1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
บทบรรณาธิการ |
4 |
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยในการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
Keyword:
สถิติ, บุคลากรสายสนับสนุน, ผลงานทางวิชาการ
หน้า: 1 - 10
( Download: 381 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยในการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนมีความแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยแต่ละเรื่อง ซึ่งการเลือกสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยพิจารณาจากคำถาม
วัตถุประสงค์การวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัย การออกแบบวิจัย และข้อควรระวังในการเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่
สำคัญคือ 1) อำนาจการทดสอบต่ำ เนื่องมาจากขนาดตัวอย่างไม่เพียงพอ และ 2) การฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของ
การทดสอบทางสถิติ แต่การเลือกใช้สถิติควรพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ตัวแปร ระดับของการวัด การสุ่ม
กลุ่มตัวอย่างหรือใช้ประชากรทั้งหมด องค์ประกอบเหล่านี้จำเป็นต้องนำมาร่วมพิจารณาในการตัดสินใจเลือกใช้
สถิติด้วยทุกครั้ง เพื่อไห้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ และความเชื่อมั่นอันจะนำไปสู่ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ
Download
|
5 |
การพัฒนาระบบการจองห้องเรียนและห้องประชุมออนไลน์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ผู้แต่ง:
สุรีย์พร แก้วหล่อ, นัทธพงค์ ภู่คง
Keyword:
ห้องเรียน, ห้องประชุม, ฐานข้อมูล, การจองห้อง
หน้า: 11 - 21
( Download: 249 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาระบบการจองห้องเรียนและห้องประชุมออนไลน์ 2) ประเมินคุณภาพของระบบการจองห้องเรียนและห้องประชุมออนไลน์ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบการจองห้องเรียนและห้องประชุมออนไลน์ของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน และผู้ใช้บริการจำนวน 101 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบการจองห้องเรียนและห้องประชุมออนไลน์ 2) แบบประเมินคุณภาพของระบบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้ระบบการจองห้องแบบออนไลน์ที่ใช้ในหน่วยงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) ผลการประเมินคุณภาพของระบบด้านหน้าที่ในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.29 ด้านประสิทธิภาพการทำงานของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.42 ด้านความสะดวกในการใช้งานของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.33 3) ผลการศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อระบบจากผู้ใช้งานด้านตรงตามความต้องการในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.43 ด้านประสิทธิภาพ การทำงานของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.48 และด้านความสะดวกในการใช้งานของระบบในภาพรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 4.37
Download
|
6 |
ระบบการนำองค์กรโดยผู้นำระดับสูงเพื่อการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (EdPEx) ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ดุสิดา แก้วสมบูรณ์
Keyword:
ระบบการนำองค์กร, ผู้นำระดับสูง, การบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศ
หน้า: 22 - 34
( Download: 161 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการและกระบวนการนำองค์กรของผู้นำระดับสูงในการกำหนดทิศทาง การนำองค์กร วิธีการและกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจทิศทางการนำองค์กร สร้างรูปแบบระบบการนำองค์กร กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้นำระดับสูง 3 คน บุคลากร 44 คน เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์เนื้อหา สรุปประเด็นประชุมปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม สังเคราะห์ข้อมูลเพื่อสร้างรูปแบบระบบการนำองค์กร พบว่า 1. วิธีการและกระบวนการนำองค์กร ใช้ปัจจัยนำเข้าภายนอกและภายใน ผ่านรูปแบบระบบการนำองค์กร 5 ขั้นตอน 1) ชี้นำและกำหนดทิศทาง โดยใช้ SWOT Analysis ผ่านประชาพิจารณ์และความเห็นชอบจากคณะกรรมการประจำคณะฯ 2) ถ่ายทอดสู่การปฏิบัติ โดยจัดทำแผนปฏิบัติการประจำปีกำหนดตัวชี้วัด มอบหมายผู้รับผิดชอบสู่ตัวชี้วัดรายบุคคลผ่านข้อตกลงปฏิบัติงาน 3) ติดตามประเมินผลและบริหารจัดการ ตามกรอบระยะเวลากำหนด 4) ยกย่อง เชิดชูสร้างขวัญกำลังใจ 5) ปรับปรุงและสร้างความยั่งยืน ตามวงจรคุณภาพ PDCA 2. วิธีการและกระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการรับรู้และเข้าใจทิศทางการนำองค์กร โดยทำแผนการสื่อสาร กำหนดประเด็นการสื่อสารสำคัญ เป้าหมาย รูปแบบที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมาย ความถี่ให้เหมาะสมกับประเด็น กำหนดกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ 1) บุคลากร 2) ผู้เรียน 3) ลูกค้าในอนาคต รูปแบบการสื่อสารภายในองค์กรที่บุคลากรให้ความสำคัญ มี 5 รูปแบบ 1) สื่อสารจากบนลงล่าง 2) สื่อสารจากล่างขึ้นบน 3) สื่อสารในแนวราบ 4) สื่อสารข้ามสายงาน 5) สื่อสารที่เน้นด้านคุณภาพของข่าวสาร ผู้นำระดับสูงสามารถนำรูปแบบระบบการนำองค์กรนี้ไปใช้ตัดสินใจบริหารจัดการนำองค์กรสู่ความเป็นเลิศและใช้วิธีการการสื่อสารดังกล่าวเพื่อสร้างการรับรู้และความเข้าใจทิศทางการนำองค์กรให้เกิดประสิทธิผลได้
Download
|
7 |
ความเครียดของบุคลากรและแนวปฏิบัติในการบริหารงานในสภาวะวิกฤติ ของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ศิริอรุณ แซ่โซว, จิราวรรณ พึ่งสาย, จิรภัทร์ คนเจน, ชุติมา ปฐมกำเนิด
Keyword:
ความเครียด, การบริหารการเปลี่ยนแปลง, สภาวะวิกฤติ, โควิด-19, คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
หน้า: 35 - 45
( Download: 249 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล ต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเครียดของบุคลากรคณะเวชศาสตร์เขตร้อนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และเพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการบริหารงานในสภาวะวิกฤติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน การศึกษาวิจัยดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจด้วยการใช้แบบประเมินความเครียดของกรมสุขภาพจิต และศึกษาแนวปฏิบัติในการบริหารองค์การจากประกาศและกิจกรรมที่เกี่ยวกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 พ.ศ. 2563 - พ.ศ. 2565 ผลการศึกษาระดับความเครียด จำนวน 2 ครั้ง พบว่าบุคลากรส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับน้อย ซึ่งความเครียดในระดับน้อยจะไม่คุกคามต่อการดำเนินชีวิต เมื่อจำแนกตามสังกัด พบว่าบุคลากรสังกัดโรงพยาบาลเวชศาสตร์เขตร้อนและบุคลากรสังกัดสำนักงาน มีความเครียดที่ระดับเครียดมากที่สุด ในช่วงคะแนน 10-15 ถือเป็นความเครียดระดับสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความล้มเหลวในการปรับตัวหรือมีความบกพร่องในการดำเนินชีวิต จนอาจเป็นสาเหตุนำไปสู่ความรุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ ผลการศึกษาแนวปฏิบัติในการบริหารงานในสภาวะวิกฤติของคณะเวชศาสตร์เขตร้อน พบว่าสามารถปรับการบริหารองค์การให้สอดคล้องต่อสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็ว ภายใต้การบริหารงานของผู้บริหารที่มีภาวะผู้นำตามรูปแบบ ViSTRA Model การวิจัยครั้งนี้สามารถนำข้อมูลไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของบุคลากรให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามภารกิจขององค์การอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ รวมถึงเพื่อพัฒนาและปรับรูปแบบการทำงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงสภาวะวิกฤติได้อย่างยั่งยืน
Download
|
8 |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2565
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
Keyword:
ปัจจัยที่มีผล , การตัดสินใจ, ศึกษาต่อ, ระดับปริญญาตรี
หน้า: 46 - 55
( Download: 597 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2565 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย จำนวน 297 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.76 - 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.83 และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 – 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลวิจัยในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2565 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35, S.D.=0.69) และเมื่อทำการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สูงเป็นอันดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.67) รองลงมาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ( =4.49, S.D.=0.63) ด้านครอบครัว ( =4.40, S.D.=0.64) ด้านอาจารย์ ( =4.35, S.D.=0.67) ด้านการประชาสัมพันธ์ ( =4.30, S.D.=0.65) ด้านเหตุผลส่วนบุคคล ( =4.21, S.D.=0.87) และด้านสภาพแวดล้อม ( =4.17, S.D.=0.76)
Download
|
9 |
การประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้ LibQUAL+TM
ผู้แต่ง:
อุฬาริน เฉยศิริ, นิลุบล โรจนสัตตรัตน์
Keyword:
คุณภาพบริการห้องสมุด, การประเมินคุณภาพบริการ, LibQUAL+TM
หน้า: 56 - 66
( Download: 187 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือ 1) เพื่อประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด โดยใช้ LibQUAL+TM ปี ค.ศ. 2006 2) เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด จำแนกตามกลุ่มผู้ใช้ เพศ ระดับการศึกษา ประเภทนิสิต และชั้นปี โดยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ สอบถามถึงบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ บริการที่พึงประสงค์ และบริการที่ได้รับจริงจากสำนักหอสมุด ใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นิสิต และอาจารย์ จำนวนรวมทั้งสิ้น 670 คน การวิเคราะห์ข้อมูล โดยหาค่าความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ T-test และ F-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นต่อบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ ทุกปัจจัยอยู่ในระดับปานกลาง ความคิดเห็นต่อบริการที่พึงประสงค์ และบริการที่ได้รับจริงอยู่ในระดับมาก 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับการประเมินคุณภาพบริการของสำนักหอสมุด ประกอบด้วยขอบเขตการยอมรับ ช่องว่างบริการที่เพียงพอ และช่องว่างบริการระดับสูง ผลการวิเคราะห์ พบว่า บริการที่ได้รับจริงของผู้ใช้บริการสูงกว่าบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ แต่ต่ำกว่าบริการพึงประสงค์ 3. การเปรียบเทียบบริการของสำนักหอสมุด จำแนกตามตัวแปร พบว่า กลุ่มผู้ใช้บริการและประเภทนิสิตที่ต่างกันมีความคิดเห็นคุณภาพบริการ แตกต่างกันทุกระดับคุณภาพบริการ ส่วนชั้นปีต่างกันมีความคิดเห็นคุณภาพบริการไม่แตกต่างกัน ทุกคุณภาพบริการ ในด้านเพศชายและเพศหญิง มีความคิดเห็นต่อบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ไม่แตกต่างกัน แต่มีความคิดเห็นต่อบริการที่พึงประสงค์และบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกัน และตัวแปรระดับการศึกษาที่ต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพบริการต่ำสุดที่ยอมรับได้ บริการที่คาดหวังไม่แตกต่างกัน ส่วนบริการที่ได้รับจริงแตกต่างกัน
Download
|
10 |
ความต้องการ แรงจูงใจ อุปสรรค และการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R): กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ภาสกร บุญคุ้ม, พลอยชมพู สุคัสถิตย์
Keyword:
ความต้องการ, แรงจูงใจ, อุปสรรค, งานประจำสู่งานวิจัย, บุคลากรสายสนับสนุน
หน้า: 67 - 80
( Download: 277 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการ แรงจูงใจ อุปสรรคในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 2) การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหาร จำนวน 2 คน และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 36 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์โดยมีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะทำ R2R (ร้อยละ 65.4) และไม่มีความต้องการทำ R2R (ร้อยละ 34.6) โดยเหตุผลของผู้ที่มีความต้องการทำ R2R ส่วนใหญ่ คือ พบปัญหาในงานจึงต้องการหาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 43.5) ส่วนเหตุผลของ ผู้ที่ไม่ต้องการทำ R2R ส่วนใหญ่ คือ มีภาระงานประจำมากเกินไปจึงไม่มีเวลาทำ (ร้อยละ 29.2) 2) แรงจูงใจ และอุปสรรคในการพัฒนางาน R2R คือ 2.1) แรงจูงใจในการพัฒนางาน R2R ได้แก่ ต้องการแก้ไขปัญหาใน การทำงาน พัฒนาศักยภาพตนเอง สร้างคุณค่าและความภูมิใจในการทำงาน การมีรายได้เพิ่ม และเนื่องจาก การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเป็นอย่างดี 2.2) อุปสรรคในการพัฒนางาน R2R ได้แก่ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงาน R2R โดยบุคลากรส่วนใหญ่เข้าใจว่าต้องเขียนเชิงวิชาการและมีความยุ่งยากซับซ้อน การขาดประสบการณ์และทักษะในการเขียน และการมีภาระงานประจำและภาระครอบครัวมาก จึงไม่สามารถจัดเวลาได้ 3) การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มี 4 รูปแบบคือ 3.1) การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนางาน R2R 3.2) การพัฒนาทักษะการเขียน 3.3) การกระตุ้นและติดตามอย่างต่อเนื่อง และ 3.4) การให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา
Download
|
11 |
ความคาดหวัง การรับรู้ และความพึงพอใจคุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดี กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ผู้แต่ง:
จรวยพร รอบคอบ
Keyword:
คุณภาพการบริการ, ความคาดหวัง, การรับรู้, ความพึงพอใจ, สำนักงานคณบดี
หน้า: 81 - 94
( Download: 132 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวัง การรับรู้ และความพึงพอใจคุณภาพ การบริการของสำนักงานคณบดี กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2) เปรียบเทียบความคาดหวัง การรับรู้ และความพึงพอใจคุณภาพการบริการระหว่างสำนักงานคณบดี และ 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดี กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหาร พนักงานสายวิชาการ กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 193 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย มีค่าความเชื่อมั่น (IOC) ระหว่าง 0.67 – 1.00 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแตกต่าง จัดลำดับ Man-whitney Kruskal-Wallis และ Bonferroni ทดสอบความแตกต่างรายคู่ ผลการศึกษาพบว่า 1) ระดับความคาดหวังและการรับรู้คุณภาพการบริการของสำนักงานคณบดี กลุ่มสำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.75, S.D.=0.38) การรับรู้ ( = 4.64, S.D.=0.41) ความพึงพอใจอยู่ในระดับมีความไม่พึงพอใจ (คะแนนช่องว่าง= -0.11) 2) เปรียบเทียบความคาดหวัง การรับรู้ และความพึงพอใจระหว่างสำนักงานคณบดี พบว่า ความคาดหวังทั้งในภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน การรับรู้แตกต่างกันในภาพรวมและรายด้าน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นธรรมของการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการตอบสนองต่อผู้รับบริการ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และมีความพึงพอใจในระดับไม่พึงพอใจ ไม่แตกต่างกัน ทั้งในภาพรวมและรายด้าน จัดลำดับความพึงพอใจจากมากไปน้อย ได้แก่ สำนักงานคณบดี E C D A และ B 3) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับความคาดหวังและ การรับรู้ พบว่า เพศที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในภาพรวมและด้านการรู้จักและเข้าใจผู้รับบริการแตกต่างกัน และ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากช่องทางเพื่อนร่วมงานที่แตกต่างกัน มีความคาดหวังในภาพรวมและรายด้าน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความเป็นรูปธรรมการของการบริการ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจ ด้านการให้ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการ แตกต่างกัน การดำรงตำแหน่งบริหารที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ด้านความเป็นรูปธรรมของบริการ แตกต่างกัน และ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากช่องทางเพื่อนร่วมงานที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ด้านการให้ ความเชื่อมั่นต่อผู้รับบริการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
12 |
ความคิดเห็นของสถานประกอบการต่อทักษะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปฏิบัติสหกิจศึกษา
ผู้แต่ง:
สุจิรา ผิวบาง
Keyword:
สหกิจศึกษา, ความคิดเห็นของสถานประกอบการ, ทักษะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา
หน้า: 95 - 104
( Download: 156 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของสถานประกอบการที่มีต่อทักษะที่พึงประสงค์ของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ปฏิบัติสหกิจศึกษาในปีการศึกษา 2564 ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ศึกษาจากกลุ่มประชากรทั้งหมด คือ พี่เลี้ยงของสถานประกอบการ ที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบ ควบคุมการปฏิบัติงาน หรือเป็นผู้ประเมินการปฏิบัติสหกิจศึกษาของนักศึกษา จำนวน 384 คน วิเคราะห์ข้อมูลระดับตัวแปรเดียว (Univariate Analysis) โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาที่ฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา ปีการศึกษา 2564 ส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.48 และเพศชาย ร้อยละ 25.52 เป็นนักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ ถึงร้อยละ 20.05 รองลงมา คือ สาขาวิชาสังคมศาสตร์ วิชาเอกพัฒนาสังคม ร้อยละ 16.93 และสาขาที่มีนักศึกษาฝึกปฏิบัติสหกิจศึกษา น้อยที่สุด คือ สาขาวิชาภาษาตะวันตก วิชาเอกภาษาสเปน เพียงร้อยละ 3.39 สถานประกอบการมีร้อยละของค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อทักษะที่พึงประสงค์ของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ในภาพรวม ถึงร้อยละ 92.09 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ร้อยละ 96.07 รองลงมา คือ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ร้อยละ 94.92 เป็นที่น่าสังเกตว่าสถานประกอบการมีความคิดเห็นต่อทักษะด้าน การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการแก้ปัญหา มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าทุกด้าน เท่ากับร้อยละ 87.34
Download
|
13 |
การพัฒนาระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยไลน์แชทบอท
ผู้แต่ง:
จีราวรรณ ทองลิ้ม
Keyword:
ไลน์แชทบอท, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน้า: 105 - 113
( Download: 164 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยการพัฒนาระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยไลน์แชทบอท ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยไลน์แชทบอท 2) เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรด้วยไลน์แชทบอท และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นโดย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นิสิต บุคลากรคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ และบุคคลภายนอก จำนวน 240 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แอปพลิเคชันไลน์ และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบตอบกลับและแจ้งข้อมูลทางการศึกษาสำหรับคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยการทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของระบบ พบว่า ระบบสามารถช่วยแจ้งข้อมูลข่าวสารให้แก่ผู้ใช้บริการได้โดยตรง นิสิตสามารถรับทราบข้อมูลการประชาสัมพันธ์กิจกรรมหรือข้อมูลทางการศึกษาภายในคณะฯได้มากขึ้น ลดภาระของเจ้าหน้าที่ในการตอบข้อซักถามในการให้บริการข้อมูลทางการศึกษาได้ลดลง โดยมีผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ย ( ) เท่ากับ 4.39 ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐาน (S.D.) มีค่าเท่ากับ 0.57 ผลการประเมินความพึงพอใจหลังจากผู้ใช้ได้ใช้แชทบอทสำหรับการบริการข้อมูลทางการศึกษา แล้วพบว่าความพึงพอใจของผู้ใช้บริการอยู่ในระดับ มาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 ค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานมีค่าเท่ากับ 0.69
Download
|
14 |
การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการดูแลสวนและภูมิทัศน์ของคนสวน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ยศนนท์ ศรีวิจารย์, นิกร นาชัยเพิ่ม, มยุรี ชาวดอน
Keyword:
คนสวน, การดูแลสวนและภูมิทัศน์, การดำเนินการ
หน้า: 114 - 122
( Download: 163 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสวนและภูมิทัศน์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรตำแหน่งคนสวน สังกัด กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ One Way ANOWA ผลการวิจัยพบว่า บุคลากร ตำแหน่งคนสวน สังกัด กองอาคารสถานที่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีความรู้ ความเข้าใจในการดูแลสวนและภูมิทัศน์ด้านความรู้ทั่วไป ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 6.99, S.D.= 1.53) ด้านความรู้เฉพาะตำแหน่งอยู่ในระดับมาก ( =17.43, S.D.=1.67) และผลการเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจในการดูแลสวนและภูมิทัศน์ ด้านความรู้ทั่วไป และด้านความรู้เฉพาะตำแหน่ง จำแนกตามระดับการศึกษา พบว่า บุคลากรตำแหน่งคนสวน มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่มีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสวนและภูมิทัศน์แตกต่างกัน และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ทำงานที่แตกต่างกันพบว่า บุคลากรตำแหน่งคนสวน โดยภาพรวมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสวนและภูมิทัศน์ไม่แตกต่างกัน ซึ่งมหาวิทยาลัยมหาสารคามควรให้ความสำคัญต่อนโยบายในการคัดเลือกบุคลากร ให้ได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาปฏิบัติงานให้องค์กรมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน และการพัฒนามหาวิทยาลัยมหาสารคามให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ “สู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของเอเชีย”
Download
|
15 |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ผ่านการคัดเลือกจากระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561
ผู้แต่ง:
อรวรรณ ชัยทวิชธานันท์
Keyword:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสม, ระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, รอบการรับ
หน้า: 123 - 133
( Download: 119 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต ระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่ผ่านการคัดเลือกจากระบบการคัดเลือกกลางบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2561 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต จำแนกตามรอบการรับของแต่ละสาขาวิชา และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต จำแนกตามรอบการรับของคณะ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตระดับปริญญาตรี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ฯ จำนวน 150 คน สถิติที่ใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว จากการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต ระดับปริญญาตรี พบว่า 1) นิสิตส่วนใหญ่ มีช่วงคะแนนเฉลี่ยสะสม อยู่ระหว่าง 2.51 - 3.00 คิดเป็นร้อยละ 42.00 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมของนิสิต พบว่า นิสิตส่วนใหญ่เข้ารอบที่ 1 (Portfolio) มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสมรวมเฉลี่ยสูงสุด (
Download
|
16 |
การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง:
วาทิศ วารายานนท์
Keyword:
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, มาตรฐานความปลอดภัย, ESPReL Checklist, BSL Checklist
หน้า: 134 - 143
( Download: 289 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความปลอดภัยและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) และรายการสำรวจความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BSL Checklist) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยทั้ง 2 เครื่องมือของปี 2565 เทียบกับปี 2564 พบว่า (1) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางเคมีจากการสำรวจด้วย ESPReL Checklist ใน 7 องค์ประกอบหลัก และมี 6 องค์ประกอบที่ต้องทำการยกระดับความปลอดภัย เนื่องจากมีร้อยละคะแนนอยู่ในช่วงร้อยละ 75–85 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2.1 การจัดการข้อมูลสารเคมี องค์ประกอบที่ 3.2 การลดการเกิดของเสีย องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 5.3 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไป และองค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร ซึ่งห้องปฏิบัติการควรเร่งหาแนวทางหรือมาตรการมารองรับ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย และ (2) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพจากการสำรวจด้วย BSL Checklist มีร้อยละคะแนนเกินร้อยละ 80 ทุกองค์ประกอบ
Download
|
17 |
ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ธานินทร์ เงินถาวร , อทิตา มู่สา, พิธาน ดลหมาน, ยุทธชัย ด้วงสวัสดิ์
Keyword:
ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ), คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 144 - 151
( Download: 334 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ในการศึกษาเชิงคุณภาพใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มที่ 2 ในการศึกษาเชิงปริมาณ จะใช้กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จากกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตร กลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มบุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) เหตุผลในการศึกษาต่อ คือ ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพิ่มพูนความรู้ ต่อยอดทางธุรกิจหรือสายอาชีพกฎหมาย เนื้อหาสาระวิชาต้องเป็นการนำความรู้ด้านกฎหมายและศาสตร์อื่น ๆ มาบูรณาการให้อยู่ในรูปแบบสหวิทยาการ เวลาเรียนต้องเป็นนอกเวลาราชการและช่วงเสาร์-อาทิตย์ ส่วนใหญ่ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวและทุนที่มาจากการสนับสนุนของหน่วยงานในการศึกษาต่อ ค่าเทอมที่เหมาะสมต่อภาคการศึกษา 50,000 บาท - 85,000 บาท หรือตลอดหลักสูตร 150,000 บาท - 350,000 บาท เน้นการทำวิทยานิพนธ์ มากกว่าการทำการค้นคว้าอิสระและวิจัยรูปแบบอื่น ๆ และเหตุผลในการเลือกสถานศึกษาในการศึกษาต่อ คือ ชื่อเสียงมหาวิทยาลัย และอยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานและสถานที่พักอาศัย 2) ผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยภาพรวมปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาต่อปริญญาเอก อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ตัวแปรทั้ง 7 ตัวแปร มีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01
Download
|
18 |
ประสิทธิภาพการประยุกต์ใช้แอปพลิเคชันสำหรับการพัฒนาระบบการยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษา ในห้องปฏิบัติการผ่านระบบออนไลน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
จาตุรนต์ กัณทะธง, นัฐพล ปันสกุล, น้ำเงิน จันทรมณี, ศศิวิมล บุตรสีเขียว, จิราพร ขำจันทร์
Keyword:
การพัฒนาระบบ, การยืม-คืน, ห้องปฏิบัติการ, ประสิทธิผล
หน้า: 152 - 162
( Download: 176 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental research) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของระบบการยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตสาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่ใช้บริการยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการ จำนวน 113 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ (1) การประยุกต์ใช้ระบบออนไลน์ Google Forms® และ Form Publisher มาพัฒนาระบบบริการยืม-คืนแบบออนไลน์ (2) แบบสอบถามประสิทธิผลของระบบการยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังในช่วงเดือนมิถุนายนและสิงหาคม ปีการศึกษา 2565 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอ้างอิง Wilcoxon Signed Rank Test กำหนดระดับนัยสำคัญ ทางสถิติที่ p-value < 0.05 ผลการศึกษา พบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 82.3 มีความถี่ในการใช้บริการยืม-คืน จำนวน 1 ครั้งต่อเดือน หลังพัฒนาระบบมีความพึงพอใจระดับมาก ร้อยละ 91.2 มีความพึงพอใจสูงสุดในด้านเจ้าหน้าที่มีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการอย่างดี ( = 4.7, S.D. = 0.50) ความพึงพอใจหลังพัฒนาระบบยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการ (Median = 4.3, IQR = 0.69) ดีกว่าก่อนพัฒนาระบบ (Median = 4.1, IQR = 0.66) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p-value = 0.03 อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามและพัฒนาระบบการยืม-คืน อุปกรณ์การศึกษาห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
Download
|
19 |
การพัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ ด้านความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ปิยะนันต์ จำนงสุทธเสถียร, พิชิต ลีรุ่งนาวารัตน์
Keyword:
การจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หน้า: 163 - 172
( Download: 458 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การให้บริการเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเสี่ยงจากการโดนโจมตีทาง ไซเบอร์ และถูกบุกรุกเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงได้พัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย (Security information and event management : SIEM) ของเครื่องแม่ข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการเว็บไซต์จำนวน 40 เครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการและเว็บเซอร์วิสที่ต่างกันและศึกษาโปรแกรมประเภทโอเพนซอร์สที่มีความสามารถจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยเพื่อนำมาพัฒนากระบวนการใหม่ พบว่าโปรแกรม Wazuh เป็นโปรแกรมประเภทโอเพนซอร์สที่มีความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่ข่ายต่าง ๆ และนำมาวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์แบบ Real-time เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ทันท่วงที เช่น การปิดกั้นการเข้าถึงจากผู้ประสงค์ร้ายได้ และยังสามารถวิเคราะห์สืบสวนหาร่องรอยการโดนโจมตีในอดีตได้อีกด้วย จากการติดตั้ง ตั้งค่า ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน พบว่ากระบวนการทำงานใหม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มาทำการวิเคราะห์และตรวจสอบด้วยระบบอัตโนมัติแบบ Real-time สามารถค้นหาและคัดกรองข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่ต้องการได้รวดเร็ว หากพบการโจมตีจะปิดกั้นโดยอัตโนมัติไม่ให้ผู้บุกรุกสามารถเข้าถึงเครื่องแม่ข่ายได้อีก รวมถึงโปรแกรมสามารถแสดงผลข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยเป็นกราฟข้อมูลทางสถิติที่สามารถเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณค่าระบบจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้หลายล้านบาทต่อปี
Download
|
20 |
การวิเคราะห์การยืมหนังสือของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีงบประมาณ 2563-2565
ผู้แต่ง:
จิณณพัต ชื่นชมน้อย
Keyword:
บริการยืม, การใช้บริการ, ห้องสมุด
หน้า: 173 - 182
( Download: 163 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อวิเคราะห์การยืมหนังสือของผู้ใช้บริการห้องสมุดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ปีงบประมาณ 2563-2565 จากการเก็บสถิติด้วยระบบ Millennium Circulation ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จากข้อมูลการใช้ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2562 ถึง วันที่ 30 กันยายน 2565 เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล และอธิบายผลแบบพรรณนา สถิติที่ใช้ด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ผลจากการวิเคราะห์ พบว่า สถิติการยืมทั้งหมด 3,783 ครั้ง ซึ่งเป็นหนังสือภาษาไทย 3,496 ครั้ง หนังสือภาษาต่างประเทศ 287 ครั้ง ผลจากการวิเคราะห์จำแนกประเภทข้อมูลที่มีสถิติการยืมสูงสุด คือ อาจารย์ จำนวน 1,898 ครั้ง (ร้อยละ 50.17) ซึ่งไม่ระบุสาขาวิชาของผู้ใช้ จำนวน 1,817 ครั้ง (ร้อยละ 48.03) สังกัดคณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ จำนวน 3,589 ครั้ง (ร้อยละ 94.88) หนังสือหมวดหมู่ HF การพาณิชย์ จำนวน 457 ครั้ง (ร้อยละ 12.08) โครงการจัดตั้งภาควิชาสังคมศาสตร์ จำนวน 1,275 ครั้ง (ร้อยละ 33.70) ส่วนภาควิชาที่ไม่มีสถิติการยืมหนังสือ คือ โครงการจัดตั้งภาควิชาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมภาษา และโครงการจัดตั้งภาควิชาการตลาดและโลจิสติกส์ ข้อเสนอแนะจากผลการวิเคราะห์ในครั้งนี้ ควรนำเสนอข้อมูลต่อผู้บริหารคณะทราบในการจัดทำแผนการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่าในการจัดซื้อหนังสือเข้าห้องสมุดให้มีความสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอน
Download
|
21 |
การพัฒนาต้นแบบระบบรายงานสถานะบทความวารสารวิชาการ
ผู้แต่ง:
เผด็จ สวิพันธุ์
Keyword:
ตัวต้นแบบ, การพัฒนาระบบ , รายงานสถานะ , บทความวารสารวิชาการ
หน้า: 183 - 191
( Download: 170 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยการพัฒนาต้นแบบระบบรายงานสถานะบทความวารสารวิชาการ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและการพัฒนาต้นแบบระบบรายงานสถานะบทความวารสารวิชาการ และเพื่อประเมินพึงพอใจในระบบรายงานสถานะบทความวารสารวิชาการ โดยมีวิธีวิจัยดังต่อไปนี้ 1. แบบประเมินความต้องการ 2. การพัฒนาต้นแบบระบบรายงานสถานะบทความวารสารวิชาการ โดยประยุกต์ใช้กระบวนการพัฒนาระบบงาน SDLC (System development Life Cycle : SDLC) มีดังนี้ 1. วางแผนโครงการ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาการจัดทำวารสารวิชาการ และหากลุ่มตัวอย่าง 2. วิเคราะห์ระบบ ผู้วิจัยหาข้อมูลวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาระบบนี้ 3. การออกแบบระบบ ผู้วิจัยออกแบบระบบเป็นผู้ใช้งาน 3 กลุ่ม 4. ดำเนินการ หลังจากพัฒนาระบบผู้วิจัยทำการทดสอบ และทดลองใช้งานจริง และ 5. บำรุงรักษา หรือปรับปรุงระบบ โดยอยู่ในรูปแบบเว็บไซต์โดยรองรับทุกอุปกรณ์ มีการเก็บข้อมูลบทความ ใช้ฐานข้อมูล MySQL Server ในองค์กร สามารถดึงข้อมูลได้อย่างสะดวก และสุดท้ายประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยพบว่า ด้านความต้องการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.47 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.75 แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.44 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.72 สรุปว่า ระบบนี้ สามารถนำเทคโนโลยีปรับใช้ในวารสารเล่มอื่น ๆ ได้ ช่วยลดเวลาในการสอบถามข้อมูลสถานะวารสาร สามารถค้นหาติดตามสถานะวารสารได้อย่างสะดวกรวดเร็ว และสามารถพิมพ์ใบตอบรับในกรณีวารสารได้ผ่านจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
Download
|
22 |
ความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีต่อระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
ผู้แต่ง:
อัจจิมา มวลประสิทธิ์พร
Keyword:
ความพึงพอใจ, ระบบสารสนเทศ, ระบบการเขียนวิทยานิพนธ์อิเล็กทรอนิกส์
หน้า: 192 - 200
( Download: 253 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีต่อระบบ iThesis และความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวรที่ทำวิทยานิพนธ์ด้วยระบบ iThesis ในปีการศึกษา 2561–2563 ที่ทำวิทยานิพนธ์สำเร็จแล้ว จำนวน 144 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความพึงพอใจของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร ที่มีต่อระบบ iThesis ตรวจสอบแบบสอบถามโดยวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อคำถามโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบความเที่ยงของเนื้อหา ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน คือ ด้านระบบ iThesis และการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย ความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อระบบ iThesis แบ่งออกเป็น 3 ประเด็น พบว่า 1) ฟังก์ชันในระบบ iThesis มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.91, S.D.=0.75) 2) การออกแบบระบบ iThesis มีระดับความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.67, S.D.=0.80) 3) กระบวนการจัดทำวิทยานิพนธ์ในระบบ iThesis มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.71, S.D.=0.76) ส่วนความพึงพอใจต่อการให้บริการของบัณฑิตวิทยาลัย พบว่า มีความพึงพอใจภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.79, S.D.=0.76)
Download
|
23 |
ผลกระทบของความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน ของบุคลากร คณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
มนัสนันท์ ช่อประพันธ์
Keyword:
ความผูกพันต่อองค์กร, ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน , บุคลากร, เป้าหมาย, ค่านิยม
หน้า: 201 - 214
( Download: 167 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร 2) เพื่อศึกษาระดับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากร และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของความผูกพันต่อองค์กรที่มีต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นบุคลากรของคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 119 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรอิสระที่ใช้ในการศึกษา คือ ความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากร ส่วนตัวแปรตามคือ ความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากร ผลการวิจัย พบว่า 1) ทั้งระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับความผูกพันต่อองค์กรและความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านของบุคลากร อยู่ในระดับมากและมีความแปรผันอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งคณะ โดยมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (4.09, 13.20%) และ (4.11, 12.65%) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากร พบว่า ความผูกพันต่อองค์กรในทุกด้านมีผลกระทบเชิงบวกต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวมของบุคลากร มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.429-0.680 แต่เมื่อนำ ตัวแปรทั้งหมดไปสร้างตัวแบบความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวม (ตัวแปรตาม) กับ ความผูกพันต่อองค์กรในแต่ละด้าน (ตัวแปรอิสระ) มีเพียง 2 ด้านเท่านั้นที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 คือ ด้านความเต็มใจ ทุ่มเท เสียสละเวลาให้องค์กร (WIL) และด้านการดำรงการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร (MEM) ส่วนด้านการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์กร (ACC) ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 เช่นกัน สำหรับสมการพยากรณ์ความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวมของบุคลากร คือ JOB = 1.436 +0.330(WIL) + 0.316(MEM) โดยมีค่าเฉลี่ยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.749 สามารถอธิบายความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวมของบุคลากร ได้ร้อยละ 56.10 (R2=0.561) มีค่าความคลาดเคลื่อนจากการพยากรณ์เท่ากับ 0.345
Download
|
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |
25 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
26 |
ปกหลัง |