1 |
ปกหน้า-สารบัญ |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
ผลลัพธ์ของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ที่ได้รับการฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ผู้แต่ง:
อินท์ชลิตา สุวรรณรังสิมา, วิภาดา ช่วยรักษา
Keyword:
ผลลัพธ์, ความพึงพอใจ, การฝึกปฏิบัติงาน
หน้า: 1 - 8
( Download: 116 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการฝึกปฏิบัติงานในต่างประเทศของนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรม เก็บข้อมูลจากนักศึกษาชั้นปีที่ 3 ซึ่งได้เดินทางไปฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศ ระหว่างเดือน มิถุนายน – สิงหาคม ในปีการศึกษา 2559-2561 จำนวน 36 ตัวอย่าง สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ในด้านผลลัพธ์ที่ได้จากการฝึกปฏิบัติงาน นักศึกษามีผลลัพธ์ด้านสังคมและวัฒนธรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.27, S.D.=0.7) ในด้านความพึงพอใจนักศึกษามีความพึงพอใจด้านผู้ดูแลและประสานงานของสถาบัน/หน่วยงานในต่างประเทศอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.52, S.D.=0.61) และปัญหาที่พบคือด้านการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและการได้รับวีซ่าล่าช้า ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศมีส่วนช่วยพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในด้านต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของภาควิชาฯควรจัดให้มีการปฐมนิเทศ ก่อนการเดินทางเพื่อชี้แจงข้อมูลที่จำเป็นและเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาก่อนการเดินทางไปต่างประเทศ
Download
|
5 |
การเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา: นักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ธิดาพร บุญเม่น
Keyword:
การเดินทางเข้าประเทศไทย, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19), วิถีชีวิตใหม่
หน้า: 9 - 18
( Download: 132 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอรูปแบบการเดินทางเข้า-ออกประเทศไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของนักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยนำเสนอประเภทของนักศึกษาชาวต่างชาติบุคลากรชาวต่างชาติและอาคันตุกะหรือบุคลากรจากมหาวิทยาลัยคู่สัญญาของมหาวิทยาลัย การเปรียบเทียบให้เห็นถึงขั้นตอนการเดินทางเข้าประเทศไทยในรูปแบบก่อนและระหว่างการเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่รัฐบาลกำหนดขึ้นใหม่ มหาวิทยาลัยมหิดลมียุทธศาสตร์ในการพัฒนามหาวิทยาลัยระดับนานาชาติและมีการวางกลยุทธ์ใน การพัฒนาในทุกด้านไปสู่ระดับสากล มหาวิทยาลัยจึงมีนักศึกษาที่เป็นชาวต่างชาติเดินทางมาจากทั่วโลกเพื่อเข้าศึกษาในหลักสูตรนานาชาติเป็นจำนวนมาก รวมทั้งมีบุคลากรชาวต่างชาติที่ปฏิบัติหน้าที่ทั้งการเรียน การสอน บรรยาย รวมถึงการทำวิจัยกับมหาวิทยาลัย ผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้นักศึกษาและอาจารย์ชาวต่างชาติต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการเดินทางตามประกาศแนวทางปฏิบัติสำหรับนักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติสำหรับการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วง การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19)การศึกษาการเดินทางเข้าประเทศไทยในช่วงเกิดการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในครั้งนี้จึงเป็นประโยชน์สำหรับชาวต่างชาติหรือบุคคลที่จะ เดินทางเข้ามายังประเทศไทยรวมทั้งนักศึกษาชาวต่างชาติที่จะเข้ามาภายในมหาวิทยาลัยมหิดลในช่วงของการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID – 19) ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่นักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติที่ต้องเดินทางเข้ามาร่วมปฏิบัติงานและปฏิบัติภารกิจกับมหาวิทยาลัยมหิดล รวมทั้งยังสามารถนำไปเป็นแนวทางการรับมือให้กับนักศึกษาและบุคลากรชาวต่างชาติในวิถีชีวิตใหม่ หากเกิดสภาวะฉุกเฉินหรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่ไม่คาดคิดในอนาคตได้เป็นอย่างดี
Download
|
6 |
การสอนงานด้านการเงินและบัญชี: กรณีศึกษาเจ้าหน้าที่การเงินใหม่ ของคณะกายภาพบำบัด มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ผู้แต่ง:
อริยา พุ่มพวง, ชาลินี ทองใบ
Keyword:
การสอนงาน, เจ้าหน้าที่ด้านการเงิน, ความพึงพอใจ
หน้า: 19 - 29
( Download: 135 ครั้ง )
|
Download
|
7 |
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรใน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ชาโลมา กองสวัสดิ์
Keyword:
ความผูกพันของบุคลากร, การดำรงอยู่, ความทุ่มเท, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 30 - 41
( Download: 192 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความผูกพันของบุคลากร ระดับของปัจจัยการสนับสนุน
จากองค์กร และระดับความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันกับปัจจัยการสนับสนุนจากองค์กร ในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นบุคลากรที่ทำงานในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ตั้งแต่ปีการศึกษา 2560 -2563 สำรวจจากบุคลากรที่ปฏิบัติงานในปีการศึกษา 2560 จำนวน 21 คน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 26 คน และปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลออนไลน์ คือ HAPPINOMITER เป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิธีทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าสัมประสิทธิ์แปรผัน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ และคัดเลือกตัวแปรที่เหมาะสมเข้าสมการใช้วิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) โดยภาพรวม บุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ มีความผูกพันต่อองค์กรในระดับมากทุกด้าน โดยบุคลากรมีความทุ่มเทเพื่อองค์กรมากที่สุด รองลงมา คือ การพูดถึงองค์กรในทางที่ดี และการคงอยู่กับองค์กร ตามลำดับ 2) ระดับของปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันอยู่ในระดับมาก 3) ความผูกพันโดยรวม (Y) มีความสัมพันธ์กับปัจจัยสนับสนุนจากองค์กรทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ตั้งแต่ 0.421-0.714 ส่วนใหญ่ระดับความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางบวก แต่มี1 ด้านที่ระดับความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม นั่นคือ การมีหัวหน้างานที่ดี มีความสัมพันธ์กับความผูกพันในทิศทางลบ มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R) เท่ากับ -0.421 ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการเลือกตัวแปรโดยวิธีขั้นตอนพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการความผูกพันต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 เรียงลำดับความสำคัญจากมากที่สุด คือ หน่วยงานมีชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับ รองลงมา คือ มีความก้าวหน้าในการทำงาน มีทีมงาน/เพื่อนร่วมงานที่ดี และมีหัวหน้าที่ดี ตามลำดับ ได้สมการพยากรณ์ ดังนี้ ŷ = 1.048 + 0.168X1 - 0.074X5 + 0.183X6 + 0.223X9 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคุณ (R) เท่ากับ 0.838 สามารถอธิบายความผูกพันต่อองค์กรโดยภาพรวมของบุคลากรในคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ได้ร้อยละ 70.30 (R2 = 0.703) มีค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์ เท่ากับ 0.398
Download
|
8 |
การพัฒนาระบบต้นแบบดาต้ามาร์ทสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพ
ผู้แต่ง:
วลัญช์ชัย ปราณธัญธนดิษย์
Keyword:
ดาต้ามาร์ท, คลังข้อมูลขนาดเล็ก, ฐานข้อมูล, ตัวชี้วัดประสิทธิภาพ, รายงานสรุปในหน้าเดียว
หน้า: 42 - 51
( Download: 114 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาระบบต้นแบบดาต้ามาร์ทสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพ จัดทำขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ในติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพที่มีการเปลี่ยนแปลงตามช่วงเวลาต่าง ๆ เช่น ปีปฏิทิน ปีงบประมาณ ไตรมาส เป็นต้น เพื่อที่จะช่วยรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่มีความถูกต้อง รวดเร็ว เป็นประโยชน์สูงสุดในการติดตามผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพด้านต่าง ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ที่ได้กำหนดไว้ โดยผู้วิจัยได้ใช้ข้อมูลของงานด้านการบริหารจัดการข้อมูลของศูนย์ความเป็นเลิศ คณะวิทยาศาสตร์ ที่มีการดำเนินงานตามตัวชี้วัดประสิทธิภาพของคณะ ในการพัฒนาต้นแบบดาต้ามาร์ท และใช้ความสามารถของโปรแกรมบริหารจัดการฐานข้อมูล MySQL ทำการสกัด คัดแยก เปลี่ยนแปลง ผ่านกระบวนการทำความสะอาดข้อมูล (Data Cleansing) และจัดเก็บข้อมูลที่ได้ไว้ในดาต้ามาร์ท ตามกระบวนการ ETL จากนั้นนำข้อมูลในดาต้ามาร์ทมาทำการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบข้อมูลสรุปทุกอย่างในหน้าจอเดียว (Dashboard) โดยใช้โปรแกรมภาษา PHP, HTML5, CSS3, JQuery, Ajax, Bootstrap ในการพัฒนาระบบและเรียกใช้ระบบผ่าน Web Browser ซึ่งผลที่ได้พบว่า ต้นแบบระบบดาต้ามาร์ทสามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์กำหนดไว้ เป็นไปตามรูปแบบ สามารถสืบค้นข้อมูลตาม ปีปฏิทิน ปีงบประมาณ ไตรมาส ได้อย่างถูกต้อง
Download
|
9 |
การศึกษาความต้องการและแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
เกียรติษฎา ภูมิเพ็ง
Keyword:
ความต้องการ, แรงจูงใจ, การทำงานวิจัยสถาบัน, บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ
หน้า: 52 - 61
( Download: 131 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษามีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาระดับความต้องการ ระดับแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบัน เปรียบเทียบระดับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบันตามสถานภาพส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาระดับความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาจัดทำแผนงาน โครงการหรือกิจกรรมในการส่งเสริมแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันตามความต้องการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการทั้งหมด ยกเว้นลูกจ้างประจำ จำนวนรวม 63 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่ โดยวิธี LSD. และวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ความรู้ความสามารถเกี่ยวกับการทำงานวิจัยสถาบัน ทุกข้อและภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (m= 2.64, s = 0.83) ความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน ทุกข้อและภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m= 3.88, s= 0.80) แรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันของบุคลากร ทุกด้านและภาพรวมอยู่ในระดับมาก (m= 3.86, s= 0.48) ความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน ตามสถานภาพส่วนบุคคล พบว่า บุคลากรที่มีเพศ อายุ ประเภทบุคลากร สังกัด ระดับการศึกษา และระยะเวลาการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบันไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการทำงานวิจัยสถาบันกับความต้องการในการทำงานวิจัยสถาบัน พบว่า ภาพรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก ในระดับต่ำถึงระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
10 |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
พลากร อุดมกิจปกรณ์
Keyword:
การตัดสินใจ, การเลือกเข้าศึกษา, หลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต
หน้า: 62 - 70
( Download: 141 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง 2560) คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ศึกษา คือ นิสิตกายภาพบำบัดชั้นปีที่ 1 จำนวน 60 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย โดยมีค่าความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.97 ใช้สถิติพรรณนาเพื่อบรรยายผลการศึกษา และรายงานข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean, µ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation, S.D.) ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรกายภาพบำบัดบัณฑิต (หลักสูตรปรับปรุง 2560) คณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ = 3.54, S.D.= 0.57) เมื่อพิจารณาปัจจัยแต่ละด้าน พบว่าด้านความจำเป็นในการประกอบอาชีพ มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ = 3.91, S.D.= 0.58) รองลงมา คือ ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ= 3.69, S.D.= 0.58) ด้านองค์ประกอบของสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (µ= 3.55, S.D.= 0.52) และด้านอิทธิพลของบุคคลที่เกี่ยวข้อง มีค่าเฉลี่ยความคิดเห็นอยู่ในระดับปานกลาง (µ= 3.00, S.D.= 0.60) ตามลำดับ ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าความมั่นคงและความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพเป็นปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรกายภาพบำบัด ดังนั้นการพัฒนาและรักษามาตรฐานวิชาชีพกายภาพบำบัดเป็นสิ่งสำคัญที่สถาบันหรือหลักสูตรควรส่งเสริมเพื่อให้วิชาชีพกายภาพบำบัดเป็นที่รู้จัก และได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางอันนำไปสู่ความก้าวหน้าในการประกอบอาชีพต่อไป
Download
|
11 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อการแนะนำบอกต่อของนักศึกษา: กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง
ผู้แต่ง:
อัจฉราวรรณ ช่วยเนียม
Keyword:
การแนะนำบอกต่อ, องค์ประกอบของมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตตรัง
หน้า: 71 - 82
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การแนะนำบอกต่อของนักศึกษาถือเป็นปัจจัยสำคัญในการประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยและหลักสูตรของมหาวิทยาลัยไปยังกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความน่าเชื่อถือและมีอิทธิพลต่อกลุ่มเป้าหมายเป็นอย่างมาก อย่างไร ก็ตาม องค์ประกอบสำคัญที่เป็นปัจจัยทำให้นักศึกษามีการแนะนำบอกต่อยังคงมีการศึกษาที่ค่อนข้างน้อย งานวิจัยฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการแนะนำบอกต่อของนักศึกษา โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตตรัง จำนวน 979 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์สมการถดถอยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด ผ่านกระบวนการคัดเลือกตัวแปรแบบลำดับขั้น ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นต่อคณาจารย์ในหลักสูตรเป็นองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยสูงเป็นอันดับแรก ในขณะที่ด้านอาหารการกินเป็นองค์กระกอบที่มีค่าเฉลี่ยเป็นอันดับสุดท้าย ผลการวิจัยยังพบว่า องค์ประกอบของมหาวิทยาลัยจำนวน 6 ด้าน ส่งผลต่อการแนะนำบอกต่อของนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในบริบทของข้อเสนอแนะ การส่งเสริมและพัฒนาองค์ประกอบของมหาวิทยาลัยในแต่ละด้านตามลำดับความสำคัญ มีส่วนสำคัญในการส่งเสริมการแนะนำบอกต่อและการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Download
|
12 |
การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร ของคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ธัญญธร พัวพิทยาธร
Keyword:
การพัฒนาแนวทาง, การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
หน้า: 83 - 92
( Download: 145 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพดำเนินการโดยศึกษาสภาพปัจจุบันของการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรส่วนแนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในดำเนินการโดยการสัมภาษณ์บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย 5 คณะ 20 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบวิเคราะห์เชิงคุณภาพโดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสังเกต การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การวิเคราะห์ SWOT Analysis และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินการประกันคุณภาพ จำแนกเป็น 2 ปัจจัย คือ 1.ปัจจัยด้านบุคลากร อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนขาดความรู้ ความเข้าใจและประสบการณ์ในการดำเนินงานตามเกณฑ์การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตรของคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2.ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ ยังขาดการวางแผนงานที่เป็นระบบ ไม่มีการกำหนดนโยบายเป้าหมายที่ชัดเจนในเชิงปฏิบัติ สภาพจริงของการติดตามประเมินผลไม่ต่อเนื่องและเป็นไปแบบไม่จริงจัง ขาดการตรวจสอบผลการปฏิบัติการจากผู้บริหาร 2) แนวทางการพัฒนาการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในของคณะในกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยวิธีการพัฒนาแนวทางการดำเนินงานในการรักษาผลการดำเนินงานเพื่อเป็นต้นแบบในการทำงานการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ควรจัดระบบการบริหารดำเนินงาน เป็นกระบวนการบริหารงานอย่างมีคุณภาพครบวงจร (PDCA) ของเดมมิ่ง ประกอบด้วยการวางแผน (Plan) ปฏิบัติตามแผน (Do) ประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา (Check) และพัฒนาปรับปรุงอยู่เสมอ (Act) โดยมีลักษณะเป็นวงจรต่อเนื่อง
Download
|
13 |
การพัฒนาระบบเฝ้าระวังอุณหภูมิสำหรับตู้แช่เก็บตัวอย่าง
ผู้แต่ง:
สัตยา บุญรัตนชู, ทรงสุดา พรหมทอง, ฮัมดัน มะเซ็ง
Keyword:
ระบบเฝ้าระวังอุณหภูมิ, ไมโครคอนโทรลเลอร์, ระบบแจ้งเตือน
หน้า: 93 - 102
( Download: 209 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ พัฒนาระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนอุณหภูมิสำหรับตู้แช่เก็บตัวอย่างทางวิทยาศาสตร์และสารเคมีมาตรฐานของสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ โดยใช้ตัวตรวจวัดอุณหภูมิ DS18B20 และตัวตรวจวัดอุณหภูมิชนิด Resistance Temperature Detector (RTD) ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ถูกใช้สำหรับอ่านค่าอุณหภูมิแล้วส่งต่อข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายไร้สายไปจัดเก็บในเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลหลักขององค์กร ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบกราฟตามเวลาจริง และเรียกดูข้อมูลย้อนหลังได้ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตโดยใช้โปรแกรมภาษาพีเอชพี ช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถตรวจสอบความเสถียรด้านอุณหภูมิของตัวอย่างที่ถูกจัดเก็บภายในตู้แช่เก็บตัวอย่างในระยะยาวได้เป็นอย่างดี การพัฒนาได้ประยุกต์ใช้หลักการไคเซ็นในการแจ้งเตือนด้วยสีและเสียงเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถมองเห็นได้ชัดเจนในทันทีถึงความผิดปกติของอุณหภูมิ ระบบแจ้งเตือนสามารถส่งสัญญาณแจ้งเตือนแก่ผู้ใช้ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เมื่ออุณหภูมิออกนอกช่วงในระยะเวลาที่กำหนด ระบบที่พัฒนาขึ้นช่วยให้สามารถจัดเก็บตัวอย่างและสารเคมีได้ดีขึ้นโดยไม่ต้องใช้แรงงานคนในการติดตามและบันทึกข้อมูล นอกจากนี้งานวิจัยนี้ได้นำไปประยุกต์ใช้เฝ้าระวังตู้แช่เก็บเลือดสำหรับหน่วยคลังเลือดโรงพยาบาลสงขลานครินทร์อีกด้วย
Download
|
14 |
การศึกษาผลสัมฤทธิ์การผลิตบัณฑิตและแนวทางการเพิ่มจำนวนนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
ทัศน์วรรณ เทพสุวรรณ์
Keyword:
ผลสัมฤทธิ์, ระดับบัณฑิตศึกษา , เคมีอุตสาหกรรม
หน้า: 103 - 109
( Download: 134 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์การผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ข้อมูลการรับเข้านักศึกษาและผลผลิตบัณฑิตระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม ช่วงปีการศึกษา 2551–2560 เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือ การวิจัยเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ เรียงลำดับข้อมูล แสดงผลด้วยตาราง ผลการศึกษาพบว่า ภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมรับเข้านักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาได้จริง 91 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 44.39 จากเป้าหมายที่กำหนดไว้ จำนวน 205 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 79.12 เป็นนักศึกษาระดับปริญญาโท โดยมีผู้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนดตามเป้าหมาย จำนวน 2 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 2.78 ส่วนนักศึกษาระดับระดับปริญญาเอกรับเข้าได้จริง 19 คน คิดเป็นร้อยละ 20.88 โดยไม่มีผู้สำเร็จการศึกษาตามระยะเวลาที่หลักสูตรกำหนด 2) ศึกษา ความคิดเห็นของผู้บริหารในสายงานวิชาการและอาจารย์ผู้สอนในสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างด้วยการสุ่มแบบเจาะจงไปยังผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารระดับมหาวิทยาลัย ผู้บริหารระดับคณะ ผู้บริหารระดับภาควิชาในสายงานวิชาการ และอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาเคมีอุตสาหกรรม จำนวน 6 คน ในประเด็นแนวทางการเพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในอนาคตของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรม ข้อมูลที่ได้นำไปวิเคราะห์เนื้อหาแบบอุปนัย ผลการศึกษาพบว่า แนวทางการเพิ่มจำนวนนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของภาควิชาเคมีอุตสาหกรรมประกอบไปด้วยปัจจัย 4 ประการ ตามแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าของ Michael Porter มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันและจะส่งผลต่อความสำเร็จของ การดำเนินงานด้านนี้ของภาควิชา ได้แก่ 1) กิจกรรม 2) การสร้างคุณค่า 3) ความได้เปรียบ และ 4) การแข่งขัน
Download
|
15 |
การพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมี 1 ตามมาตรฐานการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL)
ผู้แต่ง:
กาญจุรีย์ ว่องไวรัตนกุล
Keyword:
ห้องปฏิบัติการเคมี1 , ESPReL Peer Evaluation, ห้องปฏิบัติการปลอดภัย , ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
หน้า: 110 - 123
( Download: 308 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ศูนย์เครื่องมือวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ศคว.) มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีภารกิจหลักด้านการจัดการเรียนการสอนวิชาปฏิบัติการ โดยมีห้องปฏิบัติการในหน่วยงานมากกว่า 140 ห้อง ศคว. ตระหนักถึงความสำคัญเรื่องความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะห้องปฏิบัติการที่มีการใช้สารเคมี และจากนโยบายการจัดการความปลอดภัยตามมาตรฐานห้องปฏิบัติการวิจัยระดับสากลแห่งประเทศไทย ศคว.
ได้นำนโยบายส่งเสริมการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการในระดับชาติ ซึ่งเริ่มนำระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand: ESPReL) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มาใช้เมื่อปี พ.ศ.2562 โดยระยะแรกได้กำหนดห้องปฏิบัติการเคมี 1 เป็นห้องปฏิบัติการต้นแบบ เข้าสู่ระบบการประเมินเพื่อการยกระดับ
ความปลอดภัยห้องปฏิบัติการโดยมีการพัฒนาห้องปฏิบัติการเคมี 1 ตามโครงสร้างพื้นฐานของมาตรฐานการยกระดับความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศ ซึ่งมี 7 องค์ประกอบที่เชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ ดังนี้ 1) การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย 2) ระบบการจัดการสารเคมี 3) ระบบการจัดการของเสีย 4) ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ 5) ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย 6) การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ และ 7) การจัดการข้อมูลและเอกสาร จากการพัฒนาระบบทำให้ห้องปฏิบัติการเคมี 1 ได้รับผลการตรวจประเมินและรับรองห้องปฏิบัติการในรูปแบบ Peer evaluation คะแนนเต็มร้อยละ 100 ใน 5 องค์ประกอบ ร้อยละ 98 ใน 1 องค์ประกอบ และ
ร้อยละ 97 อีก 1 องค์ประกอบ
Download
|
16 |
ความท้าทายและกลยุทธ์การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาตามแนวทาง Outcome-Based Education (OBE): กรณีศึกษาหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษประยุกต์ศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์
ผู้แต่ง:
กิตติปัทม์ แสงงาม
Keyword:
ความท้าทายและกลยุทธ์, การพัฒนาหลักสูตร , การปรับปรุงหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา, การจัดการศึกษาที่มุ่งเน้นผลลัพธ์
หน้า: 124 - 136
( Download: 192 ครั้ง )
|
Download
|
17 |
การพัฒนาระบบการติดตามผลงานตีพิมพ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
จันทนา อ่อนดี
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, การติดตามผลงานตีพิมพ์, ฐานข้อมูลผลงานตีพิมพ์
หน้า: 137 - 150
( Download: 156 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการติดตามผลงานตีพิมพ์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาออกแบบการพัฒนาระบบในรูปแบบออนไลน์โดยใช้เครื่องมือในการพัฒนา ได้แก่ โปรแกรม PHP เทคโนโลยี API และฐานข้อมูล Oracle ระบบถูกออกแบบให้สามารถลดกระบวนการทำงานและความซ้ำซ้อนของข้อมูลทั้งระดับเจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัยระดับมหาวิทยาลัย และระดับคณะ/หน่วยงาน ซึ่งระบบที่พัฒนาสามารถใช้งานได้จริง โดยนักวิจัยและเจ้าหน้าที่ประสานงานวิจัยสามารถตรวจสอบข้อมูลผลงานตีพิมพ์ และนำข้อมูลไปประกอบการขอรับทุนวิจัย โดยผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้งาน จำนวน 72 ท่าน มีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการใช้งานระบบ เท่ากับ 4.11 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.51) ระดับ มาก และมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในการทำงานของระบบ เท่ากับ 4.29 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52) ระดับ มากที่สุด ผู้บริหารสามารถนำข้อมูลจากระบบไปวางแผนการตีพิมพ์ของนักวิจัยในคณะ/หน่วยงาน หรือปรับกลยุทธ์การบริหารด้านวิจัยต่าง ๆ ได้ ได้แก่ การกระตุ้นการทำผลงานตีพิมพ์ในฐานที่สูงขึ้น เพื่อการจัดอันดับของมหาวิทยาลัยต่อไป
Download
|
18 |
การวิเคราะห์ผลการจัดอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปาริดา จันทร์สว่าง
Keyword:
การจัดอบรม, ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, รูปแบบกิจกรรม, แผนผังก้างปลา
หน้า: 151 - 158
( Download: 148 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจเพื่อศึกษาข้อมูลและวิเคราะห์ผลการจัดอบรมความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างปีการศึกษา 2554 - 2563 โดยทำการวิเคราะห์แยกแยะปัจจัยที่ส่งผลต่อผลการจัดอบรมด้วยแผนผังก้างปลาและวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ด้วยสถิติเชิงพรรณนาต่อข้อมูลที่รวบรวมได้ จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดอบรมประกอบด้วย รูปแบบกิจกรรม ผู้เข้าร่วมอบรม งบประมาณและระยะเวลาในการอบรม โดยรูปแบบกิจกรรมมี 2 แบบคือ แบบที่ 1 การฟังบรรยาย การสาธิตและฝึกปฏิบัติ และแบบที่ 2 คือการฟังบรรยายเพียงอย่างเดียว จากข้อมูลการจัดกิจกรรมแบบที่ 1 ใช้เวลาในการอบรมเฉลี่ย 5.84 ชั่วโมงต่อครั้ง มีค่าใช้จ่ายในการอบรมเฉลี่ยเท่ากับ 215.70 บาทต่อคน คิดเป็นสัดส่วนของค่าอาหารร้อยละ 52.37 ค่าสารเคมีดับเพลิงร้อยละ 17.24 ค่าเอกสารบรรยายร้อยละ 12.95 ค่าตอบแทนวิทยากรร้อยละ 6.40 และค่าวัสดุอื่น ๆ ร้อยละ 4.36 ส่วนการจัดกิจกรรมแบบที่ 2 ใช้เวลาในการอบรมเฉลี่ยเท่ากับ 2.50 ชั่วโมงต่อครั้ง ค่าใช้จ่ายในการอบรมเฉลี่ยเท่ากับ 38.29 บาทต่อคน โดยเป็นค่าอาหารร้อยละ 95.5 และวัสดุอื่น ๆ ร้อยละ 4.5 จำนวนผู้เข้าอบรมน้อยที่สุด 138 คนและมากที่สุด 197 คนต่อปี โดยมีสัดส่วนเฉลี่ยของผู้เข้าอบรมเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรีร้อยละ 85.15 บัณฑิตศึกษาร้อยละ 11.98 และบุคลากรร้อยละ 2.87 ระดับความพึงพอใจต่อการจัดอบรมอยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด
Download
|
19 |
ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีความสัมพันธ์กับระดับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและ ความปลอดภัย คณะวิทยาการสุขภาพและการกีฬา มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
อรนุช กำเนิดมณ๊
Keyword:
ผลการเรียนรู้, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ (TQF), สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
หน้า: 159 - 170
( Download: 97 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติของนิสิตปริญญาตรี สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ นิสิตสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ชั้นปีที่ 1-4 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 194 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า 5 ระดับ แบบสอบถามมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.946 (α-Coefficent = 0.946) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ Multiple regression ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุของนิสิตมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ทั้ง 6 ด้าน เพศมีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ และด้านทักษะทางปัญญา ชั้นปีการศึกษามีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ และช่องทางการศึกษามีความสัมพันธ์กับผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ควรมีการเพิ่มช่องทางในการประชาสัมพันธ์การรับนิสิตให้มากขึ้น และเพิ่มช่องทางการเข้าศึกษาที่หลากหลายและครอบคลุมทุกพื้นที่การศึกษา
Download
|
20 |
การพัฒนาและการตรวจสอบความใช้ได้ของตัวอย่างน้ำควบคุมสำหรับควบคุมคุณภาพการทดสอบปริมาณน้ำด้วยวิธีไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์
ผู้แต่ง:
ทรงสุดา พรหมทอง, วัชระ แก้วสุวรรณ์
Keyword:
ตัวอย่างน้ำควบคุม, ปริมาณน้ำ, การไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์
หน้า: 171 - 181
( Download: 157 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวอย่างน้ำควบคุมสำหรับใช้ควบคุมคุณภาพการทดสอบปริมาณน้ำแทนการใช้วัสดุอ้างอิงที่มีความอันตรายและราคาสูง การเตรียมตัวอย่างน้ำควบคุมทำได้โดยใช้ไอโซโพรพานอลผสมกับน้ำปราศจากไอออนเพื่อให้ได้ตัวอย่างน้ำควบคุมที่มีค่าปริมาณน้ำเท่ากับ 1 ร้อยละโดยน้ำหนักการตรวจสอบความใช้ได้และจัดทำเป็นแผนภูมิควบคุมเพื่อใช้ควบคุมคุณภาพการทดสอบปริมาณน้ำด้วยวิธีการไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์คูลอมเมทรีและแบบวอลูมเมทรี ผลการศึกษาตัวอย่างน้ำควบคุมที่พัฒนาขึ้นมีช่วงการนำไปใช้งานด้วยแผนภูมิควบคุมที่ 0.99-1.04 ร้อยละโดยน้ำหนัก จากวิธีการไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์คูลอมเมทรี และ 1.00-1.02 ร้อยละโดยน้ำหนัก จากวิธีการไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์วอลูมเมทรี ผลความเที่ยงมีค่า ร้อยละส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมพัทธ์ช่วง 0.37-0.79 ผลจากการเปรียบเทียบปริมาณน้ำของตัวอย่างน้ำควบคุมระหว่างวิธีการไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์คูลอมเมทรีและวอลูมเมทรีประเมินด้วยผลทดสอบที (t-test) พบว่าไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และตัวอย่างน้ำควบคุมที่พัฒนาขึ้นมีอายุการจัดเก็บ 4 เดือนที่ยังคงให้ค่าปริมาณน้ำภายในช่วงแผนภูมิควบคุม ผลความแม่นซึ่งพิจารณาจากค่าร้อยละ การคืนกลับเฉลี่ยอยู่ในช่วง 99.37-100.94 ดังนั้นตัวอย่างน้ำควบคุมที่พัฒนาขึ้นสามารถเป็นทางเลือกสำหรับใช้เพื่อควบคุมคุณภาพการทดสอบปริมาณน้ำด้วยวิธีการไทเทรตแบบคาร์ลฟิชเชอร์ได้ การพัฒนานี้สามารถลดค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่าและลดความเสี่ยงจากการใช้วัสดุอ้างอิงที่มีความอันตรายตามระบบ GSH และเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในห้องปฏิบัติการ
Download
|
21 |
การประยุกต์ใช้ คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และ กูเกิลคาเลนดาร์ ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน
ผู้แต่ง:
ณัฎฐนิช พยนต์ยิ้ม, ปภาอร เขียวสีมา, ลักษิกา สว่างยิ่ง, พรพัฒน์ ธีรโสภณ
Keyword:
คิวอาร์โค้ด, กูเกิลฟอร์ม, กูเกิลคาเลนดาร์
หน้า: 182 - 192
( Download: 534 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจองห้องโดยประยุกต์ใช้ คิวอาร์โค้ด จากกูเกิลฟอร์มและกูเกิลคาเลนดาร์ และประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานระบบการจองห้องด้วย คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มร่วมกับกูเกิลคาเลนดาร์โดยการสร้างระบบการจองห้องและการตรวจสอบสถานะห้อง ประเมินความเหมาะสมของระบบการจองห้อง และสำรวจความพึงพอใจจากบุคลากรและนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มและ กูเกิลคาเลนดาร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี จากผลการประเมินความเหมาะสมของระบบการจองห้องด้วย คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และ กูเกิลคาเลนดาร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( = 4.33, s = 0.33) จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจำนวน 108 คน พบว่า ระบบคิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.43, S.D. = 0.62) และระบบ กูเกิลคาเลนดาร์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.36, S.D. = 0.65) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบ ระบบคิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มร่วมกับ กูเกิลคาเลนดาร์ ในการบริหารจัดการระบบการจองห้องคณะทันตแพทยศาสตร์ ผู้ใช้ระบบ มีความคิดเห็นว่าระบบจองห้องที่ทำขึ้น มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนและเวลาในการจองห้อง ระบบมีความเป็นปัจจุบันทันสมัย ช่วยประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
Download
|
22 |
การปรับปรุงกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา ด้วยแนวคิด ECRS คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
บรรณกร แซ่ลิ่ม
Keyword:
ปรับปรุงกระบวนการ, การประกันคุณภาพ, แผนผังกระบวนการไหล, แผนผังก้างปลา, หลักการลดความสูญเปล่า
หน้า: 193 - 204
( Download: 230 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สภาพและปัญหาอุปสรรค วิเคราะห์แนวทางปรับปรุง และนำเสนอผลการเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการบริหารจัดการข้อมูลในการประกันคุณภาพการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ด้วยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล แผนภาพการไหล กิจกรรมที่มีคุณค่า และกิจกรรมที่ไม่มีคุณค่า รวมถึงกิจกรรมที่จำเป็นต้องปฏิบัติและไม่จำเป็นต้องปฏิบัติ เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วยหลักการหาความสูญเปล่า ร่วมกับแผนผังก้างปลา เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาและปรับปรุงวิธีการทำงานด้วยหลักการ ECRS ผลการวิเคราะห์กระบวนการบริหารจัดการข้อมูลเพื่อการประกันคุณภาพการศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า สามารถลดกระบวนการลงจากเดิมต่องาน 39 กิจกรรม เหลือ 22 กิจกรรม ลดลง 17 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 43.59 ลดระยะเวลาในการทำงานจากเดิมต่องาน 10,055 นาที เหลือ 8,220 นาที ลดลง 1,835 นาที คิดเป็นร้อยละ 18.25 ลดทรัพยากรการใช้กระดาษจากเดิมต่องาน 17 แผ่น เหลือมาใช้ 2 แผ่น ลดลง 15 แผ่น คิดเป็นร้อยละ 88.24 และลดค่าใช้จ่ายการใช้กระดาษจากเดิมต่องาน 7.99 บาท เหลือ 0.94 บาท ลดลง 7.05 บาท คิดเป็นร้อยละ 88.24 ผลจากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาระบบสารสนเทศให้รองรับการใช้งาน บูรณาการตัวชี้วัดในทุกระดับและปรับปรุงฐานข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้ข้อมูลมีความถูกต้องครบถ้วน จัดทำคำอธิบาย คู่มือ หรือพจนานุกรมตัวชี้วัด เพื่อเป็นแนวทางในการรายงานข้อมูล และใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์รับส่งเอกสาร เพื่อลดระยะเวลาการรอคอย
Download
|
23 |
การพัฒนากระบวนการเตรียมซอฟต์แวร์ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์และการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์โดยประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์ส
ผู้แต่ง:
ถนอม กองใจ, อริษา ทาทอง
Keyword:
กระบวนการจัดเตรียม, ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์, ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส
หน้า: 205 - 212
( Download: 125 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการจัดเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ด้วยการประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์แบบโอเพนซอร์สเพื่อตรวจเช็คสถานะการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดการไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ จัดเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ และเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนากระบวนการดูแลและบริหารจัดการห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้กับหน่วยงานอื่น ๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรม FOG Server และโปรแกรมควบคุมคอมพิวเตอร์ระยะไกล Veyon งานวิจัยนี้ทำการทดสอบกระบวนการทำงานที่พัฒนาขึ้นกับเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 66 เครื่อง ในห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ของภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำงานที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการทำงานของผู้ดูแลห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้สามารถตรวจสอบและจัดเตรียมความพร้อมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดขั้นตอนและลดเวลาที่ใช้ในการทำงานลงได้ดังนี้ การตรวจสอบ การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เวลาลดลงร้อยละ 80 การตรวจสอบการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายใช้เวลาลดลงร้อยละ 90 การจัดการไฟล์ข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เวลาลดลงร้อยละ 88 การเปิดและปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เวลาลดลงร้อยละ 80 การจัดเตรียมระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ใช้เวลาลดลงจากวิธีการทำงานแบบเดิมร้อยละ 72
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |