1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
การพัฒนาระบบติดตามแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
ประธาน สายคำ
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, ติดตามแผน, งบประมาณ
หน้า: 1 - 11
( Download: 315 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบติดตามแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และ 2) ประเมินความพึงพอใจระบบติดตามแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบไปด้วย แบบประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจระบบติดตามแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ บุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จำนวน 85 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในรูปแบบเว็บแอปพลิเคชัน (Web Application) มีการออกแบบและพัฒนาระบบตามแนวความคิดวงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life Cycle : SDLC) ใช้ภาษา PHP, HTML, JS, CSS, และฐานข้อมูล MySQL โดยใช้ NU Account ในการเข้าสู่ระบบและกำหนดสิทธิ์การเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานแบ่งเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ผู้ดูแลระบบฝ่ายโครงการ/กิจกรรม ผู้ดูแลระบบฝ่ายการเงิน/เบิกจ่าย ผู้รับผิดชอบโครงการ และกลุ่มผู้บริหาร 2) ผลการประเมินประสิทธิภาพและความพึงพอใจระบบติดตามแผนและการใช้จ่ายงบประมาณ พบว่า ความคาดหวังของกลุ่มผู้ใช้บริการมีความต้องการในการใช้ระบบอย่างต่อเนื่องต่อไป อยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.56 ซึ่งค่าเฉลี่ยรวมทุกรายการประเมินมีค่าเท่ากับ 4.36 อยู่ในเกณฑ์ดี
Download
|
4 |
การวิเคราะห์สัดส่วนงบประมาณและผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการภาควิชา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
รจเรข แก้วพฤกษ์
Keyword:
การวิเคราะห์สัดส่วนงบประมาณ, ผลสัมฤทธิ์ของการบริหารจัดการภาควิชา, การบริหารจัดการภาควิชา
หน้า: 12 - 21
( Download: 290 ครั้ง )
|
Download
|
5 |
การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
นนทวัช ศรีแสงฉาย
Keyword:
คู่มือการปฏิบัติงาน, ผู้นำนิสิต, การพัฒนาคู่มือ
หน้า: 22 - 36
( Download: 892 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2) สร้างและหาคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงาน 3) ทดลองใช้คู่มือการปฏิบัติงาน 4) ประเมินผลการใช้คู่มือการปฏิบัติงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำนิสิตประจำปี 2565 จำนวน 32 คน ผู้นำนิสิตประจำปี 2566 จำนวน 40 คน รองคณบดีและบุคลากรงานกิจการนิสิต จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์ คู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเองก่อนหลังการทดลองใช้คู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์คำหลัก (Domain Analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analysis Induction) ผลวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิต คือ ผู้นำนิสิตไม่ทราบแนวทาง การจัดกิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องกระจัดกระจาย ยากต่อการค้นหา ทำให้การดำเนินงานล่าช้า ผิดขั้นตอน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องตอบคำถามซ้ำ ๆ แก่ผู้นำนิสิต 2) ผลประเมินคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.47, S.D. = 0.53) 3) การเปรียบเทียบผลประเมินตนเองของผู้ใช้ก่อนและหลังทดลองใช้คู่มือ พบว่า ผู้ใช้มีระดับการรับรู้หลังทดลองใช้คู่มือ สูงกว่าก่อนทดลองใช้คู่มือในทุกด้าน 4) ผลประเมินการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิต พบว่าผู้นำนิสิตสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานแต่ละด้านได้อย่างถูกต้อง 100% 5) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (mean = 4.46, S.D. = 0.52)
Download
|
6 |
การศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรของ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
ดวงใจ ใจกล้า, ปภาอร เขียวสีมา
Keyword:
การพัฒนา, บุคลากร, ความคิดเห็น
หน้า: 37 - 46
( Download: 201 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องการศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ โดยประชากรที่ศึกษา คือ บุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลและวิธีทางสถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์ต่อ แนวทางการพัฒนาบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (µ = 3.50, σ = 0.86) ส่วนความคิดเห็นของบุคลากรต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี (µ = 3.69, σ = 0.98) จากผลการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและระดับความแปรปรวนของความคิดเห็นของบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ พบว่า ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 เพศต่างกันมีระดับค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาบุคลากรคณะทันตแพทยศาสตร์ ไม่ต่างกัน สถานะต่างกันมีระดับค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นไม่ต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีระดับค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นต่างกัน ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า หากจะมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาบุคลากรที่มีระดับการศึกษาต่างกันอาจต้องคำนึงถึงกระบวนการในการพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบททางด้านการศึกษาของบุคลากรเพื่อให้การพัฒนาบุคลากรเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
Download
|
7 |
การคัดเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่มีความเหมาะสมต่อผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา (EdPEx) กรณีศึกษา: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ธัญญธร พัวพิทยาธร , สุณีรัตน์ ยั่งยืน
Keyword:
การคัดเลือก, ตัวชี้วัดผลลัพธ์, เกณฑ์คุณภาพการศึกษา
หน้า: 47 - 57
( Download: 234 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์และกำหนดตัวชี้วัดผลการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เหมาะสมเพิ่มเติมตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา (EdPEx) คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 50 คนได้มาจากการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 วิเคราะห์โดยใช้การหาค่าความถี่ และร้อยละ ผลวิจัยพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง จำนวน 36 คน (คิดเป็นร้อยละ 72.00) ส่วนใหญ่เป็นผู้มีคุณวุฒิการศึกษาอยู่ระดับปริญญาเอก จำนวน 25 คน (คิดเป็นร้อยละ 50.00) ส่วนใหญ่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระหว่าง 3-5 ปี จำนวน 17 คน (คิดเป็นร้อยละ 34.00) (2) ผลการคัดเลือกตัวชี้วัดเพื่อใช้เป็นตัวอย่างในการพิจารณาคัดเลือกตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินงานในการประเมินผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษา ทั้งหมด 78 ตัวชี้วัด ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นให้เลือกเป็นตัวชี้วัดเพื่อวัดผลลัพธ์ที่มีความเหมาะสมต่อผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาการดำเนินงานของคณะฯ จำนวน 56 ตัวชี้วัด (คิดเป็นร้อยละ 71.79) โดยจำแนกออกเป็น 5 ด้าน ดังนี้ ด้านการเรียนรู้ของผู้เรียนและด้านกระบวนการ ด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ด้านการมุ่งเน้นบุคลากร ด้านการนำองค์การและการกำกับดูแล และด้านงบประมาณ การเงินและตลาด และ (3) ตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินการอื่น ๆ เพิ่มเติมที่มีความเหมาะสมต่อผลการดำเนินงาน ได้กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับผลการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ EdPEx และเพื่อกำหนดแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงการนำเอาตัวชี้วัดผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับบริบท พันธกิจ และการบรรลุวิสัยทัศน์ของคณะฯ ต่อไป
Download
|
8 |
การวิเคราะห์บทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติของอาจารย์สายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ. 2561-2565
ผู้แต่ง:
เจนจิรา บ.ป.สูงเนิน
Keyword:
บทความวิจัย, วิเคราะห์การตีพิมพ์, สายวิชาการ, ฐานข้อมูล, Scopus
หน้า: 58 - 65
( Download: 385 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ผลงานตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่ปรากฏในฐานข้อมูลสากลถือได้ว่ามีคุณภาพและเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการ โดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ได้กำหนดยุทธศาสตร์ตัวชี้วัดจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับชาติและระดับนานาชาติ เพื่อผลักดันให้มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เพิ่มมากขึ้นการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ของอาจารย์สายวิชาการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร ปี พ.ศ. 2561-2565 กลุ่มตัวอย่าง เป็นบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและสืบค้นจากฐานข้อมูล Scopus ประกอบด้วย บทความวิจัยและบทความสืบเนื่องจากประชุมวิชาการ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนตีพิมพ์ และจำนวนการอ้างอิงบทความตีพิมพ์ในแต่ละปี จำนวนบทความที่ตีพิมพ์แต่ละสาขาวิชา รายชื่อแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการทำวิจัย และรายชื่อของประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า บทความวิจัยที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus รวมจำนวนทั้งสิ้น 319 บทความ สำหรับในปี พ.ศ. 2565 มีจำนวนบทความ 82 บทความ ที่ได้รับการอ้างอิง 625 ครั้ง และสาขาที่ได้รับการตีพิมพ์บทความสูงสุด คือ Engineering จำนวน 153 บทความ คิดเป็นร้อยละ 23.91 แหล่งทุนที่สนับสนุนการทำวิจัยสูงสุด คือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร จำนวน 86 บทความ คิดเป็นร้อยละ 40.20 และประเทศที่ผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยสูงสุด คือ United States จำนวน 45 บทความ คิดเป็นร้อยละ 25.86 ภาพรวมของมหาวิทยาลัยยังสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางวิชาการมีผลงานตีพิมพ์ที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
Download
|
9 |
ความพึงพอใจและความคาดหวังของบุคลากรที่มาใช้บริการที่มีต่อการให้บริการ ของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
กัลยาณี รัตนวราหะ
Keyword:
ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, การให้บริการ
หน้า: 66 - 77
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการดำเนินงานการให้บริการของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจและความคาดหวังของบุคลากรที่มาใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้ เป็นบุคลากร ที่มาใช้บริการสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ประกอบด้วย คณะ สำนัก สถาบัน ทุกวิทยาเขต และบุคลากรจากหน่วยงานภายนอกมหาวิทยาลัย ที่ให้ข้อมูลตามความสมัครใจ จำนวน 66 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม Google forms ค่าความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.60 - 1.00 และได้ค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.931 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการดำเนินงานการให้บริการของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผลการดำเนินงานตามกลยุทธ์ของแผนปฏิบัติงานของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งสำนักงานพัฒนาคุณภาพ ขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนกลยุทธ์ ทั้งหมด 8 กลยุทธ์ ในภาพรวมมี 53 โครงการ ดำเนินงานแล้วเสร็จ 49 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 92.45 อยู่ระหว่างดำเนินงาน 3 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 5.66 และยังไม่ดำเนินงาน 1 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 1.89 และ 2) ความพึงพอใจและความคาดหวังของบุคลากรที่มาใช้บริการที่มีต่อการให้บริการของสำนักงานพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในภาพรวม ผู้มาใช้บริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 มีความคาดหวังในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36
Download
|
10 |
การศึกษาความสามารถ ปัญหา และความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
ผู้แต่ง:
พรรณวิภา โชคพิกุลทอง, รัชดาวรรณ คงสัตย์, สมเกียรติ ไทยปรีชา
Keyword:
ระดับความสามารถภาษาอังกฤษ, ความต้องการพัฒนาความสามารถภาษาอังกฤษ, ปัญหาการใช้ภาษาอังกฤษ
หน้า: 78 - 93
( Download: 175 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถ ปัญหา และความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถ ปัญหา และความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล กำหนดขนาดตัวอย่างทั้งหมด 390 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความสามารถ ปัญหา และความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ทดสอบความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายทักษะเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการอ่าน ทักษะการพูด และทักษะการเขียน ส่วนระดับปัญหาในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ทักษะการอ่าน ทักษะการฟัง ทักษะการพูด และทักษะการเขียน และระดับความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของนิสิตโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการเขียน ทักษะการพูด และทักษะการอ่าน และ 2) นิสิตที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกันมีความสามารถ ปัญหา และความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แต่นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความต้องการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ไม่แตกต่างกัน
Download
|
11 |
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงร่วมกับตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์
ผู้แต่ง:
จรรยา แสงเขียว
Keyword:
ตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์, ตัวตรวจวัดชนิดฟลูออเรสเซนต์, ไฮดรอกซีโพรลีน
หน้า: 94 - 102
( Download: 392 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีนด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงร่วมกับตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์ (HPLC-DAD) และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทดสอบด้วยตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์และฟลูออเรสเซนต์ (HPLC-FLD) พบว่าความยาวคลื่นของตัวอย่างที่เหมาะสม คือ 270 นาโนเมตร แบนวิธ 10 นาโนเมตร และความยาวคลื่นอ้างอิง 360 นาโนเมตร แบนวิธ 100 นาโนเมตร มีช่วงในการวัด 0.5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ขีดจำกัดในการวัดอยู่ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตรวจสอบความแม่นและความเที่ยงของผลการทดสอบที่ได้จาก HPLC-DAD และ HPLC-FLD ด้วยวัสดุอ้างอิงมาตรฐานและตัวอย่างควบคุมคุณภาพ พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง และเปรียบเทียบกับ HPLC-FLD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีความเที่ยงในการทำซ้ำ HORRAT น้อยกว่า 2 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีนด้วย HPLC-DAD มีความถูกต้องแม่นยำ สามารถเป็นทางเลือกเพื่อนำไปใช้งานควบคู่หรือใช้งานทดแทนกันได้
Download
|
12 |
การพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport เพื่อใช้ในการยืนยัน ขอรับสิทธิ์เข้าร่วมทำกิจกรรม Workshop ด้วยรหัส QR Code
ผู้แต่ง:
สุชาดา แดงอินทวัฒน์
Keyword:
ระบบรับบัตร, เว็บไซต์ระบบรับบัตร, e-Passport, รหัส QR code
หน้า: 103 - 116
( Download: 185 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการให้มีเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport ในการตรวจสอบและยืนยันขอรับสิทธิ์ต่าง ๆ ที่ได้เข้าร่วมทำกิจกรรม Workshop 2) เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport ในการยืนยันขอรับสิทธิ์เข้าร่วมทำกิจกรรม Workshop ด้วยรหัส QR code 3) เพื่อประเมินคุณภาพและความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport ในการยืนยันขอรับสิทธิ์เข้าร่วมทำกิจกรรม Workshop ด้วยรหัส QR code โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย แบบประเมินคุณภาพเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport แบบประเมินถามความต้องการในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport แบบประเมินความพึงพอใจในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport และเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้จำนวน 354 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพทางด้านเนื้อหาอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.64, S.D. = 0.37) คุณภาพทางด้านเทคนิคการผลิตสื่ออยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.49, S.D. = 0.16) และผลการประเมินความต้องการและความพึงพอใจ ในการใช้งานเว็บไซต์ระบบรับบัตร e-Passport อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ยรวม ( = 4.66, S.D. = 0.42)
Download
|
13 |
การศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร คณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
ผู้แต่ง:
นิตยา กรัดเพ็ชร์
Keyword:
แรงจูงใจ , ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, บุคลากร
หน้า: 117 - 131
( Download: 185 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับแรงจูงใจและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 2) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อแรงจูงใจและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 4) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางในการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์และสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 133 เครื่องมือที่ใช้วิจัยเป็นแบบสอบถาม (IOC=0.92) สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที ค่าเอฟ ค่าความแปรปรวน ค่าความแตกต่าง และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านลักษณะงาน ด้านสภาพแวดล้อม ด้านผู้บังคับบัญชา ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ด้านนโยบายการบริหาร ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ และด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในหน้าที่การงาน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.23, S.D.=0.69) โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านผู้บังคับบัญชา ( =4.39, S.D.=0.62) และค่าเฉลี่ยต่ำสุดได้แก่ ด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ ( =3.99, S.D.=0.83) ระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม ( =4.42, S.D.=0.59) และรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด 2) บุคลากรที่มีอายุต่างกันมีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานในภาพรวมต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีเพศ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน ตำแหน่งงาน และรายได้แตกต่างกันมีแรงจูงใจและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในภาพรวม ไม่แตกต่างกัน 3) ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในทิศทางเดียวกัน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) ระดับต่ำคือ 0.469 และ 4) แนวทางการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน พบว่า ควรพิจารณาจัดสรรบุคลากร ค่าตอบแทนและสวัสดิการให้เพียงพอและเหมาะสมเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจให้บุคลากรสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
Download
|
14 |
การพัฒนาชุดการเรียนการสอนปฏิบัติการเรื่องความจุไฟฟ้าและสารไดอิเล็กทริก ใช้วิธีการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง สำหรับโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
รัชนีวรรณ ศิริ, วิชชุดา สุขนุ้ย
Keyword:
ประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอน, วิธีการสอนแบบศึกษาด้วยตัวเอง, การทดสอบค่าที
หน้า: 132 - 142
( Download: 194 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดการเรียนการสอนเรื่องความจุไฟฟ้าและสารไดอิเล็กทริก ศึกษาประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (โครงการ วมว.) โรงเรียน มอ. วิทยานุสรณ์ จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ชุดการทดลอง วิธีการสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายงานปฏิบัติการ หาประสิทธิภาพของชุดการทดลองด้วย E1/E2 (E1 คือ ประสิทธิภาพของกระบวนการ และ E2 คือ ประสิทธิภาพของผลลัพธ์) และวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยค่าทางสถิติการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า ประสิทธิภาพของชุดการเรียนการสอนเรื่องความจุไฟฟ้าและสารไดอิเล็กทริก มีค่าเท่ากับ 70.29/76.20 และนักเรียนที่เรียนด้วยชุดการเรียนการสอนมีคะแนนทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
15 |
การปรับปรุงกระบวนการประเมินประเภทของโครงการวิจัยด้านความปลอดภัย ทางชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ธัญญาภรณ์ บุญเพ็ชร
Keyword:
การประเมินประเภทงานวิจัย, ความปลอดภัยทางชีวภาพ, ลีน
หน้า: 143 - 153
( Download: 217 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้มีการดำเนินงานวิจัยที่กำหนดให้ขอรับการประเมินตามมาตรฐานความปลอดภัยทางชีวภาพ การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค รวมทั้งแนวทางการแก้ไข เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการประเมินประเภทของโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพของนักวิจัยภายในคณะ โดยใช้แนวคิดลีน ด้วยการวิเคราะห์ขั้นตอนการทำงานผ่านการจัดทำแผนผังขั้นตอนการทำงาน แผนผังสายธารแห่งคุณค่า และเขียนเส้นทางกระบวนการทำงาน วิเคราะห์กิจกรรมตามคุณค่า วิเคราะห์ความสูญเปล่า (7 Waste) จากผลการวิจัย พบว่า ปัญหาและอุปสรรคที่พบในกระบวนการ คือ กระบวนการทำงานซ้ำซ้อน มีระยะเวลารอคอย การใช้พนักงานจัดส่งเอกสาร หลังจากนำหลักการ ECRSit มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ วิเคราะห์เปรียบเทียบกระบวนการเดิมและกระบวนการใหม่ พบว่า จากเดิมก่อนการปรับปรุงกระบวนการ 20 ขั้นตอน คิดเป็นเวลา 27,655 นาที ใช้กระดาษ จำนวน 484 แผ่น คิดเป็นค่าใช้จ่าย 116.16 บาท หลังจากปรับปรุงกระบวนการ สามารถลดขั้นตอนที่มีคุณค่า (VA) ขั้นตอนที่ไม่มีคุณค่าแต่จำเป็นต้องทำ (NNVA) และกำจัดขั้นตอนที่ไม่มีคุณค่า (NVA) ออกจากขั้นตอนการทำงาน เหลือเพียง 8 ขั้นตอน คิดเป็นเวลา 10,195 นาที สามารถลดระยะเวลาในการทำงาน ได้ทั้งสิ้น 17,460 นาที (ร้อยละ 63.13) และสามารถลดปริมาณการใช้กระดาษและค่าใช้จ่ายเหลือศูนย์ (ร้อยละ 100) การปรับปรุงกระบวนการมีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ ได้แก่ เว็บไซต์รวบรวมข้อมูลและแบบฟอร์ม แพลตฟอร์ม Google Forms Approval ระบบเวียนมติ อีเมล สามารถเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงานจากเดิม 83.42% เป็น 99.56% เพิ่มขึ้น 16.14% สามารถลดขั้นตอน ลดการรอคอย และทำให้นักวิจัยได้รับทราบผลการประเมินประเภทของโครงการวิจัยด้านความปลอดภัยทางชีวภาพได้รวดเร็วขึ้น
Download
|
16 |
ความต้องการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ความรู้ ทักษะ การจัดการปัญหา และความพร้อมในการรับมือเมื่อเกิดภัยคุกคามทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์ ที่ใช้สำหรับงานวิจัย ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
เกียรตินิยม ขันตี, กฤติยา สำอางกิจ
Keyword:
ความต้องการซอฟต์แวร์ประยุกต์, ซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับงานวิจัย, ทักษะ, การจัดการปัญหา, ภัยคุกคามทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์
หน้า: 154 - 166
( Download: 186 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software) และศึกษาความรู้ ทักษะ การจัดการปัญหาเมื่อเกิดภัยคุกคามทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์ ที่ใช้ในงานวิจัยของบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการวิจัย สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมเครื่องมือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ อาจารย์ นักวิจัย และนักวิจัยโครงการวิจัย ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม จำนวนทั้งหมด 77 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ (Frequency) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าร้อยละ (Percentage) ผลการศึกษาพบว่า ความต้องการใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับการจัดเก็บข้อมูล จะนำซอฟต์แวร์เสรี (Open-Source Software) มาเป็นเครื่องมือแบบสำรวจข้อมูลออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ Google Form (ร้อยละ 81.8) การใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลข้อมูลนิยมในระดับปานกลางถึงมากที่สุด คือ SPSS (ร้อยละ 76.6) และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่กลุ่มตัวอย่างนิยมใช้แสดงข้อมูลในงานวิจัย คือ Microsoft Power Point (ร้อยละ 87) ด้านความรู้ ทักษะ ประสบการณ์การจัดการปัญหาเกิดขึ้นและความพร้อมในการรับมือ (ร้อยละ 100) มีความสามารถในการเรียนรู้เร็ว รู้ทัน และรับมือต่อความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นทางด้านซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซึ่งถือว่าเป็นความได้เปรียบและโอกาสที่จะช่วยลดปัญหาความสูญเสียหรือวิกฤติที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานมากที่สุด จากประสบการณ์ระหว่างการทำงานมองปัญหาว่าเป็นเรื่องของความไม่แน่นอนที่มีโอกาสเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นในขณะการปฏิบัติงานตลอดเวลา (ร้อยละ 98.7) เมื่อทุกคนมีการเตรียมความพร้อมในการรับมือต่อภัยคุกคามโดยมีการจัดการปัญหาได้ดีนั้นจะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มและคุณประโยชน์ต่อการใช้ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (ร้อยละ 97.4)
Download
|
17 |
ความต้องการและความคาดหวังของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่มีต่อ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
กมลพร จันทาคึมบง , นันท์ชญาณ์ แดนสีแก้วธัญ, เทพพร ดงเรืองศรี
Keyword:
ความต้องการ, ความคาดหวัง, นิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
หน้า: 167 - 176
( Download: 207 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการและความคาดหวังของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการและความคาดหวังของนิสิตในแต่ละหลักสูตรที่มีต่อคณะสาธารณสุขศาสตร์จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของนิสิต กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาที่เข้าศึกษาตั้งแต่ ปีการศึกษา 2561-2565 จำนวน 108 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้สุ่มแบบชั้นภูมิตามสัดส่วนของนิสิตแต่ละหลักสูตร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและสถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ kruskal wallis test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นนิสิตหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต มีอาชีพรับราชการ ทำงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล มีรายได้ต่อเดือนมากกว่า 40,000 บาทขึ้นไป กลุ่มตัวอย่างมีความต้องการและความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้านพบว่า ด้านการเรียน การสอน ด้านการให้บริการนิสิต ด้านการพัฒนานิสิต และด้านปัจจัยเกื้อหนุนการศึกษา มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.38, 4.14, 4.14 และ 4.11 ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความต้องการและความหวังของนิสิตที่ทั้ง 4 หลักสูตร ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษาได้ว่า นิสิตส่วนใหญ่มีความต้องการและคาดหวังต่อการให้บริการของคณะในระดับมากทั้ง 4 ด้าน ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์สำหรับทางคณะและหลักสูตรเพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมและพัฒนาหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของนิสิตเพิ่มขึ้น
Download
|
18 |
การศึกษาสาเหตุของการลาพักการศึกษา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
มลิวัลย์ อริพงษ์
Keyword:
การลาพักการเรียน, สถานภาพนักศึกษา, แผนภูมิก้างปลา
หน้า: 177 - 188
( Download: 221 ครั้ง )
|
Download
|
19 |
การวิเคราะห์ปริมาณการขอรับบริการและคาดการแนวโน้มการขอรับบริการ ของภาควิชาวิศวกรรมอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
วราภรณ์ มาไพศาลทรัพย์
Keyword:
การให้บริการวิชาการ, บริการตรวจสอบวิเคราะห์, บริการขอใช้เครื่องมือ
หน้า: 189 - 197
( Download: 227 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อวิเคราะห์จำนวนผู้ขอรับบริการ หน่วยงานที่ขอรับบริการ ปริมาณการใช้เครื่องมือประเภทต่าง ๆ และประเภทการขอรับบริการ 2) เพื่อศึกษาแนวโน้มการขอใช้บริการและวางแผนพัฒนาคุณภาพเครื่องมือ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ เอกสารแบบขอใช้บริการเครื่องมืออุปกรณ์ และแบบตาราง เสนอผลการแจกแจงความถี่โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์โดยการแจกแจงจำนวน และการหาค่าร้อยละ ส่วนการวิเคราะห์แนวโน้มการขอใช้บริการ ใช้เทคนิค การพยากรณ์เชิงปริมาณ เพื่อคาดการณ์แนวโน้มการใช้บริการในอนาคต สรุปผลงานวิจัยได้ดังนี้ 1) จำนวนผู้ขอรับบริการ 315 ครั้ง 2) ประเภทคำขอใช้เครื่องมือวิเคราะห์ร้อยละ 39 เครื่องมือเพื่อการผลิตร้อยละ 36 และเครื่องประเภทอื่น ๆ ร้อยละ 25 ตามลำดับ 3) แหล่งเงินทุนจากเงินสนับสนุนงานวิจัยร้อยละ 71 แหล่งเงินทุนอื่น ๆ ร้อยละ 16 และแหล่งเงินทุนเอกชนร้อยละ 13 4) ประเภทขอรับบริการ เป็นการขอใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ ร้อยละ 86 ขอยืมเครื่องมือ-อุปกรณ์ร้อยละ 9 และ ขอจ้างตรวจวิเคราะห์ร้อยละ 5 ตามลำดับ 5) แนวโน้มการขอใช้บริการภาควิชาวิศวกรรมอาหารคาดการณ์ว่า ในปี 2566 จะมีโอกาสมีคนขอใช้บริการจำนวน 86 ราย และคาดการณ์ว่าอาจจะไม่มีผู้ขอใช้บริการ 6) แนวทาง การพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความพร้อมในการให้บริการวิชาการ จำเป็นที่จะต้องการสอบเทียบเครื่องมือ และตรวจสอบการทำงานขอเครื่องมือให้มีความเที่ยงตรง หรือการใช้เทคโนโลยีในการเข้ามาพัฒนาระบบการเรียนรู้วิธีการใช้เครื่องมือ และการขอรับบริการต่อไป
Download
|
20 |
การสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อของนิสิต หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
วิภา อินทรสุข, นารีจุติ ศรีแสงฉาย, อภิญญา ชุณหะทิพากร
Keyword:
การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อ, หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน้า: 198 - 208
( Download: 206 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย คือ นิสิตหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โดยมีผู้ตอบแบบสอบถามออนไลน์กลับมา จำนวน 312 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยมีการตรวจสอบความเชื่อมั่นหรือ ความเที่ยง โดยนำไปทดลองใช้กับนิสิตคณะนิติศาสตร์ จำนวน 30 คน เพื่อนำมาหาสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบราค มีค่า 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบเชิงพรรณนา พบว่า นิสิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตภาคเหนือ อาศัยอยู่จังหวัดพิษณุโลก สังกัดโรงเรียนรัฐบาล และผลการเรียน ค่าเฉลี่ย มากกว่า 3.50 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 33.7 โดยรอบที่ 1 แบบ Portfolio เป็นรอบที่ผ่านการคัดเลือกมากที่สุด ระดับปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( = 3.78, S.D. = 0.49) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ระดับปัจจัยด้านสังคม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เป็นอันดับแรก = 4.32, S.D. = 0.53) อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ระดับปัจจัยด้านสถาบันการศึกษาและหลักสูตร ( = 4.06, S.D. = 0.55) ระดับปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ( = 3.85, S.D. = 0.74) ระดับปัจจัยด้านเศรษฐกิจ และปัจจัยด้านเหตุผลส่วนตัว ( = 3.79, S.D. = 0.67) และจากการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยได้นำเสนอข้อมูลที่ได้จากการวิจัยเข้าที่ประชุมคณะกรรมการประจำหลักสูตรนิติบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร เพื่อเป็นข้อมูลสนับสนุนในการตัดสินใจ ในปีการศึกษา 2565 เพื่อกำหนดคุณสมบัติเฉพาะ และเกณฑ์การรับเข้าศึกษา และเปิดโอกาสให้กับนิสิตที่อยู่ในภูมิลำเนาภาคเหนือตัดสินใจเข้าศึกษาต่อให้สถาบันใกล้บ้าน
Download
|
21 |
การศึกษาการรับรู้ประโยชน์การใช้งานระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
สุภาพร คำรศ
Keyword:
การรับรู้ประโยชน์, ฐานข้อมูลผลงานทางวิชาการ, อาจารย์ประจำหลักสูตร
หน้า: 209 - 218
( Download: 163 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ประโยชน์การใช้งานระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 26 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท มีค่าความตรงของเนื้อหา (Content Validity) ระหว่าง 0.66-1.00 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s Alpha Coefficient) คือ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยประชากร ( ) ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานประชากร ( ) ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้ประโยชน์การใช้งานระบบฐานข้อมูลผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.19, = 0.68) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การรับรู้อยู่ในระดับมากทั้ง 4 ด้าน และมีค่าเฉลี่ยตามลำดับ ดังนี้ 1) ด้านการรับรู้ถึงประโยชน์จากการใช้งาน ( = 4.25, = 0.63) 2) ด้านการใช้งานระบบ ( = 4.23, = 0.68) 3) ด้านการออกแบบระบบ ( = 4.16, = 0.65) และ 4) ด้านการรับรู้ถึงความง่ายในการใช้งานระบบ ( = 4.12, = 0.75)
Download
|
22 |
ทัศนคติต่อการเรียนและการสอบในรูปแบบออนไลน์ ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ธนพล กิ่งภูเขา
Keyword:
การเรียนออนไลน์, การสอบในรูปแบบออนไลน์, นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์
หน้า: 219 - 226
( Download: 213 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็น นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 301 คน ได้มาจาการการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.75 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) นักศึกษามีทัศนคติต่อการเรียนรูปแบบออนไลน์อยู่ในระดับมากกับความเหมาะสมโปรแกรมในการเรียนออนไลน์ (Zoom, MS Team, Google meet) ทำให้เกิดความต้องการในการให้มีการเรียนแบบผสมผสาน และทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเรียน ไม่ต้องเดินทางมาเรียนในห้อง ( = 4.23, S.D. = 0.81, = 3.94, S.D. = 1.04, = 3.84, S.D. = 1.03) 2) นักศึกษามีทัศนคติต่อการสอบในรูปแบบออนไลน์อยู่ในระดับมากกับโปรแกรมที่ใช้ในการสอบออนไลน์ (PSU E-testing) มีความสะดวก มีความเข้าใจระเบียบการสอบหรือวิธีการใช้แอพพลิเคชั่นก่อนสอบออนไลน์ ( = 4.15, S.D. = 0.81, = 4.09, S.D. = 0.77) และมีความกังวลมาก เกี่ยวกับปัญหาไฟฟ้าดับที่จะเกิดขึ้นในการสอบออนไลน์ ( = 4.39, S.D. = 0.80)
Download
|
23 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
24 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
25 |
ปกหลัง |