1 |
ปกหน้า-สารบัญ |
2 |
ปกหน้า-ด้านใน |
3 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเอกชนแห่งหนึ่ง ในจังหวัดนครปฐม
ผู้แต่ง:
โสภิณ ทวีพงศากร, วันดี วจนะถาวรชัย, ยังซัน ชิน, อนุชา มาเรียน
Keyword:
พฤติกรรมเชิงจริยธรรม, นักศึกษา, คุณธรรม, จริยธรรม
หน้า: 1 - 11
( Download: 139 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาปริญญาตรี 410 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามพัฒนาจากแนวคิดของรุ่งนภา และคณะ (2560) การตรวจสอบความตรงของเนื้อหามีค่า IOC (Index of Item-Objective Consistency) อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.96, S.D.=0.35)เมื่อพิจารณารายข้อพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีค่าระดับความคิดเห็นเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ รักและสามัคคี ( =4.50, S.D.=0.45) สร้างสันติและการปรองดอง ( =4.18, S.D.=0.58) มีเป้าหมายและมุ่งความสำเร็จ ( =4.17, S.D.=0.66) กล้าหาญและเสียสละ ( =4.12, S.D.=0.56) คิดสร้างสรรค์และมีนวัตกรรม ( =4.04, S.D.=0.64) อาสาและช่วยเหลือ ( =3.98, S.D.=0.63) ซื่อสัตย์ และสุจริต ( =3.81, S.D.=0.65) ใส่ใจและใฝ่รู้ ( =3.62, S.D.=0.74) ให้อภัยและใจสุภาพ ( =3.60, S.D.=0.57) และ อดทน และอดกลั้น ( =3.58, S.D.=0.45) 2) ปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา ได้แก่ การปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมผ่านครอบครัว โดยสามารถทำนายความแปรปรวนในพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาได้ร้อยละ 11.8 และเขียนเป็นสมการในรูปคะแนนมาตรฐาน ดังนี้ Z (พฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษา) เท่ากับ 0.346 (การปลูกฝังจริยธรรมผ่านครอบครัว) ส่วนการเข้าร่วมกิจกรรมเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม และการปลูกฝังผ่านสถาบันการศึกษาไม่สามารถทำนายพฤติกรรมเชิงจริยธรรมของนักศึกษาได้
Download
|
4 |
การศึกษาสภาพผลผลิตงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
พิเชษฐ์ เทพสุวรรณ์
Keyword:
ผลผลิตงานวิจัย, บรรณมิติ, คณะวิทยาศาสตร์
หน้า: 12 - 22
( Download: 161 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพผลผลิตงานวิจัยของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ บุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ฯ ที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2507-2561 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยวิธีการทางบรรณมิติ ผลการวิจัยพบว่า ผลผลิตงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติของบุคลากรสังกัดคณะวิทยาศาสตร์ฯ มีจำนวน 4,437 เรื่อง ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 78.4 เป็นบทความวิจัยในวารสาร โดยร้อยละ 19.9 เป็นผลงานวิจัยตีพิมพ์ในสาขาวิชาวัสดุศาสตร์ ด้านความร่วมมือวิจัยกับต่างประเทศสูงสุดได้แก่ สหรัฐอเมริกา คิดเป็นร้อยละ 8.54 รองลงมาคือ ญี่ปุ่น ร้อยละ 6.13 จีน ร้อยละ 3.76 และอังกฤษ ร้อยละ 3.76 ส่วนหน่วยงานในไทยที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์ร่วมกันสูงสุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รองลงมาคือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ผลผลิตงานวิจัยตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติของคณะวิทยาศาสตร์ฯ สูงสุดมาจากภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ รองลงมาคือ ภาควิชาเคมี และภาควิชาชีววิทยา โดยผู้แต่งร่วมที่สำคัญสูงสุด คือ คณาจารย์ผู้เกษียณคณะวิทยาศาสตร์ฯ อดีตอาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์สังกัดหน่วยงานอื่น และศิษย์เก่าคณะวิทยาศาสตร์ฯ ซึ่งปัจจุบันเป็นอาจารย์
Download
|
5 |
การพัฒนาระบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา: กรณีศึกษารายวิชาที่เปิดสอนของ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
อนุวัฒน์ พัฒนเชียร, สุวัฒน์ อัครบวร
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ, ทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา
หน้า: 23 - 35
( Download: 177 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา: กรณีศึกษารายวิชาที่เปิดสอนของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชา: กรณีศึกษารายวิชาที่เปิดสอนของคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาฯ ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิดตามวิธี SDLC (Software Development Life Cycle) และพัฒนาระบบในรูปแบบของ Web Application ด้วยภาษา PHP และใช้ Maria DB ในการจัดการฐานข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยงานวิจัยครั้งนี้พบว่า ระบบสามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ทั้งในส่วนเจ้าหน้าที่หลักสูตร สามารถสร้างแบบประเมินทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาได้จากระบบ อาจารย์ผู้สอนสามารถนำผลการประเมินทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาไปใช้งานได้ และนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาของคณะวิทยาการจัดการ สามารถประเมินทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาที่นักศึกษาลงทะเบียนได้ อีกทั้งผู้บริหารสามารถติดตามสถานะการทวนสอบผลสัมฤทธิ์รายวิชาในภาพรวมทั้งหมดของคณะได้ โดยผลการประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบจากผู้ใช้งาน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม ผู้วิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของนักศึกษาอยู่ในระดับมาก ( ) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของอาจารย์ผู้สอนอยู่ในระดับมากที่สุด ( ) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของเจ้าหน้าที่หลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ( ) ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการใช้งานระบบของผู้บริหาร อยู่ในระดับมากที่สุด ( ) และค่าเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมการทํางานของระบบโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับมาก ( )
Download
|
6 |
การรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม การบริหาร และการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
บรรณกร แซ่ลิ่ม
Keyword:
ประกันคุณภาพ, อุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หน้า: 36 - 46
( Download: 126 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ ความรู้ความเข้าใจ ทัศนคติ การมีส่วนร่วม การบริหาร และการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาของคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 97 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.66–1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.77–0.99 วิเคราะห์โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรคณะศิลปศาสตร์มีความคิดเห็นต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพตามวงจรคุณภาพ (PDCA) โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการวางแผน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.72 ด้านการตรวจสอบและประเมินผล มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 ด้านการนำผลประเมินมาปรับปรุง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.58 ด้านการดำเนินงาน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 ตามลำดับ สำหรับการรับรู้
เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านคุณภาพข้อมูลข่าวสาร มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 3.65 อยู่ในระดับมาก ความรู้ ความเข้าใจ เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจในการประเมินผลตามเกณฑ์ประกันคุณภาพ มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 2.57 อยู่ในระดับรู้มาก ทัศนคติในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.66 อยู่ในระดับมาก การมีส่วนร่วมในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.15 อยู่ในระดับปานกลาง และการบริหารในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.71 อยู่ในระดับมาก ผลการวิจัยในครั้งนี้ ผู้บริหารและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถนำไปใช้กำหนดนโยบายและกิจกรรมพัฒนาการดำเนินงานประกันคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้ความรู้ความเข้าใจว่า การประกันคุณภาพเป็นเครื่องมือที่ใช้พัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ มุ่งเน้นผลลัพธ์ที่เป็นเป้าหมายองค์กร มิใช่เพื่อเป็นการตอบโจทย์ตามเกณฑ์การประกันคุณภาพเท่านั้น
Download
|
7 |
การนำวิธีปฏิบัติไอทิล (ITIL) มาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาบริการ งานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการทดสอบซอฟต์แวร์
ผู้แต่ง:
สิทธี สามกองงาม, กิ่งกาญจน์ กันยิ่ง
Keyword:
การทดสอบซอฟต์แวร์, ขั้นตอนการทดสอบ, มาตรฐาน ITIL
หน้า: 47 - 56
( Download: 266 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ปัจจุบันการดำเนินงานขององค์กรมีการพัฒนาและนำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยสนับสนุนในการให้บริการ โดยการให้บริการได้พัฒนาซอฟต์แวร์ขึ้นมาใช้ในการจัดการปฏิบัติการ ขั้นตอนที่สำคัญของการนำซอฟต์แวร์มาใช้งาน คือ การตรวจสอบการทำงานของซอฟต์แวร์ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของผู้ใช้งาน การตรวจสอบการทำงานของซอฟต์แวร์มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินและปรับปรุงคุณภาพของซอฟต์แวร์โดยการตรวจหาข้อผิดพลาดและปัญหาที่เกิดขึ้นและทำการแก้ไขปัญหา เพื่อทดสอบว่าซอฟต์แวร์นั้นมีความถูกต้อง ลดข้อผิดพลาดของการใช้งานและมีประสิทธิภาพที่สามารถนำไปใช้งานได้โดยไม่มีปัญหาหรือมีผลกระทบใด ๆ ต่อผู้ใช้งาน ทำให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างสมบูรณ์และตรงตามความต้องการอย่างต่อเนื่องในการให้บริการ จึงได้มีการนำระบบไอทิลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาการบริการงานเทคโนโลยีสารสนเทศด้านการทดสอบซอฟต์แวร์ โดยนำกระบวนการปฏิบัติไอทิลมาดำเนินการเป็นต้นแบบ ในด้านการทดสอบซอฟต์แวร์จะนำเรื่อง การส่งมอบการบริการ (Service Transition) เป็นหนึ่งใน 5 แกนหลักของ ITIL จะเป็นส่วนที่สามที่นำข้อมูลจากส่วน Service Design มาทำแผนส่งมอบบริการใหม่หรือปรับเปลี่ยนบริการเดิมมาใช้ในการวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทำงาน เพื่อให้ได้ขั้นตอนการทำงานที่สามารถนำมาปรับปรุงและพัฒนากระบวนการทำงานเดิมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Download
|
8 |
บทบาทสำคัญของการนำโมไบล์แอปพลิเคชันมาประยุกต์ใช้ ในงานบริการรับบริจาคเลือด
ผู้แต่ง:
กิ่งกาญจน์ กันยิ่ง, สิทธี สามกองงาม
Keyword:
สมาร์ตโฟน, โมไบล์แอปพลิเคชัน, การแพทย์, การบริจาคเลือด
หน้า: 57 - 68
( Download: 195 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ในยุคแห่งความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สมาร์ตโฟนถือเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิตของมนุษย์ นอกจากเพื่อโทรออกและรับสายแล้ว โมไบล์แอปพลิเคชันนับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยเพิ่มความสามารถให้กับสมาร์ตโฟน เพื่อตอบสนองความต้องการ สนับสนุน และอำนวยความสะดวกสบาย ให้การใช้ชีวิตประจำวันของผู้ใช้งานสมาร์ตโฟนนั้นดีมากขึ้น และด้วยความสามารถในหลาย ๆ ด้านของโมไบล์แอปพลิเคชันจึงถูกนำมาประยุกต์ใช้ในทางธุรกิจ ทั้งองค์กรภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อสนับสนุน ส่งเสริม เพิ่มศักยภาพให้การทำงานและการให้บริการสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย ได้ง่าย สะดวกและรวดเร็วขึ้น โมไบล์แอปพลิเคชันถูกนำมาประยุกต์ใช้ในหลาย ๆ งาน เช่น งานด้านการแพทย์ การนำโมไบล์แอปพลิเคชันมาประยุกต์ใช้เพื่อการให้บริการรับบริจาคเลือดในด้านต่าง ๆ เช่น การแจ้งข่าวสารประชาสัมพันธ์ออนไลน์กรณีขาดแคลนเลือด หรือ การแจ้งเฉพาะกลุ่มผู้บริจาคเลือดในกรณีต้องการหมู่เลือดพิเศษ การแจ้งเตือนการเข้ารับบริจาคเลือดครั้งถัดไป การค้นหาศูนย์รับบริจาคเลือดที่ใกล้ที่สุด การเตรียมความพร้อมและคัดกรองผู้บริจาคเลือดเบื้องต้นก่อนเข้ารับบริการ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อช่วยเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพการบริการของศูนย์รับบริจาคเลือดให้มีความทันสมัยตอบรับกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีและเพื่อให้การติดต่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงได้ง่าย รวดเร็วและประหยัดเวลามากขึ้น พร้อมทั้งช่วยกระตุ้นและสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิผลให้เลือดในคลังเพียงพอและมีสำรองต่อปริมาณการใช้เลือดในผู้ป่วย
Download
|
9 |
ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
ณธชัย แจ๋วเจริญกุล
Keyword:
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
หน้า: 69 - 78
( Download: 134 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยสถาบันเรื่อง ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มประชากร คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2–4 ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก ได้จำนวน 391 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางคอมพิวเตอร์และสถิติที่ใช้ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยด้านพฤติกรรมระหว่างเรียน ไม่มีการทวนเนื้อหาหลังเรียน = 61.60 มีการทวนเนื้อหาก่อนสอบ = 97.40 มีการเข้าร่วมโครงการ/กิจกรรม =100.00 และไม่ทำงานนอกเวลาเรียน = 73.60 2) ปัจจัยด้านกระบวนการเรียนรู้ในชั้นเรียน = 3.36 S.D. = 0.965 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง 3) ปัจจัยด้านเจตคติต่อวิชาชีพ = 3.48 S.D. = 1.130 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 4) ปัจจัยด้านแรงจูงใจของนักศึกษา = 4.06, S.D. = 1.126 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 5) ปัจจัยด้านการใช้เวลาว่างของนักศึกษา = 3.02, S.D. = 1.442 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับปานกลาง 6) ปัจจัยด้านการทำงานเป็นทีม = 3.89, S.D. = 0.715 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 7) ปัจจัยด้านคุณภาพอาจารย์ผู้สอน = 3.99, S.D. = 1.280 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก 8) ปัจจัยด้านสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ของสถาบัน = 3.51, S.D. = 0.927 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก และ 9) ปัจจัยด้านการสนับสนุนของครอบครัว/ผู้ปกครอง = 4.01, S.D. = 1.188 มีความเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบรับสมัครและรายงานผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ ตามเกณฑ์มาตรฐาน กรณีศึกษา: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
เพียงพิศ สุกแดง
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, การสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษ, การพัฒนาระบบ
หน้า: 79 - 90
( Download: 140 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษางานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบรับสมัครสอบและรายงานผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษตามเกณฑ์มาตรฐาน และศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบฯ ผู้วิจัยได้ออกแบบและพัฒนาระบบรับสมัครสอบและรายงานผลฯ เพื่อช่วยลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และอำนวยความสะดวกของนักศึกษาในการสมัครสอบ สามารถใช้งานได้ง่าย และสรุปรายงานผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษในภาพรวมระดับคณะ ทำให้เกิดประโยชน์ ประสิทธิภาพในการดำเนินงาน ระบบที่พัฒนาในรูปแบบออนไลน์ โดยใช้เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา ได้แก่ Yii Framework, โปรแกรมภาษา PHP และระบบจัดการฐานข้อมูล MySQL โดยการประเมินผลความพึงพอใจการใช้งานของระบบแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ การประเมินประสิทธิภาพของระบบจากผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 3 ท่าน ซึ่งการประเมินความพึงพอใจด้านความสามารถของระบบภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.43) และประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานกลุ่มนักศึกษาที่ใช้งาน จำนวน 100 คน ผลการประเมินแสดงให้เห็นว่า ประโยชน์ความพึงพอใจภาพรวมของระบบ อยู่ในระดับมาก ( = 4.17) จากการประเมินจึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินการจัดสอบและติดตามผลการสอบวัดความรู้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Download
|
11 |
ภาพลักษณ์องค์กรของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในทัศนะของผู้รับบริการ
ผู้แต่ง:
ณัฐวรรธน์ ทรัพย์สิน
Keyword:
ภาพลักษณ์, การสื่อสารองค์กร, บริการวิชาการ
หน้า: 91 - 100
( Download: 113 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาพลักษณ์ของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใน 7 ด้าน อันได้แก่ ด้านการให้บริการวิชาการในรูปแบบ ต่าง ๆ ด้านการจัดจำหน่ายสินค้า ด้านบุคลากร ด้านสถานที่ ด้านการสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์/โรงงานต้นแบบ และด้านการมีส่วนร่วมกับสังคมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย รวมถึงการศึกษามุมมองและความคิดเห็นของผู้รับบริการต่อลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อภาพลักษณ์ศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร ในภาพรวมทุกด้าน พบว่า ผู้รับบริการมีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์ในระดับดีมาก และเมื่อพิจารณาภาพรวมในแต่ละด้าน พบว่า มีการรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านบุคลากรสูงที่สุด มีภาพลักษณ์ในระดับดีมาก รองลงมา คือ ภาพลักษณ์ด้านการมีส่วนร่วมกับสังคมภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยมีภาพลักษณ์ในระดับดีมาก และน้อยที่สุด คือ ภาพลักษณ์ด้านสถานที่ (โรงงานต้นแบบ) มีภาพลักษณ์ในระดับดีมาก ผลการศึกษาความคิดเห็นต่อลักษณะเฉพาะที่ โดดเด่นของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตร พบว่า ผู้รับบริการเลือกเข้ามาใช้บริการ เนื่องจากเป็นหน่วยงานสถาบันการศึกษา ซึ่งเมื่อเข้ามาใช้บริการแล้วทำให้เกิดความประทับใจและรู้สึกไว้วางใจในความรู้ ความสามารถของบุคลากร และเหตุผลที่จะกลับมาใช้บริการ คือ ความน่าเชื่อถือของหน่วยงานสำหรับการต่อยอดงานวิจัย สามารถนำผลการศึกษาไปวิเคราะห์ร่วมกับเครื่องมือทางการตลาด เพื่อสร้างแนวทาง การส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี และแสดงความเป็นตัวตนของศูนย์บริการธุรกิจอุตสาหกรรมเกษตรให้เป็นที่ประจักษ์ได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Download
|
12 |
การวิเคราะห์ข้อสอบปรนัย: ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
Keyword:
การวิเคราะห์ข้อสอบ, ข้อสอบปรนัย, ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ
หน้า: 101 - 111
( Download: 266 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อสอบปรนัยตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ ซึ่งเป็นกระบวนการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบ เพื่อนำข้อมูลการวิเคราะห์มาปรับปรุงข้อสอบเพื่อใช้ในโอกาสต่อไป การวิเคราะห์ข้อสอบสามารถการวิเคราะห์เชิงปริมาณเป็นตัวเลข และการวิเคราะห์คุณภาพข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ แบบ 3 พารามิเตอร์ ได้แก่ ค่าอำนาจจำแนก ค่าความยาก และค่าโอกาสการเดา ข้อสอบที่ดีมีคุณภาพจะส่งผลให้การวัดผลมีความน่าเชื่อถือ ทำให้การตัดสินผลการสอบมีความยุติธรรมมากขึ้น และยังสามารถคัดเลือกข้อสอบที่ตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เพื่อในไปจัดทำคลังข้อสอบ
Download
|
13 |
การพัฒนาระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ผู้แต่ง:
กรกฎ ผกาแก้ว
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, Google Forms, ระบบอิเล็กทรอนิกส์, ประกาศนียบัตรออนไลน์
หน้า: 112 - 119
( Download: 242 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบ e-Certificate ของศูนย์สนับสนุนและพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยศรีปทุม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ระบบ e-Certificate ซึ่งมีการออกแบบระบบโดยใช้กรอบแนวคิดตามวิธี SDLC และพัฒนาระบบในรูปแบบของ Web Application ด้วย Google Form และใช้ส่วนเสริม Add-ons Certify'emเป็นบริการของ Google ที่พัฒนาขึ้นมา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมเดิมให้สูงขึ้น รวมทั้งประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยลดความผิดพลาดของข้อมูล และเป็นการลดการใช้ทรัพยากรอีกทางหนึ่ง และยังช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตอีกด้วย และได้มีการสำรวจความพึงพอใจจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน ได้ให้ความเห็นว่า ระบบ e-Certificate มีประโยชน์เป็นอย่างมาก และมีความพึงพอใจในความสวยงาม และน่าสนใจของรูปแบบ e-Certificate การเข้าถึงระบบทำได้ง่ายและรวดเร็ว การจัดรูปแบบของระบบง่ายต่อการใช้งาน ความพึงพอใจภาพรวมค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.84 ซึ่งอยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ 0.38
Download
|
14 |
การส่งเสริมการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยคริสเตียน: การศึกษาเชิงคุณภาพ
ผู้แต่ง:
อิทธิพร ขำประเสริฐ, เสาวลักษณ์ นัทธีศรี
Keyword:
แนวทางการพัฒนา , การฝึกอบรมวิชาชีพสุขภาพ , สถาบันอุดมศึกษา
หน้า: 120 - 130
( Download: 109 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษา 1) แนวทางการส่งเสริมการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพและ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการส่งเสริมการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพประชากร คือ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยเป็นผู้บริหาร และอาจารย์ที่มีประสบการณ์ตรงเกี่ยวกับการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพ จำนวน 5 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 1 ชุด ทำการตรวจสอบคุณภาพได้ค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการสรุปวิเคราะห์เนื้อหาจากการวิจัยพบว่า 1) ผู้ให้ข้อมูลหลักได้นำเสนอ “แนวทาง” การส่งเสริมการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพตามกลยุทธ์ทางการตลาด 7 ด้าน ได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และด้านกระบวนการ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อแนวทางการส่งเสริมการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพ ประกอบด้วย 2.1) การจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ 2.2) การสนับสนุนเงินทุนเพื่อพัฒนานวัตกรรมสุขภาพ 2.3) การสร้างอาจารย์ที่มีความเชี่ยวชาญครอบคลุมกับประเด็นปัญหาด้านสุขภาพ 2.4) การเพิ่มการตกลงความร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก และ 2.5) การนำผลการดำเนินงานในครั้งที่ผ่านมาปรับปรุงการจัดโครงการ ข้อค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้จึงให้แนวทางการดำเนินงานแก่หลักสูตร คณะวิชาสามารถนำไปวางแผน และทบทวนการจัดโครงการฝึกอบรมวิชาชีพด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
Download
|
15 |
ประวัติศาสตร์การพัฒนาอุดมศึกษาของสหรัฐอเมริกา: รัฐ มหาวิทยาลัยและสังคม
ผู้แต่ง:
เกรียงชัย รุ่งฟ้าใหม่
Keyword:
อุดมศึกษา , การพัฒนา , มหาวิทยาลัย , สหรัฐอเมริกา , ประวัติศาสตร์
หน้า: 131 - 140
( Download: 162 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ความสำเร็จของอุดมศึกษาประเทศสหรัฐอเมริกาถือเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจในหลายมิติ บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเชิงลึกและวิเคราะห์วิวัฒนาการและบทบาทของอุดมศึกษาของประเทศสหรัฐอเมริกากับการพัฒนาสังคมและประเทศนับตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน กรอบแนวคิดที่ใช้ในการศึกษาพัฒนาการอุดมศึกษานี้ คือ แนวคิด 5 ด้านอันประกอบด้วย รัฐ (State) มหาวิทยาลัย (University) สังคม (Society) สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง (Changing Environments) และหน้าที่การทำงานของอุดมศึกษา (Higher Education Functionality) ผลการวิเคราะห์วิวัฒนาการอุดมศึกษาสหรัฐอเมริกาสามารถแบ่งออกเป็น 4 ช่วงสำคัญ ได้แก่ (1) ช่วงภายใต้อาณานิคมของอังกฤษและการปฏิวัติอเมริกา โดยช่วงดังกล่าวหน้าที่หลักของมหาวิทยาลัย คือ การถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับศาสนาและการสร้างความเป็นสุภาพบุรุษ (2) จุดเริ่มต้นของอุดมศึกษาอเมริกาสมัยใหม่ ในยุคนี้มีปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการพัฒนาอุดมศึกษา ได้แก่ การประยุกต์ใช้โมเดลของฮุมโบลท์ของเยอรมัน บทบาทที่สำคัญของอธิการบดียุคบุกเบิก Morrill Land Grant Acts และการบริจาคให้แก่อุดมศึกษา (3) ยุคทองของอุดมศึกษาอเมริกา ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ GI Bill การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา และการไหลเข้ามาของผู้อพยพที่มีความสามารถสูง และการประท้วงของนักศึกษา และ (4) ระบบตลาดในอุดมศึกษาอเมริกา ระบบตลาดได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและเป็นช่วงที่ภาคอุตสาหกรรมและบริษัทข้ามชาติเข้ามามีบทบาทต่ออุดมศึกษา
Download
|
16 |
ระบบจัดทำคำขอและติดตามโครงการงบประมาณเงินรายได้: กรณีศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
ผู้แต่ง:
สาวิตรี วงษ์นุ่น , ภัทรา สหะวิริยะ
Keyword:
งบประมาณ , เงินรายได้, งานแผน, ระบบสารสนเทศ, เว็บแอปพลิเคชัน
หน้า: 141 - 150
( Download: 132 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การจัดทำคำของบประมาณเงินรายได้คณะแบบออนไลน์ (E-Budget and Project Tracking System) พัฒนาขึ้นตามหลักวงจรการพัฒนาระบบ มีฟังก์ชันหลัก ได้แก่ การจัดทำคำของบประมาณ/แก้ไข/ยืนยัน ติดตาม การพิมพ์เอกสาร การแจ้งเตือนการดำเนินโครงการ ระบบใช้งานจริงแบบเต็มรูปแบบในปีงบประมาณ 2562 ช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ปฏิบัติงานผู้บริหาร ในการจัดทำคำของบประมาณเงินรายได้ การติดตามตรวจสอบสถานะการดำเนินงานและการใช้งบประมาณ ให้เป็นไปตามแผนงานและช่วงเวลาที่กำหนดลดระยะเวลาการพิจารณาร่างโครงการจากเดิมที่ใช้ระยะเวลาถึง 2 วันทำการ นับรวมหลังเวลาราชการด้วย หลังจากมีการใช้งานระบบที่พัฒนาขึ้นใช้ระยะเวลาในการพิจารณาร่างโครงการเพียง 0.5 วันทำการ โดยหลังจากการพัฒนาระบบ คณะได้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารงานด้านงบประมาณ ที่มีข้อมูลเพื่อสนับสนุน เพื่อการตัดสินใจวางแผน ช่วยประมาณการงบประมาณในปีถัดไปได้อย่างถูกต้อง ใกล้เคียง มีประสิทธิภาพ แม่นยำ ด้วยข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ตรงตามวัตถุประสงค์ ผลการประเมินการใช้งานระบบแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ย ที่ 4.13 (S.D. = 0.38) ด้านการออกแบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ค่าคะแนนอยู่ที่ 4.07 (S.D. = 0.40) และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการใช้งานระบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าคะแนนเฉลี่ย 4.17 (S.D. = 0.41) ค่าเฉลี่ยรวมผล
การประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานภาพรวมอยู่ 4.12 สรุปได้ว่า อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
Download
|
17 |
ความต้องการในการพัฒนาของบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
เขมณัฏฐ์ มาศวิวัฒน์, กัลยกร นราวัฒนะ, นิสาชล สันหมาน
Keyword:
บุคลากรสายสนับสนุน, ความต้องการในการพัฒนา, การเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
หน้า: 151 - 159
( Download: 143 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทักษะที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน และ 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน โดยเก็บข้อมูลจากบุคลากรสายสนับสนุนคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทุกรายจำนวน 33 คน (N = 33 คน) ใช้เครื่องมือวิจัย 2 ประเภท ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาจากการสัมภาษณ์ด้วยกิจกรรมสนทนากลุ่มเฉพาะเพื่อร่วมกันหาทักษะที่จำเป็นในแต่ละกลุ่มงาน จำนวน 16 กลุ่มงาน พบว่า มีประเด็นร่วมที่เป็นความต้องการในการพัฒนาทักษะที่ใช้ในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนโดยเรียงลำดับจากเรื่องที่มีความต้องการพัฒนาเรียงลำดับจากมากที่สุด 5 เรื่อง คือ 1) การพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษ (ร้อยละ 75.00) 2) การพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ (ร้อยละ 56.25) 3) การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานที่รับผิดชอบ (ร้อยละ 68.75) 4) การพัฒนาทักษะการสื่อสาร (ร้อยละ 25.00) และ 5) การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์/สังเคราะห์/การทำวิจัย (ร้อยละ12.50) ในขณะที่ผลการศึกษาความต้องการพัฒนาเข้าสู่ตำแหน่งระดับสูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุนระบุว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (µ =3.48, ơ = 0.90) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า บุคลากรมีความต้องการเข้ารับการอบรม 3 ด้าน ที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ กระบวนการเข้าสู่ตำแหน่งสูงขึ้น (µ =3.94, ơ = 0.97) การจัดทำคู่มือปฏิบัติงานหลัก (µ =3.76, ơ = 0.97) และการจัดทำผลงานเชิงวิเคราะห์หรือสังเคราะห์ (µ =3.73, ơ = 1.07)
Download
|
18 |
คำเรียกสีในภาษามือไทย
ผู้แต่ง:
มุกดา กุดดู่เดิม, พวงผกา จันยาวงศ์, มุกดา บุญมี, รัชนี เพ็ชรพูล, สิรินทรา ฤทธิเดช
Keyword:
คำเรียกสี, ภาษามือไทย, คำเรียกสีพื้นฐาน, คำเรียกสีไม่พื้นฐาน
หน้า: 160 - 167
( Download: 202 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคำเรียกสีพื้นฐานและคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษามือไทย ผู้เขียนได้วิเคราะห์และจัดกลุ่มดังนี้1)พบคำเรียกสีพื้นฐานในภาษามือไทยมี 2 วิธี จำนวน 10 สี ดังนี้ 1.1) ใช้การชี้ส่วนต่าง ๆของร่างกาย มีทั้งหมด 3 สี คือ สีแดง สีดำ และสีขาว 1.2) ใช้ตัวสะกดนิ้วมือไทยตัวอักษรตัวแรก (initial signlanguage) และการเคลื่อนไหวแทนท่ามือสีต่าง ๆ มีทั้งหมด 7 สี คือ สีม่วง สีน้ำเงิน สีเขียว สีชมพู สีฟ้า สีเหลือง และสีกากี 2) พบคำเรียกสีไม่พื้นฐานในภาษามือไทยมี 3 วิธี จำนวน 10 สี ดังนี้ 2.1) คำเรียกสีพื้นฐานประสมกับคำขยายเพื่อบอกความเข้ม อ่อนของสี จำนวน 4 สี ได้แก่ สีแดงเข้ม สีเขียวเข้ม สีเขียวอ่อน และสีน้ำเงินอ่อน 2.2) ใช้คำเรียกสิ่งเฉพาะ สิ่งของ เป็นคำเรียกสี จำนวน 3 สี ได้แก่ สีทอง สีเงิน และสีครีม 2.3) ยืมท่ามือจากภาษามืออเมริกันมาใช้เป็นคำเรียกสี จำนวน 3 สี ได้แก่ สีน้ำตาล สีส้มและสีเทา
Download
|
19 |
การมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
Keyword:
คุณภาพการศึกษา, การดำเนินงานที่เป็นเลิศ, การมีส่วนร่วม
หน้า: 168 - 177
( Download: 700 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 หมวด กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการประจำคณะ หัวหน้ากลุ่มงานและบุคลากรของคณะโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 48 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ จำแนกตามสถานภาพ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพพนักงานมหาวิทยาลัย (ร้อยละ 45.83) ระยะเวลาการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 43.75) ประสบการณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพฯ (ร้อยละ 85.42) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพฯ เป็นอันดับแรก คือ การเข้าร่วมรับการฝึกอบรมและการเป็นคณะกรรมการฯ (X̅=3.33, S.D.=1.13) รองลงมา ได้แก่ การเข้าร่วมรับฟังนโยบายฯ (X̅=3.13, S.D.=0.79) และการมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานฯ (X̅=1.77, S.D.=0.84) และ 2) ปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 หมวด พบว่า หมวดที่ 1) การนำองค์กรเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานอันดับสูงสุด (X̅=4.27, S.D.=0.53) รองลงมา ได้แก่หมวดที่ 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (X̅=4.19, S.D.=0.55) หมวดที่ 7) ผลลัพธ์ (X̅=3.98, S.D.=0.69) หมวดที่ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร (X̅=3.89, S.D.=0.61) หมวดที่ 6) การมุ่งเน้นปฏิบัติการ (X̅=3.82, S.D.=0.63) หมวดที่ 4) การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (X̅=3.69, S.D.=0.64) และหมวดที่ 3) การมุ่งเน้นลูกค้า (X̅=3.52, S.D.=0.71)
Download
|
20 |
การพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
จีราวรรณ ทองลิ้ม
Keyword:
เว็บไซต์, เวิร์ดเพรส, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน้า: 178 - 184
( Download: 403 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่พัฒนาขึ้นจากกลุ่มตัวอย่าง 240 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลภายนอก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่พัฒนาด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส เวอร์ชัน 4.97 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ของนิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลภายนอกที่เข้าใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมของเว็บไซต์อยู่ในระดับ มาก ( = 4.14, SD = 0.69) โดยแบ่งเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, SD = 0.70) ด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, SD = 0.70) และด้านประโยชน์และการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, SD = 0.68) สรุปได้ว่าเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ได้พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานได้
Download
|
21 |
การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง
ผู้แต่ง:
พงษ์ศักดิ์ เพ็ชรเกิด
Keyword:
การพัฒนารูปแบบ, การจัดการความรู้, องค์กรแห่งการเรียนรู้
หน้า: 185 - 195
( Download: 120 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและปัจจัยที่มีผลต่อการจัดการความรู้ 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้ และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและบุคลากรในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง จำนวน 165 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพการจัดการความรู้ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการจัดการความรู้มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการจัดการความรู้ พบว่า ปัจจัยภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร กระบวนการและเครื่องมือ และเทคโนโลยี มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ การจัดการความรู้ ส่วนปัจจัยสภาพแวดล้อม และการสื่อสาร มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการจัดการความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) รูปแบบการจัดการความรู้ ประกอบด้วย 6 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำ วัฒนธรรมองค์กร สภาพแวดล้อม การสื่อสาร กระบวนการและเครื่องมือ และเทคโนโลยี มีผลต่อการจัดการความรู้ในทุกกระบวนการจัดการความรู้ตั้งแต่ การกำหนดความรู้ การแสวงหาความรู้ การสร้างความรู้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การจัดเก็บความรู้ และการนำความรู้ไปใช้ ซึ่งจะเชื่อมโยงกันอย่างเป็นระบบ หากองค์กรมีการจัดการความรู้ตามขั้นตอนได้ครบถ้วนทุกปัจจัย และทุกกระบวนการจัดการความรู้ ก็จะทำให้การจัดการความรู้มีประสิทธิภาพมากขึ้น และพัฒนาองค์กรไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
Download
|
22 |
การวิเคราะห์การใช้งบประมาณสำหรับการจัดสรรฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
ปฏิญญา วรรณโสภา
Keyword:
งบประมาณ, ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, สำนักหอสมุด
หน้า: 196 - 205
( Download: 149 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์การใช้จ่ายเงินงบประมาณในการบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวร และ ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลอัตราส่วนของงบประมาณที่ลงทุนต่อจำนวนครั้งของการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยนเรศวรบอกรับผลการศึกษาพบว่า ระหว่างปีงบประมาณ 2558 - 2562 มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ให้บริการฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่ได้จัดสรรงบประมาณจัดซื้อและที่ได้รับให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนปีละไม่ต่ำกว่า 37 ฐานข้อมูล โดยเป็นฐานข้อมูลที่ได้จัดสรรงบประมาณจัดซื้อร้อยละ 38.46 - 41.46 และฐานข้อมูลได้รับให้บริการโดยไม่มีค่าใช้จ่ายประมาณร้อยละ 58.54 - 61.54 นอกจากนั้นยังพบว่า แนวโน้มการเข้าใช้ฐานข้อมูลที่ได้จัดสรรงบประมาณจัดซื้อทุกฐานข้อมูลมีแนวโน้มที่ลดลงซึ่งเกิดขึ้นทั้ง 3 กลุ่มคณะวิชา จำนวนงบประมาณที่มหาวิทยาลัยลงทุนกับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างปีงบประมาณ 2558 - 2562 นั้น มีมูลค่าระหว่าง 8.3 - 9.0 ล้านบาท โดยมีสัดส่วนสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร้อยละ 37 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร้อยละ 36 และสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ร้อยละ 27 ซึ่งเป็นงบประมาณที่สูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ในขณะที่แนวโน้มการเข้าใช้บริการลดลง จึงทำให้เกิดข้อเสนอแนะเพื่อการจัดทำแผนการจัดสรรงบประมาณอย่างคุ้มค่าในการบอกรับฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต หรือจัดทำมาตรการส่งเสริมการใช้ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เพื่อให้เกิดความคุ้มค่า หรือจัดหาภาคีกับสถาบันการศึกษา
อื่น ๆ เพื่อมีส่วนร่วมในการลงทุนฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และใช้งานร่วมกัน
Download
|
23 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ |
24 |
รายนามผู้ทรงคุณวุฒิในการพิจารณาบทความ |
25 |
ปกหลัง |