1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน กองบรรณาธิการ และรายละเอียดวารสาร |
3 |
การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามสำหรับการวิจัย
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
Keyword:
แบบสอบถาม, การตรวจสอบคุณภาพ, ความเที่ยงตรง, ความเชื่อมั่น
หน้า: 1 - 15
( Download: 815 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสร้างแบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามเป็นที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะข้อมูลห์สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย และสามารถใช้เก็บข้อมูลได้พร้อมกันในจำนวนมาก ๆ โดยเฉพาะในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ 1) กระบวนการสร้างแบบสอบถาม ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1.1) การออกแบบและ การสร้างแบบสอบถาม และ 1.2) การทดสอบแบบสอบถามเบื้องต้น และ 2) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ซึ่งสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เช่น 1.1) ความเที่ยงตรง 1.2) ความเชื่อมั่น 1.3) ความยากง่ายและอำนาจการจำแนก1.4) ความเป็นปรนัย 1.5) ความมีประสิทธิภาพ 1.6) ความไว 1.7) ความเป็นมิติเดียว และ 1.8) ความง่ายต่อ การนำไปใช้ แต่ทั้งนี้การตรวจสอบคุณภาพขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือวิจัยแต่ละชนิดว่าควรตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือสามารถนำไปวัดค่าได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัดให้มากที่สุด
Download
|
4 |
การทดสอบยอมรับระบบสารสนเทศโดยผู้ใช้งานออนไลน์ ในภาวะการระบาดของโรคโควิด 19
ผู้แต่ง:
วิภาวี รื่นจิตต์, รัตนา ปัดถา
Keyword:
การทดสอบยอมรับระบบโดยผู้ใช้งาน, ยูเอที, โปรแกรมซูม, ระบบสารสนเทศ, โรคโควิด 19
หน้า: 16 - 26
( Download: 363 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในภาวะการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นมาตรการสำคัญที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ลดจำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศ และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อมาตรการดังกล่าว ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ออกนโยบายให้เจ้าหน้าที่ทำงานที่บ้าน (Work From Home) ด้วยเหตุนี้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ตลอดจนค้นคิดหาเครื่องมือช่วยเหลือการทำงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติโดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานการทดสอบยอมรับระบบโดยผู้ใช้งานเป็นกระบวนการที่ใช้ในการทดสอบก่อนการขึ้นใช้งานของระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กร โดยผู้ใช้งานหรือเจ้าของระบบ(Product Owner) เข้ามาตรวจสอบเพื่อยืนยัน ความถูกต้องและกระบวนการทำงานของระบบที่พัฒนาขึ้น ว่าเป็นไปตามความต้องการและสามารถรองรับกระบวนการทางธุรกิจของตนเองได้ก่อนนำระบบขึ้นใช้งานจริง ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยบุคคลหลายกลุ่มเข้าร่วมทดสอบและวางแผนการดำเนินการ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในช่วงภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด 19 ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ศึกษาแนวทางการนำโปรแกรมเพื่อการจัดการประชุมและกิจกรรมออนไลน์ เช่น ZOOM cloud meeting, Cisco WebEx, Google hangouts meet, Skype, Microsoft Teams, Line, Bluejeans เป็นต้น เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับจัดกิจกรรมการทดสอบยอมรับระบบสารสนเทศโดยผู้ใช้งานออนไลน์ เพื่อให้ได้ขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาปรับปรุงและทดแทนกระบวนการทำงานรูปแบบเดิมได้
Download
|
5 |
ผู้ตรวจประเมินคุณภาพการศึกษา: แนวปฏิบัติที่ดีเพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติและคุณภาพ
ผู้แต่ง:
ปิยะณัฐ พรมสาร
Keyword:
การประกันคุณภาพการศึกษา, ผู้ตรวจประเมิน, ทักษะ, จริยธรรมและจรรยาบรรณ
หน้า: 27 - 37
( Download: 192 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืนนั้น หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องได้รับการสะท้อนกระบวนการที่ปฏิบัติอยู่รวมทั้งผลการดำเนินการที่ผ่านมาเพื่อนำมาปรับปรุงการดำเนินงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานศึกษามีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างพื้นฐานของการพัฒนากำลังคนของประเทศและการขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า สถานศึกษาทุกแห่งจะต้องมีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาและดำเนินการอย่างต่อเนื่อง กระบวนการคุณภาพที่จะนำสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศและยั่งยืนนอกจากวัฒนธรรมคุณภาพ คุณภาพในการนำหน่วยงาน การสนับสนุนของบุคลากรในระดับปฏิบัติการแล้ว คุณภาพของผู้ตรวจประเมินก็เป็นส่วนสำคัญหนึ่งที่จะค้ำยันระบบคุณภาพขององค์กร ระบบการประกันคุณภาพการศึกษาโดยส่วนใหญ่ยังคงมีกระบวนการที่ผู้ตรวจประเมินเป็นผู้ตรวจสอบกระบวนการและผลการดำเนินการของหน่วยงานทั้งในรูปแบบพิสูจน์ สอบทวนความจริง (Verify) หรือการหาข้อมูลเพื่อให้ชัดแจ้งขึ้น (Clarify) ที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับหน่วยงานรับตรวจ การสัมภาษณ์ผู้บริหาร (Executive) ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) บุคลากร (Workforce) คู่ความร่วมมือ (Partners) นิสิต/ นักศึกษา (Student) ศิษย์เก่า (Alumni) หรือผู้ใช้บัณฑิต (Employers) เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดของกระบวนการตรวจประเมินแล้ว นอกเหนือจากความรู้ความเข้าใจในเกณฑ์การประเมินและบริบทของสถานศึกษา ผู้ตรวจประเมินยังต้องมีทักษะและการปฏิสัมพันธ์ที่สำคัญทั้งในทักษะตนเอง (Personal skills) ทักษะระหว่างบุคคล (Interpersonal skills) และแนวปฏิบัติเพื่อธำรงไว้ซึ่งเกียรติและคุณภาพ เช่น การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนและการหาประโยชน์เพื่อส่วนตน การปกปิด รักษาและทำลายข้อมูล รูปแบบการสัมภาษณ์ที่ควรปฏิบัติ การรักษาเวลา การแต่งกาย หรือการทำงานเป็นทีม ซึ่งเป็นศาสตร์และศิลป์ที่ผู้ตรวจประเมินต้องฝึกฝนผ่านประสบการณ์ จนเกิดเป็นทักษะเฉพาะบุคคลแสดงถึงความยึดมั่นในจรรยาบรรณและแนวปฏิบัติที่จำเป็นของผู้ตรวจประเมินที่ดีได้
Download
|
6 |
การพัฒนาระบบติดตามผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายงบประมาณ ตามแผนปฏิบัติการงบประมาณผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ผู้แต่ง:
ชัยวัฒน์ธนา รัตนศิริกรณ์, มังคลารัตน์ สำเนากลาง, นรากร งาคชสาร
Keyword:
ระบบติดตามผลสัมฤทธิ์, ผู้ดูแลระบบ, ผู้ใช้ระบบ, ประสิทธิภาพ, ความพึงพอใจ
หน้า: 38 - 48
( Download: 309 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างระบบติดตามผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการงบประมาณ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของกองนโยบายและแผน มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยเลือกหลักการทำงานแบบเว็บแอปพลิเคชัน ซึ่งทำงานร่วมกับเบราวเซอร์อื่น และตรงตามวัตถุประสงค์เป็น อย่างดี มีกลุ่มเป้าหมาย 2 กลุ่มได้แก่ 1. กลุ่มของการประเมินประสิทธิภาพของระบบ จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 2.กลุ่มการประเมินความพึงพอใจจากพนักงานในสถาบันอุดมศึกษาสายสนับสนุน ที่รับผิดชอบงานด้านแผนและงบประมาณของหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ปี 2562 จำนวน 52 คน ผลการศึกษา พบว่า ระบบติดตามผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการงบประมาณ สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ โดยสามารถช่วยในการติดตามผลสัมฤทธิ์การใช้จ่ายงบประมาณตามแผนปฏิบัติการงบประมาณของแต่ล่ะหน่วยงานในรูปแบบร้อยละ โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพจากผู้เชี่ยวชาญ อยู่ในระดับมาก ทุกด้าน ได้แก่ ด้านความต้องการ (
Download
|
7 |
การพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการ
ผู้แต่ง:
ธีติมา ไชยกิจ, ธนาคม เจริญพิทย์, มนตรี ศิริปรัชญานันท์
Keyword:
ระบบฐานข้อมูล, วารสารวิชาการ, ระบบการจัดการ
หน้า: 49 - 61
( Download: 424 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การจัดทำวารสารวิชาการเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นสิ่งชี้วัดถึงผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัย และมีระบบฐานข้อมูลที่ดีจะช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลข้อมูล จากปัจจุบันพบว่า การจัดเก็บข้อมูลผู้เขียนบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพบทความ และบรรณาธิการประจำบทความ มีการจัดเก็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลได้ยาก ผู้วิจัยจึงสนใจจัดทำระบบการจัดการงานวารสารวิชาการเพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ใน การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการและ 3) เพื่อการประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาจากระบบการทำงานเดิม รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบระบบฐานข้อมูล และพัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยใช้ภาษา Yii Framework ช่วยในสร้างเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและมีระบบแคชซึ่งช่วยให้การประมวลผลเร็วยิ่งขึ้น และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 5.67 ดังนั้นข้อคำถามมีความสอดคล้องกับงานวิจัย โดยระบบดังกล่าวได้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 ด้าน 1) ด้านระบบตรงต่อความต้องการผู้ใช้ 2) ด้านความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 3) ด้านการใช้งานของระบบมีความง่ายต่อการใช้งาน และ 4) ด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล เมื่อดำเนินการพัฒนาระบบได้จัดทำการประเมินผลและทดสอบระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บรรณาธิการและผู้ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายจัดการวารสารในกองบรรณาธิการจำนวน 10 วารสาร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.76 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสร้างความพึงพอใจต่อผู้ทดลองใช้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการงานวารสารวิชาการได้
Download
|
8 |
การศึกษาความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก ในการเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
ผู้แต่ง:
วิศรุต คงสกุล
Keyword:
ห้องปฏิบัติการสอบเทียบ, ความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรม, การกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ
หน้า: 62 - 72
( Download: 244 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของโรงงานอุตสาหกรรมในการเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด EEC ประกอบด้วยจังหวัดชลบุรี ระยอง และฉะเชิงเทรา ผลที่ได้จากงานวิจัยสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการสอบเทียบให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น การวิจัยเริ่มต้นด้วยการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกิจกรรมของห้องปฏิบัติการสอบเทียบจำนวน 44 คน ถึงความต้องการและผลกระทบต่าง ๆ ที่มีต่อการเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ข้อมูลที่ได้จะถูกนำมาจัดกลุ่มเป็นความต้องการหลักได้ทั้งหมด 15 ข้อ ขั้นตอนต่อมาใช้แบบสอบถามเพื่อหาระดับความสำคัญของแต่ละความต้องการโดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ 3 จังหวัด EEC จำนวน 376 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการกระจายหน้าที่เชิงคุณภาพ (Quality Function Deployment : QFD) และสร้างเป็นบ้านคุณภาพ (House of Quality : HOQ) เพื่อกำหนดเป็นค่าเป้าหมายในการดำเนินงานที่เหมาะสม ผลจากงานวิจัยพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการพิจารณาเลือกใช้บริการจากห้องปฏิบัติการสอบเทียบมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ 1) ห้องปฏิบัติการต้องได้รับการรับรอง ISO/IEC17025 2) ระยะเวลาสอบเทียบไม่นานเกิน 5 วัน 3) อัตราค่าบริการเหมาะสมกับการให้บริการ 4) สามารถให้คำแนะนำทางเทคนิคเกี่ยวกับเครื่องมือวัดได้ และ 5) ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดได้มากกว่า 3 พารามิเตอร์ และผลจากงานวิจัยยังสามารถหาชนิดของเครื่องมือวัดที่โรงงานอุคสาหกรรมในพื้นที่ 3 จังหวัด EEC มีความต้องการส่งสอบเทียบมากที่สุดเรียงตามลำดับได้ดังนี้ เครื่องมือวัดด้านมิติ มวล อุณหภูมิ ความดัน ไฟฟ้า ปริมาตร แรง เคมี เสียง และเครื่องมือวัดแสง
Download
|
9 |
การปรับปรุงกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้แต่ง:
จรวยพร รอบคอบ
Keyword:
ปรับปรุงกระบวนการ, ตำแหน่งทางวิชาการ, สำนักงานคณบดี, แนวคิดลีน ECRS+it
หน้า: 73 - 87
( Download: 302 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ปรับปรุงและทดสอบประสิทธิภาพของกระบวนการใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานสายวิชาการที่ขอตำแหน่งทางวิชาการ ระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2565 จำนวน 25 คน มีขั้นตอนการวิจัยโดย 1) วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคด้วยการทบทวน Work Flowchart และเอกสารประวัติการขอตำแหน่งทางวิชาการ ใช้แบบสอบถามร่วมกับการสนทนากลุ่ม แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย 2) ปรับปรุงกระบวนการโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีน ตามหลักการ ECRS+it เปรียบเทียบกระบวนการเดิมกับกระบวนการใหม่ และ 3) ทดสอบประสิทธิภาพกระบวนการใหม่ ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวมดำเนินการได้ดี ปัญหาอุปสรรค ได้แก่ ระบบแจ้งความประสงค์และกรอบระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดไม่ชัดเจน โดยที่กระบวนการเดิมมีระยะเวลาดำเนินการสูงสุด 277 วัน ต่ำสุด 15 วัน เฉลี่ย 61 วัน ไม่มีระบบติดตามความก้าวหน้าในการพิจารณาผลงานและระบบผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการเตรียมผลงาน แหล่งข้อมูลขั้นตอนกระบวนการไม่เป็นระบบและไม่สามารถเข้าถึงได้โดยง่าย เมื่อปรับปรุงกระบวนการ พบว่า สามารถจัดระเบียบกระบวนการเป็นแนวปฏิบัติเดียวกัน โดยกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นจนสิ้นสุดได้แน่นอนภายใน 45 วันทุกคำขอ โดยการใช้ระบบปฏิทินปฏิบัติงานขอตำแหน่งทางวิชาการประจำวัน ใช้ระบบ SAH Smart Tracking ติดตามความก้าวหน้า การพิจารณาเอกสารรายบุคคล ใช้ระบบผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษาในการจัดเตรียมผลงาน และสามารถเข้าถึงขั้นตอนกระบวนการขอตำแหน่งทางวิชาการโดยใช้ระบบออนไลน์ SAH Link Short Cut และจากการปรับปรุงกระบวนการใหม่ มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ สามารถใช้ได้จริงกับทุกคำขอที่มีการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ 2566
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบรายการเอกสารประกอบการสอนและสื่อการเรียนรู้ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
สุเมธ โอสถานนท์
Keyword:
การพัฒนาระบบ, เอกสารประกอบการสอน, สื่อการเรียนรู้
หน้า: 88 - 95
( Download: 335 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบรายการเอกสารประกอบการสอนและสื่อการเรียนรู้ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของระบบ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรสายวิชาการ ของสำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ จำนวน 18 คน ที่มีการส่งเอกสารประกอบการสอนและสื่อการเรียนรู้ของสำนักฯ ในรอบการประเมินที่ 1/2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) ระบบรายการเอกสารประกอบการสอนและสื่อการเรียนรู้ สำนักนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แบบประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบเว็บไซต์ที่ได้พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง สามารถช่วยในการบริหารจัดการเว็บไซต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถปรับข้อมูลรายการเอกสารประกอบการสอนและสื่อการเรียนรู้เป็นปัจจุบัน และมีความถูกต้อง ส่วนผลประเมินความพึงพอใจ ค่าเฉลี่ยที่มีต่อระบบเว็บไซต์มีค่าเท่ากับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความพึงพอใจด้านออกแบบระบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.74 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.63 ด้านการใช้งานระบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.67 และด้านข้อมูลของระบบเว็บไซต์มีค่าเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.73 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.64
Download
|
11 |
การปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมสำนักทะเบียนและประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
วงศ์วัฒน์ จรูญรักษ์
Keyword:
การปรับปรุง, ห้องประชุม, โสตทัศนูปกรณ์
หน้า: 96 - 105
( Download: 229 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุม ด้วยหลักการวงจรคุณภาพ PDCA และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุม โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย 2 กลุ่มคือ 1) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านโสตทัศนูปกรณ์ จำนวน 3 คน และ 2) บุคลากรสำนักทะเบียนและประมวลผล บุคลากรภายในสถาบันฯ และบุคลากรภายนอกสถาบันฯ ซึ่งเป็นผู้ใช้งานระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมสำนักทะเบียน และประมวลผล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง จำนวน 50 คนโดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง ผลการประเมินการปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมโดยผู้เชี่ยวชาญ เมื่อพิจารณาโดยรวมพบว่า มีความเหมาะสมในระดับดีมาก (Χ̅=4.67, S.D.=0.43) ส่วนรายด้านความสะดวกในการใช้งานมีความเหมาะสม ความเหมาะสมกับขนาดและลักษณะห้องประชุม ความเสถียรและความสามารถในการสื่อสารมีระดับมากที่สุด และความทันสมัยของเทคโนโลยีมีความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านความพึงพอใจที่มีต่อการปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ โดยผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านระบบภาพมีระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (Χ̅=4.57, S.D.=0.63) 2) ด้านระบบเสียงมีระดับความพึงพอใจโดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (Χ̅=4.58, S.D.=0.63) และ 3) ด้านการประชุมแบบออนไลน์มีระดับความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก (Χ̅=4.48, S.D.=0.66) จึงสามารถสรุปได้ว่าการปรับปรุงระบบโสตทัศนูปกรณ์ห้องประชุมมีความเหมาะสม สามารถแก้ปัญหาระบบภาพ ระบบเสียงและการประชุมออนไลน์ได้เป็นอย่างดี
Download
|
12 |
ความพึงพอใจการใช้ระบบการเรียนการสอนแบบออนไลน์ ด้วยโปรแกรม Webex/Zoom ของภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ณฤชา วิมลลักษณ์, รชะ ไทยประกอบ
Keyword:
การเรียนแบบออนไลน์, ความพึงพอใจ, โปรแกรม Webex, โปรแกรม Zoom
หน้า: 106 - 115
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการสอนออนไลน์ โดยใช้ Webex/Zoom และ 2) ความพึงพอใจของนักศึกษา อาจารย์ และ เจ้าหน้าที่รวมทั้งหมดจำนวน 42 คน ที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ ในการศึกษานี้จึงถูกจัดทำขึ้นเพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานและเปรียบเทียบความพึงพอใจหลังการใช้งานโปรแกรม สอนออนไลน์ การศึกษาครั้งนี้จะเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างของนักศึกษา อาจารย์ และ เจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในช่วงปี พ.ศ. 2565 โดยการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อโปรแกรมการเรียนการสอนออนไลน์ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการใช้งานโปรแกรม ผลการศึกษาพบว่าแต่ละกลุ่มวิจัยมีความพึงพอใจในการใช้งานและผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจระหว่างโปรแกรม Webex/Zoom มีความแตกต่างกัน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t – test จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า การใช้ระบบการเรียนการสอนออนไลน์นั้น มีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากในปัจจุบันสามารถเสริมศักยภาพการศึกษาให้แก่ นักศึกษา อาจารย์ และ เจ้าหน้าที่หลายด้าน เพื่อให้การใช้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Download
|
13 |
การพัฒนาระบบนิเวศดิจิทัลสำหรับบริหารจัดการงานวิจัย สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
กุลางกูร พัฒนเมธาดา
Keyword:
ระบบนิเวศดิจิทัล, การบริหารจัดการงานวิจัย, สถาปัตยกรรมไมโครเซอร์วิส
หน้า: 116 - 129
( Download: 221 ครั้ง )
|
Download
|
14 |
การสำรวจความเป็นเลิศในการวิจัย: การวิเคราะห์งานตีพิมพ์คุณภาพสูง ของมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูล SciVal พ.ศ. 2561-2565
ผู้แต่ง:
สุปรานี ลิ้มพวงแก้ว
Keyword:
ฐานข้อมูล SciVal, การวิเคราะห์, งานตีพิมพ์คุณภาพสูง, มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้า: 130 - 139
( Download: 236 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูล SciVal ปี พ.ศ. 2561-2565 ใช้วิธีการค้นหาและเก็บรวบรวมข้อมูลผลงานตีพิมพ์ในวารสารที่อยู่ในเปอร์เซ็นไทล์ที่ 1-100 (Top100%) แบ่งประเภทวารสารเป็น 3 ระดับ คือ วารสารระดับ Top1-10%, Top11-25% และ Top26-100% โดยวิเคราะห์ข้อมูลจำนวนผลงานตีพิมพ์ จำนวนการอ้างอิงต่อบทความ ค่า Field-Weighted Citation Impact (FWCI) รายชื่อวารสาร รายชื่อสถาบันที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล และสาขาวิชา ผลการศึกษาพบว่า ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหิดลจากฐานข้อมูล SciVal ปี พ.ศ.2561-2565 มีจำนวนทั้งสิ้น 17,397 บทความ โดยเป็นบทความที่ตีพิมพ์ในวารสาร Top1-10% จำนวน 3,721 บทความ มีจำนวนการอ้างอิงต่อบทความคือ 21.2 และค่า FWCI คือ 2.65 มีจำนวนการอ้างอิงต่อบทความของผลงานตีพิมพ์ที่ร่วมกับสถาบันต่างประเทศคือ 24.9 และผลงานตีพิมพ์ที่ร่วมกับสถาบันในประเทศคือ 11.0 โดยสถาบันต่างประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกันมากที่สุดคือ University of Oxford จำนวน 883 บทความ และสถาบันในประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกันมากที่สุดคือ Chulalongkorn University จำนวน 174 บทความ มีการตีพิมพ์สูงที่สุดในวารสาร Scientific Reports จำนวน 363 บทความ โดยเป็นการตีพิมพ์ในสาขา Medicine สูงถึง 2,021 บทความ และสาขา Nursing มีจำนวนการอ้างอิงต่อบทความ และค่า FWCI สูงที่สุด คือ 31.6 และ 3.98 สรุปผลการศึกษาพบว่าการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยมหิดลมีอัตราการเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการตีพิมพ์ผลงานในวารสารที่มีคุณภาพสูงและมีความร่วมมือกับสถาบันต่างประเทศจะทำให้ผลงานตีพิมพ์ได้รับการอ้างอิงเพิ่มมากขึ้น โดยข้อมูลดังกล่าวใช้เป็นข้อมูลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบการตัดสินใจ สามารถนำไปกำหนดนโยบาย และส่งเสริมสนับสนุนทิศทางการขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป
Download
|
15 |
การสร้างอินโฟกราฟิกส์ในงานบริการห้องสมุด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
จิณณพัต ชื่นชมน้อย
Keyword:
อินโฟกราฟิก, การบริการ, ความพึงพอใจ, ห้องสมุด
หน้า: 140 - 152
( Download: 303 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกำหนดหัวข้อเพื่อสร้างอินโฟกราฟิกส์สนับสนุนการบริการห้องสมุด และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่ออินโฟกราฟิกส์การให้บริการห้องสมุด คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยใช้แบบสอบถามปลายปิดและแบบประเมินความพึงพอใจเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง ซึ่งมีค่า IOC มากกว่า 0.5 ทุกข้อ และผ่านการหาค่าความเที่ยงด้วยวิธี Cronbach’s Alpha Coefficient พบว่ามีความเชื่อมั่นภาพรวม เท่ากับ 0.95 กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิต คณะศิลปศาสตร์และวิทยศาสตร์ จำนวน 98 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า องค์ประกอบของอินโฟกราฟิกส์ ได้แก่ ข้อมูล กราฟิก การออกแบบเป็นภาพนิ่งดูแล้วเข้าใจง่าย เนื้อหาน่าสนใจ และมีสุนทรียภาพเชิงศิลปะทั้งรูปร่างรูปทรง การสร้างอินโฟกราฟิกส์หัวข้อในการจัดทำที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้บริการ ได้แก่ 1) บริการยืมออนไลน์ 2) การสืบค้นทรัพยากรสารสนเทศ 3) การยืมต่อหนังสือด้วยตนเอง 4) การจองหนังสือที่มีผู้ยืมออก 5) บริการห้องสมุดออนไลน์ Hibrary 6) การสืบค้นฐานข้อมูล TDC (ThaiLIS Digital Collection) การประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่ออินโฟกราฟิกส์ พบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจ ด้านเนื้อหา อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.30, S.D. = 0.65) ด้านการออกแบบ อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.21, S.D. = 0.75) ด้านการใช้ประโยชน์ อยู่ในระดับมาก (Mean = 4.21, S.D. = 0.66) โดยภาพรวมทั้ง
3 ด้าน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (Mean = 4.24, S.D. = 0.68)
Download
|
16 |
ระบบสารสนเทศระหว่างโรงพยาบาล กับ ความยินยอมเพื่อรับการรักษา
ผู้แต่ง:
ศิริพร สิริสุวัณโณ, กาญจนา งามวงศ์
Keyword:
ความยินยอม, ข้อมูลส่วนบุคคล, ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
หน้า: 153 - 160
( Download: 188 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการให้ความยินยอมเปิดเผยข้อมูลประวัติการรักษาจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีความสำคัญในการวินิจฉัยโรคและให้การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลักการให้ความยินยอมทั่วไปเป็นการให้ความยินยอมภายในโรงพยาบาลที่ผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเท่านั้น กรณีผู้ป่วยเข้ารับการรักษามากกว่าหนึ่งโรงพยาบาล โรงพยาบาลจะไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลประวัติการรักษาให้โรงพยาบาลอื่นได้ ซึ่งหากผู้ป่วยยินยอมเปิดเผยข้อมูลประวัติการรักษาข้อมูลจะอยู่ในประเภทเอกสารหรือซีดี เนื่องจากแต่ละโรงพยาบาลมีระบบสารสนเทศที่แตกต่างกัน การประยุกต์ระบบสารสนเทศที่ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพประเทศไทย มาใช้ในการให้บริการระหว่าง คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก เพื่อสามารถแสดงผลข้อมูลประวัติการรักษาระหว่าง 3 โรงพยาบาล ได้มากขึ้น ผู้ป่วยสามารถให้ความยินยอมในรูปแบบออนไลน์ทันทีระหว่างพบแพทย์ การนำระบบเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพทั่วประเทศ ด้านการให้ความยินยอมให้แสดงข้อมูลประวัติการรักษาระหว่างโรงพยาบาลทั้งภาครัฐบาลและเอกชนทั่วประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ด้วยการพัฒนาระบบเชื่อมโยงข้อมูล 3 โรงพยาบาล เกิดประโยชน์ ได้แก่ (1) แพทย์ผู้ให้การรักษาสามารถเข้าถึงประวัติผู้ป่วยได้ง่าย มีข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน (2) ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยอย่างรวดเร็วไม่ต้องเลื่อนนัดพบแพทย์เพื่อกลับไปขอประวัติการรักษา (3) ลดค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยที่เกิดจากการส่งวินิจฉัยโรคซ้ำซ้อนกับประวัติเดิม (4) ลดระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางในการขอประวัติการรักษาของผู้ป่วย (5) สามารถดูผลเอกซเรย์ระหว่าง 3 โรงพยาบาลได้ทันทีที่พบแพทย์ อย่างไรก็ตามจากการนำระบบเชื่อมโยงข้อมูล 3 โรงพยาบาลมาใช้ พบว่า มีข้อจำกัดในส่วนของการให้ความยินยอมและการยืนยันตัวตนในบางกระบวนการวินิจฉัย
Download
|
17 |
ผลกระทบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ประภัสสร จรัสอรุณฉาย
Keyword:
นวัตกรรม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ความเชี่ยวชาญ, การคาดหวังผลลัพธ์
หน้า: 161 - 174
( Download: 452 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 113 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรอิสระ ที่ใช้ในการศึกษา คือ พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน ส่วนตัวแปรตามคือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน ผลการวิจัย พบว่า 1) ทั้งระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านของพนักงานสายสนับสนุน อยู่ในระดับมากและมีความแปรผันอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งกลุ่ม โดยมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (4.17) และ (4.31) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน พบว่า พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานในทุกด้านมีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานสายสนับสนุน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.452-0.633
Download
|
18 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาล่าช้า ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
ไพลิน วงศ์ไชย
Keyword:
การสำเร็จการศึกษาล่าช้า, ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษา, การสำเร็จการศึกษา
หน้า: 175 - 184
( Download: 249 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาล่าช้า ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งผู้วิจัยได้กำหนดประชากรเป้าหมาย คือ นิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ที่คาดว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยมีสถานะกำลังศึกษาในระหว่างปีการศึกษา 2565 จำนวน 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาผลงานวิจัย คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น (α) เท่ากับ 0.862 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) นำเสนอ วิธีการศึกษา (Methodology) ที่ใช้ในการวิจัยแบบเชิงบรรยาย/เชิงพรรณนา (Descriptive) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสำเร็จการศึกษาล่าช้า ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ระดับปริญญาตรี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean = 3.47) เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยด้านอื่น ๆ (Mean = 3.59) มีผลต่อการสำเร็จการศึกษาล่าช้ามากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจในปฏิทินการศึกษา/ระเบียบ/ข้อบังคับ/แนวปฏิบัติ/คู่มือนิสิต/การใช้งานระบบลงทะเบียน ของกองบริการการศึกษา (Mean = 3.47) ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนตัวของนิสิต (Mean = 3.43) ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ปัจจัยด้านผู้สอน/อาจารย์ที่ปรึกษา (Mean = 3.40)
Download
|
19 |
การคัดเลือกผู้ทดสอบสำหรับการทดสอบทางประสาทสัมผัสในผลิตภัณฑ์อาหาร
ผู้แต่ง:
นันธชา ไฝทอง, ก่องกาญจน์ กิจรุ่งโรจน์
Keyword:
การคัดเลือกผู้ทดสอบ, การทดสอบความถูกต้อง, การทดสอบจับคู่, การทดสอบการรับรู้สิ่งกระตุ้น
หน้า: 185 - 196
( Download: 910 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการคัดเลือกผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่าง (Sensory panel) และผู้ทดสอบสำหรับฝึกฝน (Panel for training) สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารของห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัส มีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบทั้งสิ้น 55 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 23-55 ปี อาสาสมัครผ่านการคัดลือกเบื้องต้นจากการตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลด้านสุขภาพ นิสัยการบริโภค คำถามด้านเนื้อสัมผัสและกลิ่นรส รวมทั้งการทดสอบตาบอดสี โดยทำการคัดเลือกผู้ที่ไม่มีภาวะของโรคหรือการใช้ยาที่มีผลต่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัส และไม่มีปัญหาด้านการมองเห็นสี มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พบว่า มีผู้ทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดสามารถจัดเป็นผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่างได้จำนวน 34 คน ประกอบด้วยเพศชาย 12 คน และเพศหญิง 22 คน จากนั้นทำการคัดเลือกผู้มีความสามารถด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ทดสอบความสามารถในการรับรู้รสชาติพื้นฐานทั้ง 4 รส การทดสอบการจับคู่กลิ่น และการทดสอบการรับรู้สิ่งกระตุ้นด้วยการทดสอบแบบสามเหลี่ยมของตัวอย่างอาหารที่มีกลิ่นรสและเนื้อสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถในการจัดลำดับของกลิ่นรส และเนื้อสัมผัส และการทดสอบความสามารถในการพรรณนา พบว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกที่สามารถเข้าร่วมโครงการฝึกฝนผู้ทดสอบต่อไปได้จำนวน 21 คน โดยเป็นเพศหญิง 12 คน และเพศชาย 9 คน ห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสของคณะอุตสาหกรรมเกษตรได้จัดทำฐานข้อมูลของผู้ทดสอบโดยแยกเป็นประเภทผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่าง (34 คน) และกลุ่มผู้ทดสอบสำหรับฝึกฝน (21 คน)
Download
|
20 |
การศึกษาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการให้บริการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก
ผู้แต่ง:
ณัฐภัค อิ่มเอิบ
Keyword:
วิเคราะห์สภาพปัญหา, ปรับปรุงกระบวนการ, ผังก้างปลา , การยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ
หน้า: 197 - 204
( Download: 286 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาในการกระบวนการให้บริการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการและหาแนวทางการปรับปรุงกระบวนการให้บริการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ โดยทำการวิเคราะห์ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ตั้งแต่ขั้นตอนการรับเอกสารจากอาจารย์ผู้มีความประสงค์ยื่นเอกสารมายังคณะ ไปจนถึงขั้นตอนการจัดส่งเอกสารเสนอชื่อผู้ทรงคุณวุฒิและเอกสารที่เกี่ยวข้อง จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ไปยังกองบริหารงานบุคคล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก โดยใช้ผังก้างปลา (fishbone diagram) ร่วมกับ Why-Why Analysis โดยกำหนดปัจจัยที่คาดว่าสามารถทำให้เกิดปัญหา ได้แก่ ปัจจัยจากผู้ปฏิบัติงาน ปัจจัยจากอาจารย์ผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่ง ปัจจัยจากกระบวนการ และปัจจัยจากกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการดำเนินงานให้รวดเร็วและถูกต้อง ผลการวิจัยพบว่า ขั้นตอนที่มีปัญหาคือ 1) ขั้นตอนการรับเอกสาร 2) การตรวจสอบคุณสมบัติ 3) การเตรียมเอกสารสำหรับการเสนอผู้ทรงคุณวุฒิ และ 4) การทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่า ปัจจัยที่เป็นสาเหตุหลักของปัญหาคือ ปัจจัยจากอาจารย์ผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่ง และปัจจัยจากผู้ปฏิบัติงาน โดยปัจจัยจากอาจารย์ผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่ง มีสาเหตุมาจากการไม่ทราบข้อมูล แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับการยื่นขอกำหนดตำแหน่ง และปัจจัยจากผู้ปฏิบัติงาน มีสาเหตุมาจากผู้ปฏิบัติงานไม่ได้แจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องเป็นระยะและขาดการกำกับติดตามเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแนวทางปรับปรุงกระบวนการการให้บริการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ 1) การแก้ไขปัญหาเข้าถึงข้อมูลของอาจารย์ผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการ สามารถแก้ปัญหาได้โดยมีการแจ้งแนวปฏิบัติและกำกับติดตามเป็นระยะ 2) การปฏิบัติงานของผู้ปฏิบัติงาน สามารถแก้ไขได้โดยผู้ปฏิบัติงานต้องมีการติดตามเอกสาร และกำหนดระยะเวลาดำเนินการให้ชัดเจน เพื่อประสานงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3) ผู้ปฏิบัติงานอาจจัดทำคู่มือการยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการเพื่อให้อาจารย์ผู้ยื่นขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการได้ปฏิบัติตามคู่มือ เพื่อลดปัญหาในการปฏิบัติงาน
Download
|
21 |
ประสิทธิภาพของคู่มือการจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบของการประกันคุณภาพ ตามเกณฑ์ AUN - QA คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปนิดา ดำรงสุสกุล, มัฮดี แวดราแม
Keyword:
การจัดเก็บข้อมูล, เกณฑ์ AUN–QA, เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน
หน้า: 205 - 214
( Download: 300 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของคู่มือการจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ AUN–QA กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคืออาจารย์ที่สังกัดคณะศึกษาศาสตร์ จำนวน 29 คน บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำรายงานประจำปี จำนวน 25 คน ที่สังกัดในหลักสูตรที่เปิดทำการเรียนการสอนของคณะศึกษาศาสตร์ และจัดทำรายงานประจำปีในปีในปีการศึกษา 2565 เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของคู่มือการจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ AUN–QA ค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ทุกข้อมีค่ามากกว่า 0.50 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.975 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความความแปรปรวน ผลการวิจัยพบว่า มีผู้ตอบแบบสอบถาม จำนวน 54 คน คู่มือมีประสิทธิภาพในระดับมากที่สุดทุกด้าน ได้แก่ ด้านรูปเล่มของคู่มือ (M = 4.56 , S.D. = 0.56) ด้านเนื้อหาของคู่มือ (M = 4.56 , S.D. = 0.55) และด้านการนำไปใช้ประโยชน์ (M = 4.57 , S.D. = 0.55) การเปรียบเทียบปัจจัยด้านเพศด้วยสถิติทดสอบที พบว่า เพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพของคู่มือการจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ AUN–QA ไม่แตกต่างกัน การเปรียบเทียบปัจจัยด้านอายุ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดทำรายงานระดับหลักสูตรตามเกณฑ์ AUN-QA ที่มีต่อการประเมินประสิทธิภาพของคู่มือการจัดเก็บข้อมูลตามองค์ประกอบของการประกันคุณภาพตามเกณฑ์ AUN–QA ด้วยการวิเคราะห์ความความแปรปรวน พบว่า ไม่แตกต่างกัน
Download
|
22 |
การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ผู้แต่ง:
ธีรเดช จันทามี
Keyword:
การพัฒนา, คู่มือการบริหารจัดการความเสี่ยง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
หน้า: 215 - 226
( Download: 772 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ อาจารย์ ผู้บริหาร 7 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงานและแบบประเมินความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง มีระบบและขั้นตอนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน มีตัวอย่างวิธีการระบุความเสี่ยง วิธีกำหนดปัจจัยความเสี่ยง และมีแผนผังการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของคู่มือผ่านเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนด (E181.83/E2 85.87) 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Download
|
23 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
24 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
25 |
ปกหลัง |