1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ไตรถิกา นุ่นเกลี้ยง
Keyword:
ตัวชี้วัด , แนวทางพัฒนา, คุณลักษณะที่พึงประสงค์
หน้า: 1 - 10
( Download: 173 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวชี้วัดและแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่เป็นอัตลักษณ์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง และสอบถามจากกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ โดยการใช้เทคนิคการวิจัยอนาคตแบบเดลฟาย (Delphi Technique) ผู้วิจัยกำหนดผู้เชี่ยวชาญทั้งหมด 19 ท่าน ตอบแบบสอบถาม จำนวน 3 รอบ จนกระทั่งความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมีความสอดคล้องกัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ และใช้สถิติประกอบด้วยค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คือ “บัณฑิตศิลปศาสตร์ เป็นผู้ที่มีคุณค่าทั้งต่อตนเองและสังคม” โดยแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ด้านคุณค่าเฉพาะบุคคล ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ คือ การเป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม การเป็นผู้มีจิตสาธารณะ และการเป็นผู้มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านคุณค่าทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ตัวบ่งชี้ คือ การเป็นผู้มีทักษะทางด้านวิชาการและวิชาชีพ การเป็นผู้มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การเป็นผู้มีความสามารถทางด้านภาษาต่างประเทศ และการเป็นผู้มีความฉลาดทางด้านดิจิทัล แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ การจัดทำหลักสูตรที่บูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในคณะศิลปศาสตร์ โดยใช้วิธีการส่งเสริม สนับสนุน ยกย่อง และใช้กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับตัวบ่งชี้ในการพัฒนาและผลิตบัณฑิต คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Download
|
5 |
การศึกษาสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมเส้นใยจากเศษขวดน้ำดื่ม
ผู้แต่ง:
มีศักดิ์ธนา พัวพิทยาธร
Keyword:
มอร์ต้าร์, เส้นใยจากเศษขวดน้ำดื่ม, แผ่นซีเมนต์เส้นใย, กำลังรับแรงอัด, โมดูลัสแตกร้าว
หน้า: 11 - 24
( Download: 239 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ ศึกษาสมบัติของมอร์ต้าร์ผสมเส้นใยจากเศษขวดน้ำดื่ม ทดสอบที่อายุ 7, 14 และ 28 วัน และใช้อัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์ (W/C) เท่ากับ 0.40 โดยออกแบบส่วนผสมใช้อัตราส่วนผสมของเส้นใยจากเศษขวดน้ำดื่ม คือ ร้อยละ 1, 2 และ 3 โดยน้ำหนักของปูนซีเมนต์ ซึ่งใช้ขวดขวดน้ำดื่มตัดเป็นชิ้น 3 ขนาด ดังนี้ ขนาดที่1 กว้าง 1-2 มม. ยาว 5-10 มม. ขนาดที่ 2 กว้าง 1-2 มม. ยาว 15-20 มม. ขนาดที่ 3 กว้าง 1-2 มม. ยาว 25-30 มม. โดยหาอัตราส่วนผสมที่ดีที่สุดมาผลิตเป็นแผ่นซีเมนต์เส้นใย: แผ่นเรียบ จากผลการทดสอบ พบว่ากำลังรับแรงอัดของมอร์ต้าร์ควบคุม มีค่าเฉลี่ยที่ 407.31- 470.35 กก./ตร.ซม. เมื่อเปรียบเทียบกับมอร์ต้าร์ผสมเส้นใยจากเศษขวดน้ำดื่มมีกำลังรับแรงอัดลดลง ค่าเฉลี่ยที่ 309.43 – 466.38 กก./ตร.ซม. ส่วนค่าโมดูลัสแตกร้าวพิจารณาทุกอัตราส่วนที่อายุ 28 วัน ค่าโมดูลัสแตกร้าวเฉลี่ย 47.19-70.00 กก./ตร.ซม. ผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานซีเมนต์เส้นใยแผ่นเรียบ โดยมีค่าโมดูลัสแตกร้าวไม่น้อยกว่า 40 กก./ตร.ซม. ซึ่งผ่านเกณฑ์มาตรฐานกำหนด (มอก.1427-2561) สามารถนำไปผลิตเป็นซีเมนต์เส้นใยแผ่นเรียบได้ ค่าการนำความร้อนเฉลี่ย 0.450-0.468 วัตต์ต่อเมตร-เคลวิน ที่อายุ 28 วัน สามารถทำเป็นฉนวนกันความร้อนได้ การทดสอบด้านความหนาแน่น ที่อายุ 28 วัน พิจารณาทุกอัตราส่วนมีค่าเฉลี่ย 1.887-1.944 ก./ลบ.ซม. ซึ่งมีค่าต่ำกว่ามอร์ต้าร์ควบคุม การทดสอบการรั่วซึมจากการทดสอบจะเห็นได้ว่ามีคราบน้ำแต่ไม่มีหยดน้ำ
Download
|
6 |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย
ผู้แต่ง:
สุมารินทร์ พงษ์สิทธิ์
Keyword:
การตัดสินใจศึกษาต่อ, ระดับบัณฑิตศึกษา, อุเทนถวาย
หน้า: 25 - 37
( Download: 170 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษามีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก เขตพื้นที่อุเทนถวาย และ 2) เพื่อสำรวจความต้องการศึกษาต่อในระดับปริญญาเอกหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษาปริญญาโทที่เข้าศึกษาตั้งแต่ปีการศึกษา 2562 ถึง 2564 ที่ปัจจุบันมีสถานะปกติและรักษาสภาพ ส่งแบบสอบถามออนไลน์ให้แก่นักศึกษา 115 คน มีผู้ตอบกลับมา 100 คน ซึ่งมากกว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างที่คำนวณได้ (89 คน) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบโดยใช้ t test, F test และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา ด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยโดยรวมมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.531) ปัจจัยทุกด้าน ได้แก่ ด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน ด้านเหตุผลส่วนตัว ด้านสถานที่ตั้งของมหาวิทยาลัย ด้านการประชาสัมพันธ์ และด้านค่าใช้จ่าย มีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยอายุและรายได้มีความสัมพันธ์กันต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้ตอบแบบสอบถามร้อยละ 66 มีความสนใจศึกษาต่อปริญญาเอก ในสาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและการบริหารงานก่อสร้าง ในขณะที่อีกร้อยละ 34 ยังไม่ตัดสินใจ จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ด้านชื่อเสียงและภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยมีผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษามากที่สุด อายุและรายได้มีความสัมพันธ์กันและส่งผลต่อการตัดสินใจศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาที่ เป็นไปตามสมมติฐาน
Download
|
7 |
วิธีการตรวจสายพันธุ์ไวรัสเดงกี ด้วยวิธีดีเอ็นเอแบบแถบ
ผู้แต่ง:
ไพศาล ขาวสัก, สุรางค์รัตน์ ศรีสุรภานนท์, โกสุม จันทร์ศิริ
Keyword:
ไวรัสเดงกี, พีซีอาร์, โรคไข้เลือดออก, ดีเอ็นเอ เซ็นเซอร์
หน้า: 38 - 49
( Download: 294 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ไข้เลือดออกเป็นโรคที่สำคัญมีสาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี ในการศึกษานี้ ได้พัฒนาชุดตรวจสายพันธุ์ไวรัสเดงกี ด้วยวิธีดีเอ็นเอแบบแถบ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ความถูกต้อง และความแม่นยำ ในการตรวจหา ปริมาณ ความไว และแยกสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 สายพันธุ์ได้พร้อมกัน จากการทดสอบตัวอย่างซีรัมของผู้ป่วยเมื่อใช้ชุดทดสอบหาแอนติเจน จำนวน 37 ตัวอย่าง ผลการตรวจสอบเป็นบวก 100% (37/37) เมื่อใช้ชุดตรวจสอบโดย multiplex semi nested PCR ผลการตรวจสอบเป็นบวก 91.89% (34/37) และตรวจสอบด้วย DNA sensor strip test ผลการตรวจสอบเป็นบวก 91.89% (34/37) สายพันธุ์ที่ตรวจพบ คือ Den2 คิดเป็น 64.86% (24/37) Den3 คิดเป็น 18.92% (7/37) และ Den4 คิดเป็น 8.10% (3/37) และให้ผลเป็นลบคิดเป็น 8.10% (3/37) สายพันธุ์ที่พบมากคือ Den2 คิดเป็น 64.86% ของสายพันธุ์ทั้งหมดที่ตรวจพบ ยังใช้ทดสอบความจำเพาะ (specificity) วิธี DNA sensor strip test ไม่พบการเกิด cross hybridization เมื่อนำไปทดสอบกับ cDNA ของเชื้อไวรัส HBV และ DNA ของคนปกติ และเมื่อนำไปทดสอบความไว (sensitivity) สามารถแสดงผลได้ในปริมาณ cDNA น้อยที่สุดที่ 4 พิโคกรัม/ไมโครลิตร ชุดตรวจ DNA sensor strip test มีประสิทธิภาพในการตรวจเชื้อไวรัสเดงกีได้ภายในเวลาประมาณ 3 ชั่วโมง จึงทำให้มั่นใจว่าชุดตรวจสอบนี้มีความไว และความจำเพาะสูง และสามารถตรวจสอบการติดเชื้อที่มีปริมาณน้อยได้ เพื่อติดตามการรักษา การเฝ้าระวัง การระบาดของโรค จึงเหมาะสำหรับในการตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อไวรัสเดงกี ในระยะเริ่มต้นของการติดเชื้อได้
Download
|
8 |
การศึกษาพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตและความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมระบบออนไลน์ กรณีศึกษาผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรนักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับสูง (นบส.) รุ่นที่ 79
ผู้แต่ง:
วสันต์ ชุณห์วิจิตรา
Keyword:
พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ต, ความเป็นประโยชน์, การฝึกอบรมระบบออนไลน์, นักบริหารการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับสูงรุ่นที่ 79
หน้า: 50 - 61
( Download: 159 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตสำหรับการฝึกอบรมระบบออนไลน์ 2) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมออนไลน์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม 3) ปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคลที่ส่งผลกับความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมออนไลน์ และ 4) ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตกับความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมออนไลน์ ประชากรในการศึกษาเป็นผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 146 ราย โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตและความคิดเห็นเกี่ยวกับความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมระบบออนไลน์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เข้าอบรมมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือ และใช้ที่ทำงานเป็นสถานที่ฝึกอบรมออนไลน์ โดยมีการติดตั้งอินเทอร์เน็ตที่บ้านและที่ทำงาน และการมีอุปกรณ์ที่สนับสนุนเป็นปัจจัยสำคัญในการฝึกอบรมออนไลน์ โดยมีข้อดีคืออบรมได้ทุกที่ทุกเวลา รวมทั้งมีญาติหรือบุคคลในครอบครัวช่วยเหลือเกี่ยวกับการใช้งานอุปกรณ์ระบบออนไลน์ ส่วนใหญ่ไม่เคยมี การใช้งานเครื่องมือสำหรับการฝึกอบรมออนไลน์ 2) ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความคิดเห็นว่าการฝึกอบรมออนไลน์เป็นประโยชน์ในระดับมาก 3) เพศ หน่วยงาน อายุ ตำแหน่ง ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงานแตกต่างกัน มีความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมออนไลน์ไม่แตกต่างกัน และ 4) สถานที่ การมีความรู้ในการใช้งานโปรแกรม และการศึกษาหาข้อมูลด้วยตนเองในการแก้ปัญหา มีความสัมพันธ์กับความเป็นประโยชน์ของการฝึกอบรมออนไลน์ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
9 |
การศึกษาสมรรถนะหลักและสมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดส่วนงานวิชาการ มหาวิทยาลัยทักษิณ ตามทัศนะของหัวหน้าสำนักงานคณะ
ผู้แต่ง:
ธรรญชนก ขนอม
Keyword:
สมรรถนะหลัก, สมรรถนะตามตำแหน่ง, สมรรถนะการปฏิบัติงานบุคลากรสายสนับสนุน
หน้า: 62 - 75
( Download: 296 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะหลักและสมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งของบุคลากรสายสนับสนุน สังกัดส่วนงานวิชาการ ในมหาวิทยาลัยทักษิณ ตามทัศนะของหัวหน้าสำนักงานคณะฯ ที่ปฏิบัติงานในสายงานบริหารงานทั่วไป สายงานการเงิน สายงานพัสดุ และสายงานวิชาการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการวิจัย 3 รอบ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย รอบที่ 1 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามปลายเปิดและนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์โดยละเอียด สังเคราะห์เป็นประเด็น ตัดข้อมูลที่ซ้ำซ้อนออก รอบที่ 2 สร้างแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เพื่อให้ผู้ทรงคุณวุฒิให้น้ำหนักความสำคัญของแต่ละข้อ รอบที่ 3 นำคำตอบจากการวิเคราะห์รอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และคัดเลือกเฉพาะสมรรถนะหลักและสมรรถนะตามตำแหน่งที่มีค่ามัธยฐานตั้งแต่ 3.5 ขึ้นไป และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ไม่เกิน 1.50 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะหลัก ประกอบด้วย 9 สมรรถนะ สมรรถนะการปฏิบัติงานตามตำแหน่งสายงานบริหารงานทั่วไป ด้านความรู้ 4 สมรรถนะ ด้านทักษะ 7 สมรรถนะ ด้านบุคลิกลักษณะ 6 สมรรถนะ สายงานการเงิน ด้านความรู้ 4 สมรรถนะ ด้านทักษะ 8 สมรรถนะ ด้านบุคลิกลักษณะ 5 สมรรถนะ สายงานพัสดุ ด้านความรู้ 5 สมรรถนะ ด้านทักษะ 8 สมรรถนะ ด้านบุคลิกลักษณะ 5 สมรรถนะ สายงานวิชาการศึกษา ด้านความรู้ 5 สมรรถนะ ด้านทักษะ 8 สมรรถนะ ด้านบุคลิกลักษณะ 6 สมรรถนะ
Download
|
10 |
ศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
นภาพิศ หลิมสถาพรกุล, จินดา รุ่งโรจน์ศรี, ทัศนีย์ สามารถ, ธงชัย สุธีรศักดิ์
Keyword:
ความปลอดภัย , พฤติกรรมความปลอดภัย , ห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ , การรับรู้
หน้า: 76 - 86
( Download: 201 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยของนักศึกษา คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ด้วยการเก็บแบบสอบถามปลายปิด กับนักศึกษาที่ใช้ห้องปฏิบัติการ จำนวน 89 คน ผลการศึกษาพบว่า เป็นเพศหญิง ร้อยละ 75.3 เป็นเพศชาย ร้อยละ 24.7 เป็นนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม ร้อยละ 60.7 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการจัดการชายฝั่ง ร้อยละ 39.3 มีพื้นฐานความรู้ด้านความปลอดภัยอยู่พอสมควร ร้อยละ 53.9 และมีระดับการรับรู้ถึงความปลอดภัยที่พึงมี อยู่ในระดับมากที่สุด ทุกประเด็น ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน การป้องกันอุบัติเหตุ การจัดการสารเคมีและเครื่องแก้ว และการจัดการของเสีย ส่วนการศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ พบว่า มีการปฏิบัติทุกครั้ง ในประเด็นการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับความปลอดภัย การดูแลและรักษาความสะอาดบริเวณที่ทำปฏิบัติการและแจ้งให้ผู้ดูแลห้องปฏิบัติการทราบเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ตรวจสอบสภาพอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลและสวมใส่อุปกรณ์ขณะทำปฏิบัติการ เลือกใช้อุปกรณ์ เครื่องมือและอุปกรณ์ฉุกเฉินได้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม พบว่านักศึกษายังมีพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นบางครั้ง เช่น ใช้ยาแก้แพ้ แก้หวัดก่อนเข้าทำปฏิบัติการ หยอกล้อและใช้อุปกรณ์สื่อสารขณะทำปฏิบัติการ รวมถึงเทน้ำลงในกรดหรือเทสารเคมีที่เหลือจากการทดลองกลับคืนขวดเมื่อใช้ไม่หมด
Download
|
11 |
การบริหารจัดการห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ปริญญ์ งามสุทธิ
Keyword:
พัฒนาระบบ, บริหารจัดการ, ห้อง Co–Working Space
หน้า: 87 - 95
( Download: 248 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจการใช้บริการห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสนทนากลุ่มย่อย และแบบประเมินความพึงพอใจ โดยมีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.94 ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารจัดการห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีการดำเนินการตามนโยบายของมหาวิทยาลัยในการจัดสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบไปด้วย นโยบายมหาวิทยาลัย/ผู้บริหาร งบประมาณ นักเรียน/นิสิต อาจารย์ บุคลากรสายสนับสนุน บุคคลทั่วไป โดยมีกระบวนการในการจัดการ ได้แก่ (1) กระบวนการและขั้นตอนการให้บริการ (2) การรักษาความสะอาด และความปลอดภัย ในการเข้าใช้งาน (3) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวก (4) การจัดการสภาพแวดล้อม และการจัดการพื้นที่ โดยคาดหวังให้ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการใช้งานห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม อย่างน้อยในระดับดี และควรนำข้อเสนอแนะในการบริหารจัดการไปใช้ปรับปรุงการให้บริการให้มีประสิทธิภาพต่อไป 2. ผลการประเมินความพึงพอใจการใช้ห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ผู้รับบริการมีความพึงพอใจในการใช้บริการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.58) การบริหารจัดการห้อง Co–Working Space สำนักศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยนำผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการมาใช้ในการปรับปรุงการให้บริการ อันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีคุณภาพต่อไป
Download
|
12 |
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564
ผู้แต่ง:
อุเทน หินอ่อน
Keyword:
งบประมาณ, การเบิกจ่ายงบประมาณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
หน้า: 96 - 103
( Download: 441 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 ใน 3 มิติ คือ 1) มิติด้านแหล่งงบประมาณ 2) มิติด้านภารกิจหลัก และ 3) มิติด้านหน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารแผนปฏิบัติราชการประจำปีและเอกสารรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการเปรียบเทียบและใช้สถิติเชิงพรรณนาในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปีงบประมาณที่ระดับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณมากที่สุด คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีประสิทธิภาพระดับสูง เบิกจ่ายร้อยละ 93.07 รองลงมา คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง เบิกจ่ายร้อยละ 89.63 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง เบิกจ่ายร้อยละ 86.20 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีประสิทธิภาพระดับต่ำ เบิกจ่ายร้อยละ 85.88 และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีประสิทธิภาพระดับต่ำ เบิกจ่ายร้อยละ 85.17 ตามลำดับ เห็นได้ว่าประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ 5 ปีย้อนหลัง ส่วนมากอยู่ในช่วงระดับต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น จึงควรพิจารณาปรับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณให้สูงขึ้น
Download
|
13 |
การสำรวจระดับความผูกพันและแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กร ของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์
Keyword:
การบริหารงานบุคคล, ความผูกพันต่อองค์กร, การธำรงรักษาพนักงาน
หน้า: 104 - 113
( Download: 190 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) ศึกษาแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรในสังกัดคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้อง อยู่ที่ 1.00 ค่าความเที่ยง ที่ 0.98 และค่าเชื่อมั่นที่ 0.98 ผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 52 คน คิดเป็นร้อยละ 89.67 ของบุคลากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับแนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กรวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร รายข้อ พบว่า บุคลากรจะใช้ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อช่วยให้คณะประสบผลสำเร็จตามที่คาดหวัง มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ บุคลากรคำนึงถึงชื่อเสียงของคณะเสมอ และบุคลากรยินดีที่จะปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายเพื่อให้สามารถทำงานกับคณะได้ ตามลำดับ 2) แนวทางการสร้างความผูกพันต่อองค์กร บุคลากรได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะหรือข้อแนะนำที่บุคลากรคิดว่าคณะควรนำมาปรับปรุง หรือใช้เป็นแนวทางในการเสริมสร้างความผูกพันต่อองค์กร ได้แก่ การพิจารณาเรื่องความเหมาะสมของปริมาณงาน การสื่อสารภายในองค์กร การเอาใจใส่ที่จะจัดการกับงานที่ทำผิดพลาด คำร้องเรียน การเปิดโอกาสให้ได้แสดงความเห็นอย่างมีส่วนร่วม การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และการสื่อสารหรือการแสดงความเป็นมิตรที่ดีต่อกัน
Download
|
14 |
การยอมรับของบุคลากรคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ
ผู้แต่ง:
ประคุณ ศาลิกร
Keyword:
การยอมรับ, เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ คณะประมง, คณะประมง
หน้า: 114 - 124
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการยอมรับของบุคลากรคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx ที่ประกอบด้วย การรับรู้ การรับทราบ ความสนใจ และพฤติกรรมการเรียนรู้และการรับรู้ข่าวสาร 2) ศึกษาความคาดหวังของบุคลากรคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx และ3) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับของบุคลากรคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์ EdPEx โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์จำนวน 112 คน ประกอบด้วยสายวิชาการ 32 คน และสายสนับสนุนและช่วยวิชาการ 80 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้หลักการและสถิติเชิงพรรณนาอธิบายลักษณะของข้อมูลและใช้สถิติเชิงอนุมานอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับ ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการที่มีตำแหน่งบริหารส่วนใหญ่มีการยอมรับทางความคิดและทางการปฏิบัติมากกว่าบุคลากรสายสนับสนุนและช่วยวิชาการที่ทำหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน นอกจากนี้ยังพบว่าบุคลากรมีความคาดหวังถึงผลประโยชน์ด้านต่าง ๆ ทั้งต่อตนเองและหน่วยงาน พร้อมทั้งให้คุณค่าและความสำคัญรวมทั้งโอกาสการกระทำหรือโอกาสที่จะได้รับผลประโยชน์เหล่านั้นในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง และในส่วนของปัจจัยที่ผลต่อการยอมรับต่อการดำเนินงานตามเกณฑ์ฯ คือ ปัจจัยด้านการรับรู้ข่าวสารและด้านความคาดหวังที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการยอมรับ ในขณะที่ปัจจัยด้านสายการปฏิบัติงานและสถานภาพการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์เชิงลบกับการยอมรับ ดังนั้น คณะประมงจึงควรเพิ่มการส่งเสริมความรู้ด้านการพัฒนาคุณภาพองค์กรตามเกณฑ์ EdPEx ในรูปแบบที่เหมาะสมเพื่อสร้างการยอมรับที่จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีขององค์กรต่อไป
Download
|
15 |
การศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ของนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
ณิชาพัชร์ พุทธเมธา
Keyword:
การตัดสินใจ, การเลือกเข้าศึกษา, หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, วิศวกรรมไฟฟ้า
หน้า: 125 - 136
( Download: 192 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ของนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็น ศึกษาเปรียบเทียบ โดยจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล และศึกษาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงหลักสูตร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.945 จากนิสิตชั้นปีที่ 1 – 4 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 128 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ F-test เมื่อพบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทำการทดสอบเป็นรายคู่โดยใช้วิธีของ LSD ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ของนิสิตภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.50, SD = 0.54) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการประชาสัมพันธ์อยู่ในระดับมาก ( = 3.65, S.D. = 0.68) ด้านหลักสูตร ( = 3.50, S.D. = 0.64) ด้านสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวก ( = 3.49, S.D. = 0.75) อยู่ในระดับมาก ด้านเหตุผลส่วนตัวอยู่ในระดับมาก ( = 3.46, S.D. = 0.58) และด้านภาพลักษณ์ของมหาวิทยาลัยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.39, S.D. = 0.71) และ 2) การเปรียบเทียบคุณลักษณะส่วนบุคคล เพศและวิชาเอก มีการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาไม่แตกต่างกัน นิสิตระดับชั้นปี มีการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
16 |
การใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564
ผู้แต่ง:
จิณณพัต ชื่นชมน้อย
Keyword:
ฐานข้อมูลออนไลน์, การให้บริการ, ห้องสมุด
หน้า: 137 - 146
( Download: 181 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์สถิติการใช้ฐานข้อมูลออนไลน์ของนิสิตคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีงบประมาณ 2564 ด้วยการเก็บสถิติจากระบบ Ezproxy ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากข้อมูลการใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2563 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2564 โดยการจำแนกประเภท การเปรียบเทียบข้อมูล และอธิบายผลแบบพรรณนา สถิติที่ใช้ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ และหาอัตราการเข้าใช้ฐานข้อมูลเฉลี่ยต่อคน ผลจากการวิเคราะห์ พบว่าฐานข้อมูลออนไลน์ที่สำนักหอสมุดให้บริการทั้งหมด 60 ฐานข้อมูล มีสถิติจำนวนครั้งการเข้าใช้ทั้งหมด 16,546 ครั้ง สถิติจำนวนผู้ใช้ทั้งหมด 1,896 คน ซึ่งฐานข้อมูลที่มีจำนวนครั้งการเข้าใช้สูงสุด คือ ฐานข้อมูล Science Direct สถิติจำนวนครั้งการเข้าใช้ 3,365 ครั้ง (ร้อยละ 20.33) และฐานข้อมูลที่มีจำนวนผู้ใช้สูงสุด คือ ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถิติจำนวนผู้ใช้ 650 คน (ร้อยละ 34.28) ผลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบสถิติจำนวนครั้งการเข้าใช้ฐานข้อมูลออนไลน์กับสถิติจำนวนผู้ใช้ฐานข้อมูลออนไลน์จากอัตราการเข้าใช้ฐานข้อมูลเฉลี่ยต่อคน พบว่าฐานข้อมูลที่มีการเข้าใช้สูงสุด คือ ฐานข้อมูล ISI Web of Science สถิติจำนวนครั้งการเข้าใช้ 1,283 ครั้ง (ร้อยละ 7.75) สถิติจำนวนผู้ใช้ 144 คน (ร้อยละ 7.59) อัตราการเข้าใช้เฉลี่ยต่อคนคิดเป็นร้อยละ 8.90
Download
|
17 |
พฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุตามทัศนะของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ศรัณย์ภัทร์ ชิณสงคราม
Keyword:
พฤติกรรมการปฏิบัติงาน, ทัศนะของบุคลากร, นักวิชาการพัสดุ
หน้า: 147 - 153
( Download: 159 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุตามทัศนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากร สังกัดมหาวิทยลัยมหาสารคาม จำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม คือ หน่วยงานจัดการเรียนการสอน และหน่วยงานสนับสนุนการจัด การเรียนการสอน ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 351 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยมีค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.965 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ Two Way ANOWA ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุตามทัศนะของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.88, S.D. =0.66) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ( =4.03,S.D.=0.72) และผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุตามทัศนะของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำแนกตามเพศและประเภทของบุคลากรแตกต่างกัน พบว่า มีทัศนะเกี่ยวกับพฤติกรรมการปฏิบัติงานของนักวิชาการพัสดุไม่แตกต่างกัน
Download
|
18 |
การพัฒนาระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศสำหรับผู้ปฏิบัติงาน ด้านต่างประเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้แต่ง:
ศิริลักษณ์ พึ่งรอด
Keyword:
ฐานข้อมูล, เว็บแอปพลิเคชัน, ระบบจัดการเอกสาร, ระบบแจ้งเตือน
หน้า: 154 - 164
( Download: 170 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ เอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ 2) เพื่อออกแบบระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ 3) เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ และ 4) เพื่อประเมินระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ โดยดำเนินการวิจัยออกเป็น 4 ระยะ ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยรายละเอียดดังนี้ ระยะที่ 1 การศึกษาวิเคราะห์ระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ ระยะที่ 2 การออกแบบระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ ระยะที่ 3 การพัฒนาระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ ระยะที่ 4 การประเมินระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) สถาปัตยกรรมระบบการบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบการบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการสารสนเทศลูกจ้างชาวต่างประเทศ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.89, S.D. = 0.22) ซึ่งเป็นสิ่งยืนยันที่แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถนำไปใช้ได้จริง และ 2) ผลประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ พบว่ามีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.90, S.D. = 0.16) ถือได้ว่าระบบมีความสะดวกช่วยลดภาระในการทำงานของผู้ใช้งาน สามารถดำเนินการได้ตรงตามวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ตั้งไว้ทุกประการ
Download
|
19 |
การพัฒนาที่ยั่งยืน: การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยงานวิจัย
ผู้แต่ง:
ภาสกร บุญคุ้ม, รัตนา ด้วยดี
Keyword:
การพัฒนาที่ยั่งยืน, งานวิจัย, มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
หน้า: 165 - 176
( Download: 384 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ผลจากการพัฒนาในอดีตพบว่าเกิดความไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน แม้ตัวเลขรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือคำตอบการในการบริหารจัดการการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นการสรางความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดลอม การที่จะทำให้เกิดความสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้นั้นจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยงานวิจัยโดยได้นำเสนอสองประเด็นหลัก คือ (1) บทบาทงานวิจัยที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1.1) งานวิจัยจะช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหา ความท้าทายของแต่ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่ามีสถานการณ์อย่างไร 1.2) งานวิจัยช่วยกำหนดขอบเขตการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง 1.3) งานวิจัยช่วยกำหนดการพัฒนาแนวทาง การแก้ไขปัญหา 1.4) งานวิจัยช่วยในการระบุและประเมินทางเลือกหรือเส้นทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ 1.5) งานวิจัยช่วยในการสนับสนุนการดำเนินงานเป็นไปตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) แนวทางการสนับสนุนให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นวิจัยในมหาวิทยาลัย ได้แก่ 2.1) มหาวิทยาลัยควรทำให้นักวิจัยรู้จักและเข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ที่อยากจะสร้างผลงานทางวิชาการ (Profile) ในระยะยาว 2.2) ช่วยให้นักวิจัยเห็นความเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยของเขากับเป้าหมายต่าง ๆ ทั้ง 17 เป้าหมาย 2.3) วิเคราะห์จุดแข็งด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และระบุตัวนักวิจัยหลักให้ชัดเจน 2.4) หมั่นรายงานว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร และ 2.5) ส่งเสริมให้นักวิจัยเชื่อมโยงตนเองกับชุมชนนักวิจัยระดับโลก
Download
|
20 |
ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชากับปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก ของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
โสภิดา สุทธนะ
Keyword:
ปัจจัย, การลาออก, นิสิต
หน้า: 177 - 184
( Download: 182 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของนิสิต 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของนิสิต กลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรี ลาออกจาก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีทั้งหมด 7 หลักสูตร ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 42 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การศึกษาข้อมูลและวิธีทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกของนิสิต สรุปจากค่าเฉลี่ยของระดับความคิดเห็นของนิสิตโดยเรียงลำดับจากมาไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ปัจจัยด้านครอบครัวและภูมิลำเนาของนิสิต อยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.48, SD = 0.50) ลำดับที่ 2 ได้แก่ ปัจจัยด้านแรงกระตุ้น แรงจูงใจ ความถนัด ผลการเรียนของนิสิต อยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.94, SD = 0.49) และ และลำดับที่ 3 ได้แก่ ปัจจัยด้านหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ อยู่ในระดับน้อย ( = 2.42 SD = 0.61) 2) ความสัมพันธ์ระหว่างสาขาวิชา กับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก พบว่า สาขาวิชา กับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจลาออก มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าระดับความสัมพันธ์ในระดับสูงมาก
Download
|
21 |
การพัฒนาระบบการจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วริญดา ประทุมวัลย์
Keyword:
การจัดการสารเคมี, ห้องปฏิบัติการปลอดภัย, ลีน, ฐานข้อมูลสารเคมี
หน้า: 185 - 195
( Download: 612 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสารเคมี ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารเคมี และพัฒนาระบบการจัดเก็บสารเคมีที่ปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ ระบบการจัดการสารเคมีได้รับการพัฒนาขึ้นตามแนวทางการจัดการแบบลีน โดยรวบรวมรายชื่อสารเคมีที่มีอยู่และวิเคราะห์ปัญหาที่ก่อให้เกิดการมีสารเคมีที่ไม่จำเป็นก่อนจะพัฒนาวิธีการจัดการสารเคมีและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ จากผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์มีรายการสารเคมี จำนวน 132 รายการ จากสารเคมีทั้งหมดมีสารเคมีหมดอายุจำนวน 12 ชนิด และสารเคมีที่ถูกใช้สำหรับการทดลองในห้องปฏิบัติการอีก 68 ชนิด ซึ่งมีนัยว่ายังมีสารเคมีที่เหลืออีกจำนวนมากที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เป็นเพราะขาดระบบการจัดการสารเคมีที่ดี ในการจัดทำระบบการจัดการสารเคมี สารเคมีทั้งหมดได้ถูกจำแนกประเภทตามสัญลักษณ์สีและเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่สารเคมีรั่วไหล เมื่อเทียบขั้นตอนการจัดการสารเคมีทั่วไป พบว่า ระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ถึงร้อยละ 68 การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการมีระเบียบและสะดวกยิ่งขึ้นในการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (ในกรณีของระบบการจัดการสารเคมี) จากร้อยละ 14.28 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.57 เมื่อประเมินโดยใช้รายการตรวจสอบตามมาตรฐาน การปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัยของประเทศไทย (ESPReL)
Download
|
22 |
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์
ผู้แต่ง:
ฐิตินันท์ ขันทอง, ภิรมย์ พาบุ
Keyword:
QR Code, ความพึงพอใจ , ครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์
หน้า: 196 - 204
( Download: 186 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี จำนวน 3 คน 2) ผู้ใช้งาน เป็นเจ้าหน้าที่ของคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์
ซึ่งปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องด้านพัสดุและครุภัณฑ์ จากหน่วยงานภายในคณะ 8 หน่วยงาน ๆ ละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 24 คน โดยวิธีเฉพาะเจาะจง ผลการประเมินการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ เมื่อพิจารณาโดยรวม พบว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =4.26, SD=0.73) ส่วนรายด้านความทันสมัยของเทคโนโลยี มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด รูปแบบความคมชัดเข้าใจง่าย การเข้าถึงได้ง่ายสะดวกรวดเร็วต่อการใช้งานของระบบ และความถูกต้องแม่นยำในการแสดงผลของข้อมูล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความพึงพอใจที่มีต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก จึงสามารถที่จะสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคิวอาร์โค้ดในงานครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ มีความเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาในการค้นหาข้อมูลครุภัณฑ์โสตทัศนูปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
Download
|
23 |
ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียน กองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ผู้แต่ง:
รุ้งนภา สุนทรศารทูล, พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา
Keyword:
ความพึงพอใจ, การให้บริการ, งานทะเบียน, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
หน้า: 205 - 213
( Download: 278 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนของกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจต่องานทะเบียนของนิสิตที่มีเพศ อายุ และคณะที่สังกัดแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 389 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ และการสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนของกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.61) เมื่อจำแนกเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก 5 ด้าน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ( =3.68) รองลงมาด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ ( =3.64) ด้านการให้บริการอย่างเท่าเทียม ( =3.62) ด้านการให้บริการอย่างรวดเร็วทันเวลา ( =3.59) และด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ( =3.55) 2) ผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของนิสิตที่มีต่อการให้บริการงานทะเบียนของกองบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ที่มีเพศ อายุ และคณะที่สังกัด พบว่า นิสิตที่มีเพศ และอายุต่างกันมีความพึงพอใจต่องานทะเบียนของกองบริหารการศึกษาไม่แตกต่างกัน แต่นิสิตที่มีคณะที่สังกัดต่างกัน มีความพึงพอใจต่องานทะเบียนของกองบริหารการศึกษาแตกต่างกัน
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |