดงผลสถานะต่าง ๆ ของการสมัคร, ช่องทางการชำระเงินที่สามารถทำผ่านทางออนไลน์ได้ (QR code) เพื่อลดความสี่ยงในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ ของช่วงสถานการณ์โควิด และระบบยังสามารถออกรายงานที่จำเป็นต่อกระบวนการรับสมัครเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์หรือเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการแก่ ผู้ที่สนใจการสมัครเข้าศึกษา รวมถึงการนำข้อมูลมาวิเคราะห์ในเชิงสถิติได้ ทีมผู้พัฒนาได้ร่วมกันออกแบบขั้นตอนการรับสมัครออนไลน์ขึ้นมาใหม่ โดยใช้แผนภาพ BPMN (Business Process Model and Notation) ในการนำเสนอ จากนั้นทำการพัฒนาระบบโดยใช้วิธีการแบบอไจล์ (Agile) ตัวระบบที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยส่วน Front-End ถูกพัฒนาด้วยภาษา JavaScript และ Vue.js 2 Framework ส่วน Back-End ถูกพัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP 7 และส่วนฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ใช้ระบบฐานข้อมูล MySQL6 ร่วมกับ MariaDB 10.5 ผลความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.33 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.83 ถือว่าอยู่ในระดับดี
Download
|
16 |
ทัศนคติและความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนออนไลน์ใน ภาคปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
เพ็ญนภา ทองประไพ, อมรรัตน์ หวลกะสิน
Keyword:
ทัศนคติ, ความพึงพอใจ, การเรียนออนไลน์, ปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
หน้า: 129 - 139
( Download: 113 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของการเรียนแบบออนไลน์ในรายวิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมที่ลงทะเบียนเรียนวิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2564 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติโดยรวมที่เห็นด้วยกับการเรียนแบบออนไลน์ในรายวิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (µ=3.59, σ=0.85) ซึ่งเห็นด้วยในด้านโปรแกรมออนไลน์ (µ=4.10, σ=0.75) ด้านความสอดคล้องกับสถานการณ์ (µ=4.07,σ=0.92) ด้านสื่อการสอนออนไลน์ (µ=3.89, σ=0.75) และด้านการเข้าถึงสื่อออนไลน์ (µ=3.74, σ=0.83) ตามลำดับ 2) นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการเรียนแบบออนไลน์ทุกด้านอยู่ในระดับดีในรายวิชาปฏิบัติการเคมีสำหรับวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม (µ=4.13, σ=0.68)
Download
|
17 |
ผลกระทบของโรคโควิด 19 ต่อการบริหารจัดการสัญญาจ้างการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ชนินาถ สุริยะลังกา
Keyword:
โควิด 19, สัญญา, การวิจัยทางคลินิก
หน้า: 140 - 147
( Download: 137 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
โควิด 19 เป็นโรคระบาดที่ส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ทั่วโลก ซึ่งจากการเกิดโรคระบาดได้มีมาตรการป้องกันอันตรายและความเสี่ยงในการระบาด ส่งผลให้มนุษย์ต้องมีการปรับตัวและใช้ชีวิตวิถีใหม่ โดยการดำเนินงานการบริหารจัดการสัญญาจ้างการวิจัยทางคลินิก มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับผลกระทบและต้องมีการปรับตัวเช่นเดียวกัน โดยในบทความนี้ได้สรุปการปรับตัวในการบริหารจัดสัญญาจ้างฯ ในช่วงการเกิดโรคระบาด ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล ส่วนงานและโครงการวิจัยภายใต้กำกับมหาวิทยาลัยหิดล และแหล่งทุน ดังขั้นตอนการดำเนินงานการบริหารจัดการสัญญาจ้างฯ จำนวน 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การตรวจสัญญา 2) การจัดทำสัญญา 3) การจัดการดำเนินงานตามสัญญา โดยการออกมาตรการ 2 แนวทาง ดังนี้ 3.1) แนวทางตามระเบียบของพื้นที่ที่ดำเนินงานโครงการวิจัย และ 3.2) แนวทางตามหลักสากล และ 4) การแก้ไขเพิ่มเติมสัญญา ซึ่งการดำเนินงานปรับตัวข้างต้นต้องมีการใช้เทคโนโลยี การปรึกษาหารือตกลงในการดำเนินงานร่วมกัน และมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในความราบรื่นในการดำเนินงาน ความปลอดภัยสูงสุดแก่ผู้เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นกรณีศึกษาในแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานการบริหารจัดการสัญญาจ้างการวิจัยทางคลินิกให้บริหารงานได้อย่างต่อเนื่องในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ภัยพิบัติ หรือภัยคุกคาม เป็นต้น
Download
|
18 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
พลอยไพลิน เพชรแอน, ชื่นสุมน สุขจิตร
Keyword:
ปัจจัย, การตัดสินใจ, การศึกษา
หน้า: 148 - 155
( Download: 130 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจในการเข้าศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2) เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานและปรับรายวิชาของหลักสูตร โดยเก็บข้อมูลจากนักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในหลักสูตรทั้งหมด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2557 จนถึงปีการศึกษา 2561 จำนวน 54 คน และมหาบัณฑิตที่จบการศึกษาจากหลักสูตรทั้งหมด จำนวน 30 คน รวมประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ทั้งสิ้น จำนวน 84 คน และได้กลุ่มตัวอย่างจากการตอบกลับแบบสอบถามมาทั้งสิ้น 69 คน คิดเป็นร้อยละ 82 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อ คือ ปัจจัยด้านหลักสูตรและสถาบัน ( =4.08, S.D.=0.85) ซึ่งปัจจัยอันดับหนึ่งในด้านนี้คือรายวิชาที่เปิดสอนในหลักสูตร มีความทันสมัยกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ( =4.28, S.D.=0.68) 2) หลักสูตรมีความน่าสนใจ เนื้อหารายวิชามีความทันสมัยกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน และอยากให้เพิ่มการเปิดรายวิชาในรูปแบบ E-learning มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาที่ต้องการศึกษาในรายวิชาที่ตนเองสนใจ ผลวิจัยสรุปได้ว่า การตัดสินเข้าศึกษาในหลักสูตรผู้สนใจจะพิจารณาในด้านของหลักสูตรและสถาบันเป็นสำคัญโดยจะพิจารณาถึงรายวิชาที่เปิดสอนจะต้องมีความทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม ทางหลักสูตรจะต้องมีการเตรียมความพร้อมในด้านของวัสดุอุปกรณ์ในการทำวิจัยให้มีความทันสมัย เพื่อให้นักศึกษานำไปใช้ในการทำวิจัยเพื่อพัฒนาทักษะและต่อยอดองค์ความรู้ในการทำงานต่อไปได้ในอนาคต
Download
|
19 |
ความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของกลุ่มงานนโยบายแผนและคลัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
อนันต์ แพงจันทร์, นิรมล จำนงศรี, มธุรดา สิงสุธรรม, ธัญญธร พัวพิทยาธร, ลลิตตา หินเทา, ศศิธร เทียมมาลา
Keyword:
ความต้องการจำเป็น, ความคาดหวัง, การรับรู้, คุณภาพการบริการ
หน้า: 156 - 166
( Download: 150 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของผู้มาใช้บริการต่อคุณภาพการบริการของกลุ่มงานนโยบายแผนและคลัง คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตคณะสาธารณสุขศาสตร์ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 317 คน ที่ได้มาจากการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและดำเนินการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่สอบถามเกี่ยวกับการสำรวจความต้องการจำเป็นของคุณภาพการบริการของกลุ่มงานนโยบายแผนและคลังคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการประเมินความต้องการจำเป็นด้วยการเรียงลำดับคะแนนด้วยวิธี Modified Priority Needs Index (PNIModified) ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความคาดหวังคุณภาพการบริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.23, S.D.= 0.03) 2) ระดับการรับรู้คุณภาพการบริการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D.=0.03) และ 3) เมื่อนำค่าเฉลี่ยความคาดหวัง และค่าเฉลี่ยการรับรู้คุณภาพ การบริการมาจัดเรียงลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ได้ดังนี้ ด้านระบบการดำเนินการเป็นลำดับที่ 1 โดยมีค่าต้องการจำเป็น (PNIModified=0.050) รองลงมา คือ ความต้องการคุณภาพการบริการด้านประสิทธิภาพการดำเนินงาน มีค่าต้องการจำเป็น (PNIModified= 0.048) ด้านผู้ปฏิบัติหน้าที่ที่ให้บริการ (PNIModified=0.036) ด้านผลงานของการดำเนินงาน (PNIModified=0.032) และลำดับสุดท้าย คือ ด้านผลงานของการดำเนินงาน (PNIModified=0.029)
Download
|
20 |
ศึกษาสภาพการส่งเสริมและสนับสนุนทุนวิจัย ประเภททุนวิจัยสำหรับอาจารย์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
วทัญญู นาวิเศษ
Keyword:
การส่งเสริมการวิจัย, อาจารย์มหาวิทยาลัย, ทุนวิจัย
หน้า: 167 - 174
( Download: 114 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการรับทุนวิจัย ประเภททุนวิจัยสำหรับอาจารย์ จากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษา คือ อาจารย์เคยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 10 คน และอาจารย์ไม่เคยรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 73 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) เหตุผลของอาจารย์เคยได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์มากที่สุด คือ ต้องการทำผลงานเพื่อขอเลื่อนตำแหน่งทางวิชาการ คิดเป็นร้อยละ 80.00 2) เหตุผลของอาจารย์ที่ไม่เคยรับทุนอุดหนุน การวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ เนื่องจากมีภาระงานสอนมาก มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 44.44 3) เหตุผลใน การขอรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ในอนาคตของอาจารย์ที่ไม่เคยรับทุนอุดหนุนการวิจัยจากคณะศึกษาศาสตร์ มากที่สุด คือ การทำวิจัยเพื่อความก้าวหน้าในตำแหน่งที่สูงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 64.44
Download
|
21 |
วัสดุทดแทนราคาประหยัดสำหรับทวนสอบเครื่องวิเคราะห์สมบัติเชิงกลแบบพลวัต
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัยบดี ปิ่นศรีทอง, สัตยา บุญรัตนชู, พิสมัย ปิ่นศรีทอง
Keyword:
อะคริลิก, สมบัติเชิงกล, การทวนสอบ, เครื่องวิเคราะห์สมบัติเชิงกลแบบพลวัต
หน้า: 175 - 184
( Download: 85 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวัสดุราคาประหยัดสำหรับการทวนสอบเครื่องวิเคราะห์สมบัติเชิงกลแบบพลวัต (DMA) ก่อนการใช้งาน โดยวัสดุที่เลือกใช้เป็นแผ่นอะคริลิกชนิดแผ่นใสที่มีจำหน่ายในท้องตลาด นำมาตัดเป็นแผ่นขนาดเท่ากันราคาประมาณชิ้นละ 1 บาทและได้เปรียบเทียบกับแผ่นวัสดุมาตรฐานพอลิเมทิลเมทาคริเลต (PMMA) ที่มีราคาสูงมากกว่า 640 เท่า (640 บาท) ผลที่ได้แสดงลักษณะกายภาพที่ไม่แตกต่าง มีความเป็นเนื้อเดียวสม่ำเสมอของวัสดุเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด แสดงให้เห็นโครงสร้างทางเคมีที่เหมือนกันเมื่อตรวจวัดด้วยเครื่องฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรดสเปกโตรมิเตอร์ และเมื่อเปรียบเทียบสมบัติเชิงกลด้วยเครื่อง DMA แผ่นอะคริลิกที่เตรียมขึ้นมีคุณสมบัติเชิงกลใกล้เคียง PMMA มาตรฐานที่สภาวะการทดสอบเดียวกัน โดยมีค่าอุณหภูมิ ณ จุดยอดของแทนเดลต้า (Tan Delta peak) ค่าแทนเดลต้า (Tan Delta value) และค่าโมดุลัสสะสม (Storage modulus) ที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียสเท่ากับ 138.54 ± 0.55 องศาเซลเซียส,1.38 ± 0.02 และ 3.35 ± 0.30 เมกะปาสคาลตามลำดับ แผ่นอะคริลิกที่เตรียมขึ้นมี ความเที่ยงในการทำซ้ำในวันเดียวกัน และต่างวัน โดยมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์น้อยกว่าร้อยละ 0.17,1.13 และ 5.21ของอุณหภูมิ ณ จุดยอดของแทนเดลต้า ค่าแทนเดลต้า และค่าโมดุลัสสะสมที่อุณหภูมิ 160 องศาเซลเซียส ตามลำดับ และมีการเก็บข้อมูลเพื่อสร้างแผนภูมิควบคุมจากค่าสมบัติเชิงกลของแผ่นอะคริลิกที่เตรียมขึ้น เมื่อมีการทวนสอบเครื่องมือก่อนการใช้งาน จะช่วยให้สามารถตรวจสอบความสเถียรภาพของเครื่องมือเพื่อให้ผลวิเคราะห์สมบัติเชิงกลของวัสดุชนิดต่าง ๆ มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือ
Download
|
22 |
ความสัมพันธ์ระหว่างความสุขและความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ชาโลมา กองสวัสดิ์
Keyword:
ความสุข, ความผูกพันของบุคลากรการดำรงอยู่, ความทุ่มเท, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 185 - 195
( Download: 88 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสุขของบุคลากร ระดับความผูกพันของบุคลากร และความสัมพันธ์ระหว่างความสุขกับความผูกพันของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ทำงานในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประจำปีการศึกษา 2563 จำนวน 44 คน โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลออนไลน์ คือ เครื่องมือวัดคุณภาพชีวิตและความสุขด้วยตนเองของคนทำงานเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิธีทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์แปรผัน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และคัดเลือกตัวแปรที่เหมาะสมเข้าสมการใช้วิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวมบุคลากรในคณะนิติศาสตร์มีความสุขมาก 2) มีความความผูกพันต่อองค์กรอยู่ในระดับมาก โดยบุคลากรมีความทุ่มเทเพื่อองค์กรมากที่สุด รองลงมา คือ การพูดถึงองค์กรในทางที่ดี และต้องการคงอยู่กับองค์กร ตามลำดับ 3) ความสุขโดยรวม (Y) มีความสัมพันธ์กับความผูกพันธ์ต่อองค์กรของบุคลากรทุกด้าน ยกเว้นด้านสุขภาพกายดี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.706-0.767 ระดับความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางบวกทุกด้านผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและ การเลือกตัวแปรโดยวิธีขั้นตอนพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.01 เรียงลำดับความสำคัญจากมากที่สุด คือ การงานดีและจิตวิญญาณดี ตามลำดับ ได้สมการพยากรณ์ ŷ = -0.224 + 0.411X4 + 0.658X9 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ 0.899 และสามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ร้อยละ 80.90 (R2= 0.809) มีค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ เท่ากับ 0.288
Download
|
23 |
การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานทางวิชาชีพ เพื่อประเมิน เข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้นของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
ผู้แต่ง:
รุ่งโรจน์ สุทธิสุข, ธีรวดี ยิ่งมี
Keyword:
ปัจจัยความสำเร็จ, พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน, ผลงานทางวิชาชีพ
หน้า: 196 - 214
( Download: 114 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานทางวิชาชีพเพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาการผลิตผลงานทางวิชาชีพ ของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ประชากรที่ใช้ในการตอบแบบสอบถามได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่มีการกำหนดกรอบอัตราเป็นระดับสูงขึ้นแล้ว จำนวน 359 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ จำนวน 12 คน เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่สูงขึ้นและมีตำแหน่งที่แตกต่างกัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ แบบสัมภาษณ์ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) พนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี มีระดับความคิดเห็นของปัจจัยความสำเร็จในการผลิตผลงานทางวิชาชีพเพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 2) แนวทางการพัฒนาการผลิตผลงานทางวิชาชีพของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี สรุปได้ดังนี้ (1) ด้านปัจจัยส่วนตัวและสภาพแวดล้อม ควรจัดสรรเวลาช่วงเย็นหลังเวลาเลิกงานหรือช่วงวันหยุดเวลาราชการเพื่อผลิตผลงาน (2) ด้านลักษณะงานที่ปฏิบัติ พบว่า ควรจัดสรรเวลาช่วงพักกลางวันหรือช่วงเย็นก่อนกลับบ้านอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง (3) ด้านหลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้นนั้น พบว่า การทราบระยะเวลาในการพิจารณากำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น ทำให้สามารถวางแผนเตรียมการล่วงหน้าเพื่อไม่ให้เสียสิทธิ์โอกาสความก้าวหน้า (4) ด้านการจัดทำผลงานทางวิชาชีพ ควรมีที่ปรึกษาทางวิชาชีพ และ (5) ด้านการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัย/หน่วยงานนั้น พบว่า ควรสนับสนุนเงินทุนสำหรับการจัดทำผลงานทางวิชาชีพทุกประเภท
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |