1 |
ปกวารสารวิชาการ ปขมท. ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 |
2 |
ปกหน้า-ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การวัดความคุ้มค่าและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ ระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (ALIST) กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วิไลลักษณ์ ไชยเสน
Keyword:
ความคุ้มค่า, ความพึงพอใจ , ห้องสมุด , ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ
หน้า: 1 - 9
( Download: 180 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคุ้มค่าและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย (ALIST) โดยการเปรียบเทียบข้อมูลของการจัดซื้อระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากต่างประเทศ พบว่าหลังจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ นำระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST มาใช้งานทดแทนระบบห้องสมุดอัตโนมัติจากต่างประเทศ สามารถประหยัดงบประมาณได้เป็นจำนวนเงิน 31,800,000 บาท ส่วนข้อมูลเรื่องความพึงพอใจในการใช้งาน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล เป็นบรรณารักษ์ และ ผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ภายในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ทั้ง 5 วิทยาเขต คือ วิทยาเขตหาดใหญ่ วิทยาเขตปัตตานี วิทยาเขตภูเก็ต วิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และวิทยาเขตตรัง จำนวน 84 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้บริการระบบห้องสมุดอัตโนมัติเพื่อสถาบันอุดมศึกษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน โดยความพึงพอใจในด้าน การให้บริการลูกค้า (Customer Support) มีผู้ตอบแบบสอบถามมากที่สุดเป็นจำนวน 80 คน ค่าเฉลี่ย 4.31 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.64 อย่างไรก็ตาม ในแต่ละด้านผู้ตอบแบบสอบถามได้ให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์แก่ผู้วิจัย เช่น ต้องการให้ปรับปรุงฟังก์ชันการจัดการข้อมูล Authority ให้มีความสะดวกมากยิ่งขึ้น เพิ่มการบริการตอบคำถามแบบ Online Help Desk System เป็นต้น ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลในการพัฒนาระบบห้องสมุดอัตโนมัติ ALIST ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Download
|
5 |
การวิเคราะห์ชนิดและปริมาณแคโรทีนอยด์ในเยื่อหุ้มเมล็ดผลสุกฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) ที่สภาวะการเก็บรักษาแตกต่างกัน
ผู้แต่ง:
จิราภรณ์ พิมพ์ภูมี, คมศร ลมไธสง
Keyword:
ฟักข้าว, แคโรทีนอยด์, เบต้าแคโรทีน, ไลโคปีน
หน้า: 10 - 16
( Download: 516 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวระยะสุกแก่ (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) ที่สภาวะการเก็บรักษาแตกต่างกัน คือ ที่อุณหภูมิ 4 ºC -20 ºC และ -70 ºC เป็นเวลา 5 วัน 10 วัน และ 15 วัน และเปรียบเทียบปริมาณของแคโรที-นอยด์ทั้งหมดในเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวที่ทำให้แห้ง ด้วยวิธีผึ่งให้แห้งด้วยลม และผึ่งให้แห้งด้วยแดดกลางแจ้ง เป็นเวลา 3 และ 5 วัน ทำการวิเคราะห์หาปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดโดยนำมาวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตรมิเตอร์ และวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของแคโรทีนอยด์ด้วยเทคนิค HPLC ผลการวิจัยพบว่า การเก็บรักษาเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน และการผึ่งให้แห้งด้วยลม จะมีปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดมากที่สุด เท่ากับ 4.232 ± 0.100 mg/g และ 2.910 ± 0.114 mg/g ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวมาวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของแคโรที-นอยด์ด้วยเทคนิค HPLC สามารถตรวจพบแคโรทีนอยด์ 2 ชนิด คือ เบต้าแคโรทีนและไลโคปีน ในปริมาณมากที่สุดเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน คือ 2.083 และ 0.701 mg/g ตามลำดับ และพบว่าการผึ่งให้แห้งด้วยลม สามารถตรวจพบเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน ในปริมาณมากที่สุดเช่นเดียวกัน คือ 0.637 และ 0.629 mg/g ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการเก็บรักษาเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวระยะสุกแก่ที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน และการผึ่งให้แห้งด้วยลม เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการเก็บรักษา
Download
|
6 |
การพยากรณ์จำนวนผู้รับบริการเครื่องแก๊สโครมาโทกราฟ-แมสสเปกโทรมิเตอร์ ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
สุดใจ ผุดผาด
Keyword:
การพยากรณ์, เทคนิคปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย, เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย
หน้า: 17 - 25
( Download: 262 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาแนวทางการพยากรณ์จำนวนผู้มารับบริการเครื่อง GC-MS ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563 โดยวิธีพยากรณ์แบบอนุกรมเวลา ใช้เทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย เทคนิคปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย เพื่อนำเสนอตัวแบบที่เหมาะสมกับข้อมูล เป็นแนวทางประกอบการตัดสินใจในการบริหารจัดการเครื่องมือ ของศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยงานวิจัยเริ่มต้นจากรวบรวมข้อมูลปริมาณผู้รับบริการ ในแต่ละปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ. 2550-2561 และวิเคราะห์ข้อมูล จากนั้นจึงหาแบบจำลองที่เหมาะสมกับข้อมูล ระหว่างเทคนิคค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่แบบง่าย และเทคนิคปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย พบว่าเทคนิคปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย ค่าปรับเรียบเท่ากับ 0 มีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดคือ ค่าเบี่ยงเบนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 9 ค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยเท่ากับ 166 และค่าเปอร์เซ็นต์ผิดพลาดเฉลี่ยสัมบูรณ์เท่ากับ 15.91 ซึ่งมีความแม่นยำของการพยากรณ์ อยู่ในระดับดี จากการพยากรณ์โดยเทคนิคปรับเรียบแบบเอกซ์โพเนนเชียลแบบง่าย คาดว่าจะมีผู้รับบริการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562-2563 อย่างน้อย 47 รายต่อปีงบประมาณ หลักการหรือแนวคิดนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพยากรณ์จำนวนผู้รับบริการ ตามวีธีที่เหมาะสมกับข้อมูลได้ในอนาคต
Download
|
7 |
สมบัติเชิงความร้อนและเชิงกลของเยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสมของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์กับซีโอไลต์ 4 เอ ที่กราฟต์ด้วยพอลิ (2-ไฮดรอกซีเอทิลเมทาคริเลต)
ผู้แต่ง:
กุณช์ธยาน์ ราชพลแสนวงศ์, สันติ คูณทรัพย์
Keyword:
พอลิ (2-ไฮดรอกซีเอทิลเมทาคริเลต) , พอลิไวนิลแอลกอฮอล์ , เยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสม , สมบัติเชิงความร้อน, ซีโอไลต์ 4 เอ, สมบัติเชิงกล
หน้า: 26 - 39
( Download: 192 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
เตรียมเยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสมของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) กับซีโอไลต์ 4 เอ ที่กราฟต์กับพอลิ 2-ไฮดรอกซีเอทิลเมทาคริเลต (PHEMA) โดยทำการเชื่อมขวาง PVA ด้วยกลูตารัลดิไฮด์ (GA) ทำการกราฟต์ PHEMA บนอนุภาคของซีโอไลต์พบว่า ที่ร้อยละของการกราฟต์ (%G) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปริมาณของ 2-2-ไฮดรอกซีเอทิลเมทาคริเลตมอนอเมอร์ (HEMA) เพิ่มขึ้นและมีค่าสูงสุดที่อัตราส่วนมอนอเมอร์ 40%โดยน้ำหนักการเกิดกราฟต์ของ PHEMA บนพื้นผิวอนุภาคซีโอไลต์สามารถยืนยันได้ด้วยเครื่องฟลูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟราเรด
สเปคโทรมิเตอร์ FT-IR ศึกษาการสลายตัวเชิงความร้อนด้วยเครื่องเทอร์โมกราวิเมทรี/ดิฟเฟอเรนเชียลเทอร์มอลอนาไลเซอร์(TG/DTA) พบว่าเกิดการสลายตัวของหมู่ไฮดรอกซิล (-OH) ของ PVA และไตรเมทรอกซีไวนิลไซเลนที่อุณหภูมิ 230 – 300 องศาเซลเซียส และการสลายตัวของสายโซ่หลักของพอลิเมอร์ที่อุณหภูมิ 350-530 องศาเซลเซียส ศึกษาสมบัติเชิงความร้อนของเยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสมด้วยเครื่องดิฟเฟอเรนเชียลสแกนนิงแคลอริมิเตอร์ (DSC) และเครื่องศึกษาสมบัติเชิงพลวัตของวัสดุ (DMA) พบว่า อุณหภูมิการเปลี่ยนสภาวะคล้ายแก้ว (Tg) มีค่าใกล้เคียงกับค่า Tg ของพอลิไวนิลแอลกอฮอล์ (PVA) ส่วนสมบัติเชิงกลของเยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสมพบว่าค่ามอดุลัสมีค่าเพิ่มขึ้นตามสัดส่วนของอนุภาคซีโอไลต์ที่กราฟต์ด้วยพอลิ 2-ไฮดรอกซีเอทิลเมทาคริเลต แต่ค่าการทนแรงดึงมีค่าลดลงเนื่องจากเกิดการเกาะกัน (Aggregate) ของอนุภาคซีโอไลต์ 4 เอที่กราฟต์บนเยื่อเลือกผ่านเมทริกซ์ผสมโดยศึกษาด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) และกล้องจุลทรรศน์แรงอะตอม (AFM) ค่าการบวมตัวมีค่าลดลงตามปริมาณซีโอไลต์ที่เพิ่มขึ้นในเยื่อเลือกผ่าน
Download
|
8 |
การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเบิก - จ่ายสวัสดิการกองทุนพนักงาน มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ดวงธิดา ชูมาลี
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, สวัสดิการกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัย
หน้า: 40 - 53
( Download: 349 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเบิก - จ่ายสวัสดิการกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเบิก-จ่ายสวัสดิการกองทุนพนักงานมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ตลอดจนให้ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลมาประกอบการวางแผนและตัดสินใจได้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเบิก - จ่ายสวัสดิการกองทุนพนักงานฯ ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิดตามวิธี SDLC และ OOP พัฒนาระบบในรูปแบบของ Web Application ด้วยภาษา C#.Net และใช้ Oracle ในการจัดการฐานข้อมูล รวมถึงแบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการเบิก - จ่ายสวัสดิการกองทุนพนักงานฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยงานวิจัยครั้งนี้พบว่า ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งในส่วนเจ้าหน้าที่กองคลัง/การเงิน ระดับมหาวิทยาลัย วิทยาเขต คณะ และผู้ใช้งานที่เป็นสมาชิกกองทุนพนักงานฯ อีกทั้งผู้บริหารยังนำข้อมูลจากระบบไปติดตามสถานะทางการเงินของกองทุน และวางแผนเพื่อจัดสรรสวัสดิการต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจากการสุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจำนวน 408 คน ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบเฉลี่ยรวม 4.09 ซึ่งอยู่ในระดับมาก และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.70
Download
|
9 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี ในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ภายใต้ระบบทีแคส (TCAS)
ผู้แต่ง:
สุริยันต์ บุญเลิศวรกุล, นงลักษณ์ เกตุบุตร
Keyword:
การตัดสินใจ, การยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษา, ระบบทีแคส
หน้า: 54 - 62
( Download: 196 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาภายใต้ระบบทีแคส และ 2) เพื่อศึกษาลักษณะการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์การเข้าศึกษาในระบบทีแคส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 6 หรือเทียบเท่าที่ผ่านการคัดเลือกและมีสิทธิ์เข้าศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง ประจำปีการศึกษา 2562 ในระบบทีแคส รอบที่ 1 ถึง รอบที่ 5 จำนวน 240 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาภายใต้ระบบทีแคสมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยด้านเป้าหมายและการประกอบอาชีพหลังสำเร็จการศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือด้านหลักสูตรและสถาบัน ด้านกระบวนการและบรรยากาศการสอบคัดเลือก ด้านความสนใจและเหตุผลส่วนตัว ด้านราคาและสภาพเศรษฐกิจ และ ด้านที่ตั้งและสภาพแวดล้อมทางกายภาพตามลำดับ 2) ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาจะมีลักษณะการตัดสินใจเลือกยันยันสิทธิ์เข้าศึกษาขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ คุณสมบัติ และ อัตราการแข่งขันที่แตกต่างออกไปในแต่ละรอบ โดยจะให้ความสำคัญในประเด็นหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการและความถนัดของตนเอง อันจะส่งผลต่อโอกาสในการเลือกประกอบอาชีพในอนาคตเป็นหลัก
Download
|
10 |
การผลิตโปรตีน recombinant Interferon -2b จากการเพาะเลี้ยง Escherichia coli BL21(DE3) ในระดับฟลาสก์
ผู้แต่ง:
ภารุจีร์ ภูมิไกล, นิพัทรา พรมมาอินทร์, อรชร ทองดอนง้าว, วันวิสาข์ ทองคำวิฑูรย์
Keyword:
E. coli BL21(DE3), ความหนาแน่นเซลล์, อินเตอร์เฟอรอน, inclusion body
หน้า: 63 - 71
( Download: 256 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
อินเตอร์เฟอรอนเป็นโปรตีนที่มีบทบาทสำคัญในการรักษาโรค โดยมีคุณสมบัติในการต่อต้านสิ่งแปลกปลอมที่เกิดขึ้นในร่างกาย เช่น ไวรัส ปรสิต หรือเซลล์มะเร็ง เป็นต้น งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการเพาะเลี้ยงเซลล์ Escherichia coli BL21(DE3) เพื่อผลิต recombinant Interferon a-2b (rIFN a-2b) ในระดับฟลาสก์ การศึกษาชนิดของอาหารที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเซลล์พบว่า การเพาะเลี้ยงในอาหาร Terrific Broth (TB) วัดความหนาแน่นเซลล์ (OD600) ได้ 9.18 ± 0.12 OD สูงกว่าการเลี้ยงเซลล์ในอาหาร Luria-Bertani (LB) ซึ่งวัดค่าได้เพียง 4.34 ± 0.06 OD เมื่อศึกษาวิธีการกระตุ้นเซลล์ที่เก็บรักษาที่อุณหภูมิต่ำ
(-80oC) พบว่าการกระตุ้นเซลล์ด้วยวิธีการเลี้ยงในอาหารเหลว TB ข้ามคืน เมื่อย้ายกล้าเชื้อมาเพาะเลี้ยงใน
ฟลาสก์อาหารใหม่ วัดความหนาแน่นเซลล์ได้สูงกว่าเชื้อที่ผ่านการกระตุ้นด้วยวิธีเลี้ยงในอาหารแข็ง TB เมื่อนำกล้าเชื้อที่เตรียมด้วยวิธีการที่เหมาะสมข้างต้น มาเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตและการผลิตโปรตีนของเซลล์ในระดับฟลาสก์ โดยเลี้ยงบนเครื่องเขย่าความเร็ว 200 rpm ที่อุณหภูมิ 37oC พบว่าเมื่อเพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เซลล์เจริญอยู่ในช่วง log phase เมื่อเหนี่ยวนำเซลล์ให้สร้างโปรตีนด้วยสารละลาย Isopropyl ß-d-1-thiogalactopyranoside เป็นเวลา 4 ชั่วโมง พบว่า E. coli BL21(DE3) สามารถผลิตโปรตีน rIFN a-2b ในรูปของ inclusion body คิดเป็น 118.13 ± 12.70 mg/L ผลการศึกษาที่ได้นำไปสู่การกำหนดวิธีเตรียมกล้าเชื้อและเกณฑ์การยอมรับสำหรับการเพาะเลี้ยงเซลล์ E. coli BL21(DE3) เพื่อผลิตโปรตีน rIFN a-2b ในถังหมักระดับปฏิบัติการต่อไป
Download
|
11 |
ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของใบและผลของมะระญี่ปุ่น (Momordica charantia L.)
ผู้แต่ง:
วัลลภา จิตตะชัย
Keyword:
มะระญี่ปุ่น, ช่วงอายุ, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
หน้า: 72 - 76
( Download: 238 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
มะระเป็นพืชที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ
ของมะระญี่ปุ่น (Momordica charantia L. var. Muricata) ที่ปลูกในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตชาชงสมุนไพรสำหรับต้านอนุมูลอิสระ โดยทำการศึกษาในใบ (ใบอ่อน ใบโตเต็มที่ และใบแก่) ผล (ผลอ่อนและผลแก่ดิบ) ผลการศึกษาแสดงเป็นร้อยละค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระที่เกิดจาก 2,2- diphenyl-1-picryl-hydrazyl (DPPH) ของสารสกัดในช่วง 0.02-20 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร พบว่าส่วนที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้แก่ ใบอ่อนซึ่งเป็นส่วนที่นับจากยอดบนสุดลงมาจนถึงใบที่หก แสดงค่าการยับยั้งอนุมูลอิสระร้อยละ 10.15-28.64 ดังนั้นใบอ่อน จึงเป็นวัตถุดิบที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการผลิตชาชงสมุนไพรสำหรับต้านอนุมูลอิสระ
Download
|
12 |
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพในการจัดระบบการประชุมคณะกรรมการประจำคณะและการประชุมผู้บริหาร โดยวิธีการเทียบเคียงสมรรถนะในกลุ่มคณะวิชาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แต่ง:
ธนากร โคธิเสน, วุฒิชัย ศรีโสดาพล
Keyword:
การประชุมคณะกรรมการประจำคณะ, การประชุมผู้บริหาร, การเทียบเคียง
หน้า: 77 - 88
( Download: 145 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติและกระบวนงานปัจจุบันในจัดการประชุมคณะกรรมการประจำคณะและการประชุม ผู้บริหาร ของคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2) เพื่อศึกษาแนวทางที่ดีที่สุดในการจัดประชุมคณะกรรมการประจำคณะและการประชุมผู้บริหารของคณะวิทยาศาสตร์จากการเทียบเคียงกับกระบวนการดำเนินงานของคณะวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง 33 คน คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จากประชากร คือ คณะกรรมการประจำ ผู้บริหาร และผู้อำนวยการ กองบริหารงานของคณะวิทยาศาสตร์และคณะวิชาในกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 39 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการแสดงความคิดเห็นตามประเด็นคำถามปลายเปิดจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับงานในการวิจัยนี้โดยตรง โดยใช้หลักสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เพื่อบรรยายข้อมูล ซึ่งลักษณะของแบบสอบถาม ใช้มาตราส่วนประมาณค่า ตามวิธีการของ ลิเคิร์ต (Likert Scale) แบ่งระดับในการวัดออกเป็น 5 ระดับ และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งวิเคราะห์ 1) ศึกษาข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของผู้ตอบแบบสอบถาม โดยการแจกแจงค่าความถี่ และหาค่าร้อยละ 2) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อหลักการของการประชุมที่มีประสิทธิภาพและสถานการณ์ในการทำงานปัจจุบัน เมื่อเปรียบเทียบกับหลักการของการประชุมที่มีประสิทธิภาพ โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการศึกษาพบว่า 1) ประเด็นสถานการณ์ในการทำงานปัจจุบันในการจัดการประชุม สรุปได้ดังนี้ 1.1) ระยะเวลาของการจัดประชุม มีความเหมาะสมและได้ข้อสรุปที่ดี 1.2) การกำหนดวัน เวลา และสถานที่นัดประชุม ถูกต้องชัดเจน 1.3) อุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการประชุมมีประสิทธิภาพและเหมาะสม 1.4) ผู้นำการประชุมสามารถปฏิบัติหน้าที่ และควบคุมการประชุมได้อย่างเหมาะสม 1.5) ที่ประชุมเปิดโอกาส ให้ผู้เข้าร่วมการประชุมแสดงความคิดเห็นได้อย่างเหมาะสม และ 2) ประเด็นแนวปฏิบัติที่ดี ที่นำไปสู่หลักการของการประชุมที่มีประสิทธิภาพ สรุปได้ดังนี้ 2.1) การประชุมที่ดีควรประหยัดเวลาและได้ผลสรุปที่ชัดเจน รวมถึงอุปกรณ์อำนวยความสะดวกมีประสิทธิภาพ 2.2) ผู้นำการประชุมที่ดี จะทำให้เกิดกระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ สรุปผลของข้อเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2.3) การประชุมที่ดีจะต้องเป็นการร่วมกันคิดวิเคราะห์หาทางแก้ไขปัญหา เพื่อประโยชน์ส่วนรวม 2.4) การประชุมเป็นสถานการณ์ที่จะนำไปสู่การสร้างผู้นำขึ้นมาอีก
Download
|
13 |
สถานภาพกองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผู้แต่ง:
กัลยา แซ่ลิ่ม
Keyword:
กองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, รายรับ, รายจ่าย
หน้า: 89 - 96
( Download: 129 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานภาพกองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ระหว่างปีงบประมาณ 2552-2556 วิเคราะห์ข้อมูลรายรับและรายจ่ายด้วยค่าร้อยละ แสดงในรูปของตารางและภาพประกอบการบรรยาย ผลการศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงต่อปีของรายรับกองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ไม่แน่นอนผันผวนขึ้นลงตามรายรับ อัตราการเปลี่ยนแปลงรายรับสูงสุดในปีงบประมาณ 2554 ติดลบถึงร้อยละ 29.55 ส่วนผลการศึกษาอัตราการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายต่อปีไม่แน่นอนเช่นกัน อัตราการเปลี่ยนแปลงรายจ่ายสูงสุดในปีงบประมาณ 2553 ถึงร้อยละ 388.55 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา เป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนมากถึงจำนวน 2,289,755 บาท บัญชีรายรับไม่สมดุลกับรายจ่าย รายจ่ายสูงกว่ารายรับตั้งแต่ปีงบประมาณ 2553 เมื่อพิจารณาดูรายละเอียด พบว่าเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับงานวิจัยและทุนการศึกษาบุคลากร เมื่อรวมค่าใช้จ่ายทั้งหมด 5 ปีย้อนหลังเป็นเงินทั้งสิ้นจำนวน 15,339,234.32 บาท พบว่าเกินกว่าครึ่งหนึ่งเป็นทุนสนับสนุนการศึกษาของบุคลากรคิดเป็นร้อยละ 54 ของรายจ่ายทั้งหมด ในอนาคตสถานภาพกองทุนวิจัยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์อาจมีความเสี่ยงด้านการเงิน
Download
|
14 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ |
15 |
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ |