1 |
ปกวารสารวิชาการ ปขมท. ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 |
2 |
ปกหน้า-ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปนิดา ดำรงสุสกุล, บุรินทร์ สหะวิริยะ, สมร ถือทอง, ปรียารัตน์ ตระกูลมณี
Keyword:
การประกันคุณภาพการศึกษา, การมีส่วนร่วมทัศนะของบุคลากร
หน้า: 1 - 12
( Download: 126 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา 2) ระดับของอุปสรรคด้านการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 3) ระดับทัศนะของบุคลากรต่อแนวทางการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาและ 4) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ที่ปฏิบัติงานอยู่ในปีการศึกษา 2557 รวมจำนวนทั้งสิ้น 125 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 5 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลสถานภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบวัดการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา ตอนที่ 3 แบบสอบถามอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา ตอนที่ 4 แบบวัดทัศนะของบุคลากรต่อแนวทางการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา และตอนที่ 5 ระบุข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มเป้าหมายเป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.70 มีอายุ 30-35 ปี การวัดการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมด้านการดำเนินงานในระดับมาก ( =3.52, S.D.=0.96) รองลงมา คือ ด้านการตรวจสอบผลการดำเนินงาน ( =3.45, S.D.=0.88) ด้านการวางแผน ( =3.37, S.D.=0.92) ด้านการปรับปรุง ( =3.32, S.D.=0.89) อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ ส่วนอุปสรรคต่อการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า ด้านบุคลากรมีอุปสรรคในระดับมาก ( =2.64,S.D.=1.01) รองลงมาคือ ด้านการบริหารจัดการ ( =2.61, S.D.=0.78) และด้านลักษณะองค์กร ( =2.25, S.D.=0.98) อยู่ในระดับ ปานกลาง ตามลำดับ สำหรับทัศนะของบุคลากรต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา พบว่า บุคลากรต้องการผลตอบแทนที่ไม่ใช่เงินอยู่ในระดับมาก ( =4.04, S.D.=1.01) รองลงมา คือ ด้านสวัสดิการ ( =4.03, S.D.=0.98) ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ( =3.84, S.D.=0.94) ด้านงานที่ได้รับมอบหมาย ( =3.67, S.D.=1.20) และด้านผลตอบแทนที่เป็นเงิน ( =3.61, S.D.=0.87) ตามลำดับ ส่วนข้อเสนอแนะทั่วไปพบว่า บุคลากรต้องการให้ผู้บริหารเข้ามามีบทบาทในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา และให้เกิดจากความรับผิดชอบของทุกฝ่ายร่วมกัน รวมถึงการให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างจริงจัง
Download
|
5 |
การสำรวจความพึงพอใจ และความคาดหวังต่อระบบการทำงาน และการให้บริการ ของงานสารบรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
นางสาวจีราภรณ์ พยัคมะเริง
Keyword:
ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, ระบบการทำงาน, การให้บริการ, งานสารบรรณ
หน้า: 13 - 23
( Download: 138 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจและความคาดหวังต่อระบบการทำงาน และการให้บริการของงานสารบรรณ คณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ในปี พ.ศ. 2562 ประกอบด้วย ผู้บริหาร อาจารย์สาขากายภาพบำบัด อาจารย์สาขาการส่งเสริมสุขภาพ และบุคลากรสายปฏิบัติการ จำนวน 51 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสำรวจ มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสำรวจออนไลน์ (Google form) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพึงพอใจต่อระบบการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านผลสำเร็จของงานบริการครบถ้วน ถูกต้อง และตรงตามความต้องการเป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านระยะเวลาการให้บริการ มีความรวดเร็ว ทันเวลา และด้านขั้นตอนการดำเนินงาน ตามลำดับ 2) ความพึงพอใจต่อการให้บริการของงานสารบรรณ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีความพึงพอใจด้านการให้บริการด้วยความสุภาพ เรียบร้อย เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านบุคลากรมีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน ด้านการให้คำแนะนำ หรือชี้แจงข้อมูลได้อย่างครบถ้วน ถูกต้อง และด้านการติดตามงานที่ได้รับมอบหมาย ตามลำดับ 3) ความคาดหวังต่อระบบการทำงาน พบว่า มีความคาดหวังด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว ทันเวลา เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการมีขั้นตอนการดำเนินงานที่ชัดเจน ด้านระบบการติดตามเรื่อง/หนังสือราชการ และด้านการมีระบบการติดตามงานที่ได้รับมอบหมาย ตามลำดับ 4) ความคาดหวังต่อการให้บริการของงานสารบรรณ พบว่า มีความคาดหวังด้านการติดต่อประสานงานได้ชัดเจนและรวดเร็ว เป็นอันดับแรก รองลงมา คือ ด้านการมีความชำนาญในหน้าที่ที่รับผิดชอบ ด้านความสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ด้านการให้บริการด้วยความสุภาพเรียบร้อย และด้านการให้มีการติดตามเรื่อง/หนังสือราชการ ตามลำดับ จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อระบบการทำงาน และการให้บริการของงานสารบรรณ ในระดับมากถึงมากที่สุดในทุกด้าน และมีความคาดหวังด้านการบริการด้วยความรวดเร็ว ทันเวลา และสามารถติดต่อประสานงานได้ชัดเจนและรวดเร็ว ซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะช่วยพัฒนาระบบงานสารบรรณต่อไป
Download
|
6 |
การพัฒนาระบบสารสนเทศในการรายงานผลการพัฒนาตนเอง ของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
ธัญญ์ชนาธร ธัญญ์ชัญญาธารก์
Keyword:
การบริหารทรัพยากรมนุษย์, ระบบสารสนเทศ, รายงานการพัฒนาตนเอง
หน้า: 24 - 33
( Download: 159 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศในการรายงานผลการพัฒนาตนเองของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 2) เพื่อศึกษาผลการใช้ระบบสารสนเทศในการรายงานการพัฒนาตนเองของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบสารสนเทศในการรายงานผลการพัฒนาตนเองของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิดตามวิธี SDLC และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 67.86 ของประชากรทั้งหมด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ในการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้วิจัยได้ร่วมกับผู้พัฒนาระบบโดยเป็นการพัฒนาระบบผ่าน web application โดยใช้ PHP ร่วมกับ HTML CSS และ Jquery เป็นภาษาในการพัฒนาระบบ ใช้ฐานข้อมูล MariaDB 10.1 และใช้ Apache ทำหน้าที่เป็น web server 2) ผลการใช้ระบบ บุคลากรมีความเห็นว่าเป็นระบบที่สามารถนำมาใช้งานได้จริงในองค์กร มีเมนูที่ใช้ในโปรแกรมเข้าใจง่าย รายการเมนูมีความเหมาะสม การออกแบบทางจอภาพมีความเป็นสัดส่วน ตลอดจนรูปแบบในการนำเสนอข้อมูลไม่ซับซ้อน ผู้ใช้งานมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาระบบ เฉลี่ยรวม 3.78 ซึ่งอยู่ในระดับมาก ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.51 ข้อเสนอแนะจากงานวิจัย คือ ระบบสามารถนำมาพัฒนาเพื่อใช้ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยพะเยา เนื่องจากการออกแบบระบบสร้างข้อมูลให้สามารถรายงานผลมีรูปแบบที่กำหนดตามประกาศของมหาวิทยาลัย สามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาด้านการพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้จำเป็นจะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาระบบอย่างต่อเนื่อง
Download
|
7 |
เครื่องไทเทรตอัตโนมัติโดยใช้ตัวตรวจวัดแสง
ผู้แต่ง:
นายสัตยา บุญรัตนชู, นางสาวทรงสุดา พรหมทอง
Keyword:
เครื่องไทเทรตด้วยตัวตรวจวัดแสง, เครื่องไทเทรตอัตโนมัติ
หน้า: 34 - 44
( Download: 180 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาการพัฒนาเครื่องไทเทรตอัตโนมัติโดยอาศัยสัญญาณจากตัวตรวจวัดแสงแบบ RGB (Red Green Blue) มาคำนวณหาจุดยุติจากการเปลี่ยนสีของอินดิเคเตอร์ โดยการตรวจวัดแสงนั้นอาจจะเป็นสีแดง สีเขียว สีน้ำเงิน หรือทั้งสามสีขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตัวอย่างที่แตกต่างกัน สัญญาณแสงสีที่ตรวจวัดได้ จะถูกนำมาวาดกราฟเทียบกับปริมาณของสารไทเทรตที่ใช้ไป ข้อมูลเส้นกราฟที่ได้นี้จะใช้สำหรับคำนวณหาจุดยุติที่แม่นยำต่อไป เครื่องไทเทรตอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้นใช้ไซริงจ์ปั๊ม (Syringe Pump) ที่มีความแม่นยำสูงในการควบคุมปริมาตรของสารไทเทรต นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังแสดงผลการเปรียบเทียบการใช้เครื่องไทเทรตอัตโนมัติกับวิธีการไทเทรตมือซึ่งดูจุดยุติด้วยตา ในการหาปริมาณค่าไอโอดีนในน้ำมันปาล์ม โดยการเปรียบเทียบด้วย t-Test พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างทั้งสองวิธีที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และความแม่นยำแสดงด้วยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ พบว่าผลที่ได้จากเครื่องไทเทรตอัตโนมัติที่พัฒนาขึ้น มี ความแม่นยำกว่าวิธีการไทเทรตมือเล็กน้อย (RSD = 1.54% ที่ n = 10) และเมื่อเปรียบเทียบผลทดสอบสำหรับค่าไอโอดีนในน้ำมันปาล์มระหว่างห้องปฏิบัติการกับเครื่องไทเทรตอัตโนมัติประเมินผลด้วยค่า Z-score พบว่า ให้ค่าเท่ากับ 0.84 ซึ่งค่า Z-score น้อยกว่า 2 แสดงว่าให้ผลเป็นที่น่าพอใจ นอกจากนี้เครื่องไทเทรตอัตโนมัติโดยใช้ ตัวตรวจวัดแสงแบบ RGB ยังเป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจวิเคราะห์ที่สามารถสร้างได้ในราคาไม่แพง สามารถใช้แทนเครื่องมือสำหรับการตรวจวิเคราะห์ด้วยวิธีไทเทรตได้ และช่วยแก้ปัญหาการดูจุดยุติด้วยตาของการไทเทรตมือ อีกทั้งช่วยลดความเสี่ยงในการสัมผัสและสูดดมสารเคมีซึ่งเป็นอันตรายแก่ผู้ทดสอบอีกด้วย
Download
|
8 |
หลักคิดเบื้องต้นสำหรับการเขียนเอกสารโครงการในสถาบันอุดมศึกษา
ผู้แต่ง:
อิทธิพร ขำประเสริฐ
Keyword:
การเขียนโครงการ, หลักการ
หน้า: 45 - 56
( Download: 117 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ก่อนที่ผู้รับผิดชอบโครงการของหลักสูตร คณะวิชา และฝ่ายสนับสนุนวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาจะลงมือเขียนเอกสารโครงการเพื่อเสนอต่อผู้บริหารพิจารณาอนุมัตินั้น มีหลักคิดสำคัญ 3 ประการที่ควรคำนึงถึง ได้แก่ 1) การพิจารณาความเชื่อมโยงกันของทุกประเด็นในหัวข้อที่เขียน 2) โครงการปิดลงแต่ในทางปฏิบัติยังต้องทำต่อไป และ 3) การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า/ความยืดหยุ่นในการปฎิบัติงานตามโครงการ นอกจากนี้เพื่อทำให้โครงการที่จะนำเสนอมีทิศทางการดำเนินงานที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นและเห็นผลในทางปฏิบัติ ผู้รับผิดชอบโครงการต้องย้อนกลับไปดูกลยุทธ์ เป้าประสงค์ ตัวชี้วัด และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม งบประมาณในแผนพัฒนาของคณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และสถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดไว้ รวมทั้งสามารถตอบคำถามหลัก ๆ ในการทำโครงการได้
Download
|
9 |
การพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยโดยใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากร มหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง:
เลขา กบิลสิงห์, วรรณดี สุทธิศักดิ์, พรทิพย์ พงษ์สวัสดิ์
Keyword:
ระบบฐานข้อมูล, ระบบสารสนเทศ, งานวิจัย
หน้า: 57 - 67
( Download: 185 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาระบบฐานข้อมูลงานวิจัยโดยใช้ระบบสารสนเทศของบุคลากรมหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม ใช้กรอบการพัฒนาตามทฤษฎีวงจรการพัฒนาระบบเป็นแนวทางในการวิจัย จากการศึกษาพบว่า ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยใช้ภาษาพีเอชร่วมกับฐานข้อมูลมายเอสคิวแอลเป็นหลักในการพัฒนา โดยกำหนดสิทธิผู้ใช้งานแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ผู้ใช้ ในสังกัดคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และผู้ดูแลระบบ คือ ฝ่ายวิจัยของมหาวิทยาลัย จากการประเมินผลระบบฐานข้อมูลงานวิจัย พบว่า 1) ความเหมาะสมของระบบที่พัฒนาขึ้นซึ่งประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาระบบสารสนเทศ จำนวน 5 คน ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.54, S.D=0.506) โดยเฉพาะด้านความถูกต้องของระบบ และความสามารถทำงานตรงตามความต้องการ 2) ความพึงพอใจจากการทดสอบการใช้ระบบโดยบุคลากรในสังกัดคณะวิชาและฝ่ายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 61 คน ในภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( =3.97, S.D=0.542) ทั้งในด้านการใช้งาน การติดต่อกับผู้ใช้งาน เนื้อหา และการออกแบบระบบ ดังนั้น ระบบฐานข้อมูลงานวิจัยที่พัฒนาขึ้นทำให้เห็นภาพรวมงานวิจัยของมหาวิทยาลัย อย่างเป็นระบบ จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่ทุกหลักสูตร คณะวิชา ฝ่ายสนับสนุนวิชาการ และมหาวิทยาลัย เพื่อนำไปใช้ในการวางแผน วิเคราะห์ ติดตามและประเมินผลการพัฒนางานด้านวิจัย รวมทั้งส่งเสริมการทำวิจัยให้เกิดประสิทธิผลต่อไป
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบบริหารจัดการ มคอ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
มงคล กันทะป้อ
Keyword:
ระบบบริหารจัดการ, มคอ. , การพัฒนาระบบ
หน้า: 68 - 79
( Download: 189 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบบริหารจัดการ มคอ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการ มคอ. 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการ มคอ. การพัฒนาระบบได้ดำเนินการตามวงจรการพัฒนาระบบ 5 ขั้นตอน คือ 1) วางแผนโครงการ 2) วิเคราะห์ระบบ 3) ออกแบบระบบ 4) นำไปใช้ 5) การบำรุงรักษาในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการ มคอ. ในภาคเรียนที่ 2/2561 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) ระบบบริหารจัดการ มคอ. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 2) แบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 3) แบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจจากผู้ใช้งาน ผลการวิจัยพบว่า ระบบบริหารจัดการ มคอ. ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเดิมได้เป็นอย่างดี ทั้งในเรื่องการซ้ำซ้อนของข้อมูล การติดตามการส่ง มคอ. ของอาจารย์ผู้สอน การออกรายงานสำหรับผู้บริหารเพื่อใช้ในการบริหารจัดการภายในคณะ และการรองรับกับเกณฑ์การประเมินคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ในด้านประสิทธิภาพของระบบ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ มีความเห็นว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.70 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.456 เมื่อพิจารณาในรายด้าน พบว่า ด้านฟังก์ชันการใช้งานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.88 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.144 ด้านการใช้งานมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.78 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.263 ด้านความปลอดภัยของระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.962 ในส่วนของผู้ใช้งานมีความคิดเห็นว่าระบบมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.46 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.637 และมีความพึงพอใจในการใช้งานระบบอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.720
Download
|
11 |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง:
เวธกา กลิ่นวิชิต, พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
Keyword:
คุณภาพชีวิต, สุขภาพพอเพียง, วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ
หน้า: 80 - 93
( Download: 432 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลและศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสถานการณ์และสภาพปัญหา กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 334 คน ประชากร 645,353 คน และผู้ดูแล 334 คน ประชากร 4,098,487 คน ในพื้นที่ภาคตะวันออก เครื่องมือของกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิตและแบบประเมินศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลใช้แบบประเมินศักยภาพการดูแล ประกอบด้วยแบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และแบบประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่าง มีเกณฑ์คัดเลือก ได้ผู้สูงอายุและผู้ดูแล กลุ่มละ 50 คน ใช้วิธีสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลโดยผู้ใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเดียวกับขั้นตอนที่ 2 ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี ด้านร่างกาย จิตใจและสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี ศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุค่อนข้างเหมาะสม ผู้ดูแลรับรู้ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุระดับปานกลาง ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคข้อ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง รูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ใช้แผนภาพ “บ้าน” มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนหน้าจั่วของบ้านยึดเหนี่ยวและนำทาง ตัวบ้าน คือ ความรู้ คู่คุณธรรม ผู้สูงอายุ คือ ผู้อยู่อาศัยในบ้าน ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้สูงอายุและผู้ดูแล มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด
Download
|
12 |
ระบบจัดการการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายแบบออนไลน์
ผู้แต่ง:
นารีจุติ ศรีแสงฉาย, ษมาภรณ์ อินชำนาญ
Keyword:
ระบบการแข่งขัน, เทคโนโลยีคลาวด์, เอ็กเซลขั้นสูง
หน้า: 94 - 106
( Download: 192 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลพัฒนาอย่างรวดเร็ว (Digital Disruption) ผนวกกับนโยบายของรัฐบาลยุค Thailand 4.0 คณะผู้ศึกษา ได้เห็นความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาช่วยบริหารจัดการในการทำงาน ได้พัฒนาระบบจัดการการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายแบบออนไลน์ด้วยการนำเทคโนโลยีการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (Cloud Computing) ผ่านเว็บบราวเซอร์ เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน ช่วยประหยัดเวลา งบประมาณ จำนวนทรัพยากรบุคคล กระดาษ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขัน ลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ไม่ต้องดูแลระบบ และลดต้นทุนในการพัฒนาระบบสารสนเทศ ซึ่งระบบนี้สามารถเข้าถึงระบบได้จากทุกที่ ทุกเวลา ทุกอุปกรณ์ และสามารถแบ่งปันในการทำงานร่วมกัน โดยผู้ควบคุมทีมสามารถเข้าตรวจสอบคะแนนรายข้อ ผลรวมคะแนน รอบคัดเลือก) ผลรวมคะแนนรอบตัดสิน สรุปผลคะแนนเรียงตามคะแนน และสรุปผลรางวัล ผ่านระบบการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายได้แบบทันที (Real Time) ซึ่งหากเกิดข้อสงสัยในคะแนน สามารถโต้แย้งผลคะแนนได้ทันที ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง แบ่งเป็น ผู้ควบคุมทีม และนักเรียนที่เข้าร่วมแข่งขัน จำนวน 92 คน มีความพึงพอใจกับระบบจัดการการแข่งขันตอบปัญหากฎหมายแบบออนไลน์ ระดับค่าเฉลี่ย ( ) 4.17 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) 0.94 อยู่ในเกณฑ์ดี ทั้งนี้ ช่วยลดเวลาในการประมวลผล มีอัตราการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 80 ประหยัดเวลาได้ถึง 5 เท่า ลดความผิดพลาดในการคำนวณ และลดจำนวนบุคลากรฝ่ายกรอกคะแนนและประมวลผลกับฝ่ายตรวจสอบความถูกต้อง มีอัตราการลดลงอยู่ที่ร้อยละ 45
Download
|
13 |
การเข้าถึงการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ในภาควิชาวิทยาศาสตร์การอาหาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
ลลิต ขำวงษ์รัตนโยธิน
Keyword:
การเข้าถึง, การให้บริการ, เครื่องมือวิทยาศาสตร์
หน้า: 107 - 116
( Download: 226 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงการให้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ปัญหา อุปสรรคที่พบจากการใช้เครื่องมือและข้อเสนอแนะเพื่อใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา การให้บริการเครื่องมือให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ขอรับบริการเพิ่มขึ้นได้ ผลการวิจัยพบว่า ระยะเวลาการจองใช้งานเครื่องมือล่วงหน้า 1-7 วันก่อนวันใช้งานที่กำหนดไว้มีความเหมาะสมที่สุด ชนิดของเครื่องมือที่มีการขอใช้งานส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์พื้นฐาน และความเหมาะสมของจำนวนเครื่องมือที่ให้บริการนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้งาน ในส่วนของการให้บริการจากนักวิทยาศาสตร์ที่ดูแลเครื่องมือ พบว่า ต้องการให้มีการจัดอบรมการใช้งานเครื่องมือและมีความพึงพอใจต่อการแสดงขั้นตอนการใช้งาน การอธิบายวิธีการใช้งาน การอธิบายผล การทดสอบที่ได้ การแก้ไขปัญหาและให้คำแนะนำในการใช้งาน และมีความพึงพอใจโดยรวมจากการขอรับบริการเครื่องมือทั้งหมดส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก โดยมีปัญหา อุปสรรคที่พบจากการใช้เครื่องมือ ได้แก่ เครื่องมือมีจำนวนไม่เพียงพอ ระบบไฟฟ้าอาคารที่ไม่เสถียร สถานที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน เครื่องมือชำรุดรอซ่อมแซม เครื่องมือชำรุดขณะใช้งาน ให้ผลการทดสอบที่ไม่น่าเชื่อถือ ไม่มีเครื่องมือที่ต้องการใช้งาน ไม่สามารถจองใช้งานได้ และเครื่องมือมีขั้นตอนการใช้งานที่ซับซ้อน ต้องแปลผลเพิ่มเติม จึงให้ข้อเสนอแนะว่าควรมีการปรับปรุงการให้บริการเครื่องมือ ได้แก่ การจัดซื้อตามความเหมาะสม จัดอบรมการใช้งานเครื่องมือ ดูแล บำรุงรักษาตรวจเช็คประสิทธิภาพของเครื่องมือเป็นประจำ ปรับปรุงระบบไฟฟ้าอาคาร มีกระบวนการหรือข้อตกลงร่วมในการขอใช้งานระหว่างหน่วยงาน พัฒนาห้องปฏิบัติการให้ได้มาตรฐาน และจัดทำระบบออนไลน์ในการให้บริการเครื่องมือ
Download
|
14 |
การศึกษาคะแนนจุดตัดของรายวิชา 388 – 471 เวชศาสตร์ผู้ป่วยนอก ด้านจักษุโสต ศอ นาสิกวิทยา 1 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
อรวรรณ สุวรรณรัตน์, พนิดา เพชรปาน , เพ็นนี สิงหะ
Keyword:
คะแนนจุดตัด, ทฤษฎีการตัดสินใจ, ค่าความไว, ค่าจําเพาะ
หน้า: 117 - 124
( Download: 156 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคะแนนจุดตัดที่เหมาะสมสำหรับรายวิชา388–471 เวชศาสตร์ผู้ป่วยนอกด้านจักษุ โสต ศอ นาสิกวิทยา 1 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2552–2556 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งหมด 662 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ตามเกณฑ์แพทยสภา เนื้อหาทางจักษุวิทยาประกอบด้วยข้อสอบปรนัยเลือกตอบ (Multiple Choice Question, MCQ) จำนวน 40 ข้อคิดเป็นร้อยละ 30 ของคะแนนทั้งหมดในรายวิชาและอัตนัยบรรยายอย่างสั้น ๆ (Key Feature, KF) จำนวน 6 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 20 ของคะแนนทั้งหมดในรายวิชา ส่วนอีก 50% เป็นคะแนนในเนื้อหาทางโสต ศอ นาสิกวิทยา ซึ่งไม่ได้นำมาคิดในงานวิจัยครั้งนี้ ทฤษฎีที่ใช้ คือ ทฤษฎีการตัดสินใจของแกลสในการหาค่าคะแนนจุดตัด พิจารณาจากค่า f(Cx) ที่มีค่าน้อยที่สุด สำหรับเกณฑ์ภายนอกที่พิจารณาใช้เกรดเฉลี่ยสะสมของนักศึกษาในชั้นปีที่ 3 ภาคเรียน 2 เป็นเกณฑ์ภายนอก โดยกำหนดเกณฑ์ผ่าน คือ 3.00, 3.25 และ 3.50 ตามลำดับเมื่อได้คะแนนจุดตัดของทุกปีแล้วจะนำมาคำนวณค่าเฉลี่ยเพื่อตรวจสอบความเหมาะสมของคะแนนจุดตัดด้วยค่าความไว (Sensitivity, SN) และค่าจำเพาะ(Specificity, SP) โดยกำหนดค่ามาตรฐานที่ดีที่สุด (Gold Standard) เท่ากับ 55 และ 50 สำหรับข้อสอบแบบ MCQ และ KF ตามลำดับ ในการเลือกคะแนนจุดตัดที่เหมาะสม ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับผู้ไม่ผ่านเกณฑ์เป็นสำคัญ นั่นคือจะพิจารณาจากค่า max(SP) ก่อนแล้วจึงค่อยพิจารณาค่า max(SN) เพียงกรณีเดียวเท่านั้น โดยที่ค่า SP และ SN ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ผลการศึกษาพบว่าจากเกณฑ์ผ่านที่กำหนดทำให้ได้ค่าเฉลี่ยคะแนนจุดตัดสำหรับข้อสอบแบบ MCQ เท่ากับ 47.2, 54.5และ 67.3 คะแนน ตามลำดับส่วนข้อสอบแบบ KF มีค่าเฉลี่ยคะแนนจุดตัดเท่ากับ 47, 57.7 และ 70 คะแนน ตามลำดับ เมื่อนำค่าเฉลี่ยคะแนนจุดตัดมาเป็น Cutoff point โดยกำหนดค่า Gold Standard เท่ากับ 55 และ 50 สำหรับข้อสอบแบบ MCQ และ KF ตามลำดับ ซึ่งพบว่า คะแนนจุดตัดที่เหมาะสมของข้อสอบแบบ MCQ เท่ากับ 54.5 คะแนน มีค่าจำเพาะร้อยละ 100 และค่าความไวร้อยละ 100 ส่วนคะแนนจุดตัดที่เหมาะสมของข้อสอบแบบ KF เท่ากับ 47 คะแนนค่าจำเพาะร้อยละ 100 และค่าความไวร้อยละ 71 ซึ่งผลที่ได้ทั้ง 2 กรณี มีความเหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด จึงมีเหตุผลเพียงพอที่จะนำไปใช้เป็นคะแนนจุดตัดที่เหมาะสมในการตัดเกรดของรายวิชานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Download
|
15 |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
ผู้แต่ง:
พรรณพนัช จันหา, สมเกียรติ ไทยปรีชา, กิตติพจน์ เพิ่มพูล, ศุภชัย เหมือนโพธิ์
Keyword:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาตรี
หน้า: 125 - 140
( Download: 197 ครั้ง )
|
Download
|
16 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
สุมาลี ทองดี
Keyword:
การทำงาน, ความสุข, ปัจจัยแห่งความสุข, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 141 - 155
( Download: 223 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานกับความสุขในการทำงานของบุคลากร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากร คือ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ จำนวน 93 คน วิธีการเก็บข้อมูลใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Independent Samples t-test, F-test, One-Way ANOVA, Least Significant Difference และ Pearson Correlation Coefficient ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 41 - 50 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาระดับปริญญาโท รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ระยะเวลาการทำงาน มากกว่า 10 ปี - 15 ปี ปฏิบัติงานสายคณาจารย์ เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ บุคลากรมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อความสุขในการทำงานโดยรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.02 (S.D. = 0.57) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขในการทำงาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.82 (S.D. = 0.76) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากทั้ง 3 ด้าน และพบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่ได้รับ ระยะเวลาทำงานฯ สายงานที่ปฏิบัติ ประเภทบุคลากรที่แตกต่างกันมีผลต่อความสุขในการทำงานไม่แตกต่างกัน ส่วนสถานภาพ ที่แตกต่างกันมีผลต่อความสุขในการทำงานแตกต่างกัน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสุขในการทำงาน ได้แก่ ด้านการติดต่อสัมพันธ์ ความรักในงาน ด้านความสำเร็จในงาน และด้านการเป็นที่ยอมรับ มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับความสุขในการทำงาน
Download
|
17 |
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สถานบริการวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
สุภาพรรณ เอกอุฬารพันธ์
Keyword:
ความคุ้มค่า, เครื่องมือวิทยาศาสตร์
หน้า: 156 - 162
( Download: 528 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สถานบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2560 โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์จากแบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และคำนวณสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในด้านการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับบุคคล มีความประหยัดงบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ผลการวิจัย พบว่า เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีให้บริการจำนวน 144 รายการ มีการใช้บริการจริง จำนวน 116 รายการ คิดเป็นร้อยละ 80.56 โดยมีอัตราเฉลี่ยผู้ใช้บริการ 9 คนต่อรายการ และเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอายุการใช้งานเกินเกณฑ์ 5 ปี ร้อยละ 88.79 นอกจากนี้ยังพบว่าห้องปฏิบัติการเลี้ยงเซลล์มีการใช้บริการมากที่สุด แสดงถึงความคุ้มค่าด้านการจัดห้องปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์เฉพาะและมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานระดับบุคคล และพบว่า ตู้แช่แข็ง -80 องศาเซลเซียส เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้บริการคุ้มค่าที่สุด มีอายุการใช้งานนาน 12 ปี ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยของนิสิตและบุคลากรทุกภาควิชาของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใช้งบประมาณการจัดซื้อและซ่อมบำรุงอัตราเฉลี่ยที่ 2,461.06 บาทต่อคน ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางการตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อและซ่อมบำรุงเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการหาแนวทางในการส่งเสริมการใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ยังมีการใช้บริการน้อยต่อไป
Download
|
18 |
การให้บริการศึกษาดูงานของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ผู้แต่ง:
ธจุฑา พงษ์ภิญโญ, ภัทรพงษ์ มกรเวส, เบญจมาศ แสนแสง
Keyword:
คุณภาพการให้บริการ, การศึกษาดูงาน, ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
หน้า: 163 - 174
( Download: 188 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาด้านบุคลากรให้บริการ ด้านระบบปฏิบัติงานการให้บริการ ด้านเครื่องมือและอาคารสถานที่ในการให้บริการ เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงพัฒนาและข้อเสนอแนะใน การให้บริการศึกษาดูงานของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ใช้แนวคิดคุณภาพการให้บริการ และแนวคิดการศึกษาดูงาน วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 100 คน เป็นผู้ศึกษาดูงานของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ปีงบประมาณ 2562 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาเป็นแบบสอบถามแบบปลายปิดและปลายเปิด แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนที่ 2 แบบบันทึกข้อมูลความคิดเห็นด้านต่าง ๆ และส่วนที่ 3 แบบบันทึกข้อมูลความคิดเห็นที่เป็นแนวทางและข้อเสนอแนะอื่น ๆ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ด้านบุคลากรที่ให้บริการ พบว่า มีการทักทาย สร้างสัมพันธภาพในช่วงเริ่มต้น ในระดับมากที่สุด ( =4.89) รองลงมา คือ ผู้ให้ความรู้ มีความรู้เฉพาะด้าน ( =4.81) ด้านระบบปฏิบัติงาน พบว่า มีการจัดลำดับความสำคัญก่อน-หลังที่ชัดเจน ในระดับมากที่สุด ( =4.69) รองลงมา คือ มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ( =4.48) ด้านเครื่องมือและอาคารสถานที่ในการให้บริการ พบว่า มีระบบระบายอากาศ ควบคุมความเย็น ความร้อน ตามมาตรฐาน ในระดับมากที่สุด ( =4.81) รองลงมา คือ มีเครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ อุปกรณ์ ที่มีคุณลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานวิชาชีพ ( =4.80) ผลรวมการให้บริการศึกษาดูงาน โดยเฉลี่ยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.55) จากผลการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า กลุ่มเป้าหมายมีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด สิ่งที่ประทับใจมากที่สุด คือ บุคลากรสามารถอธิบายข้อมูลต่าง ๆ ได้ชัดเจน ถ่ายทอดความรู้ได้ดี ทำให้ผู้ศึกษา ดูงานเข้าใจง่าย สำหรับเหตุผลที่ผู้ศึกษาดูงานจะแนะนำผู้อื่นให้เข้ามาศึกษาดูงานต่อไป คือ บุคลากรสามารถตอบข้อซักถามได้ดี ทำให้ผู้ศึกษาดูงานได้รับประสบการณ์ที่ดี จนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ปฏิบัติงานได้จริง ซึ่งผลการวิจัยนี้ ศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ จะนำกลับมาพัฒนาบุคลากรที่ให้บริการ ระบบปฏิบัติงาน และการใช้เครื่องมือและอาคารสถานที่ในการให้บริการ ของศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ต่อไป
Download
|
19 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ |
20 |
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ |
21 |
ปกหลัง |