1 |
ปกหน้า |
2 |
ปกหน้า ด้านใน |
3 |
สำรวจความรู้ ความเข้าใจระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
มธุรดา สิงสุธรรม , นิรมล จำนงศรี, ธัญญธร พัวพิทยาธร , อนันต์ แพงจันทร์, ลลิตตา หินเทา, ศศิธร เทียมมาลา
Keyword:
ความรู้, ความเข้าใจ, ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ
หน้า: 1 - 11
( Download: 202 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สำรวจความรู้และความเข้าใจในระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ 2) เพื่อศึกษาปัญหาการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการของบุคลากรคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรสังกัดคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ปฏิบัติงานจริงในปีงบประมาณ 2566 จำนวนทั้งสิ้น 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบ่งออกเป็น 4 ตอน คือ ตอนที่ 1 ข้อมูลสภาพทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 แบบสอบถามความรู้และความเข้าใจในระเบียบค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ตอนที่ 3 แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาของการจัดทำเอกสารการเบิกจ่ายในการเดินทางไปราชการ และตอนที่ 4 ข้อเสนอแนะ ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวข้องกับปัญหาการจัดทำเอกสารของผู้ตอบแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรส่วนใหญ่มีระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบการเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการอยู่ที่ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 42.86 รองลงมามีระดับความรู้ความเข้าใจอยู่ที่ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 39.29 มีระดับความรู้ความเข้าใจอยู่ที่ระดับปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 17.86 ตามลำดับ และมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการจัดทำเอกสารเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการ ภาพรวมอยู่ที่ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ( =4.33, S.D.=0.08) ส่วนข้อเสนอแนะพบว่าควรมีการสร้างคู่มือการเบิกค่าใช้จ่ายการเดินทางไปราชการเพื่อเป็นคู่มือให้แก่ผู้ปฏิบัติงานได้นำไปใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อความถูกต้องตามระเบียบปฏิบัติ
Download
|
4 |
การสำรวจความต้องการและความพึงพอใจต่อโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริม การเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับแพทย์ในหลักสูตรแพทย์ประจำบ้านสาขา/อนุสาขา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช
ผู้แต่ง:
รุ่งรัตน์ ผลสวัสดิ์
Keyword:
โปรแกรมการเรียนรู้, รูปแบบการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบนำตนเอง, การเรียนรู้ผ่านแอปพลิเคชัน
หน้า: 12 - 21
( Download: 123 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองและศึกษาผลการใช้โปรแกรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้แบบนำตนเองสำหรับแพทย์ประจำบ้านสาขาและอนุสาขา คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช เป็นการวิจัยในขั้นต้นโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจด้วยการเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นแพทย์ประจำบ้าน จำนวน 32 คน โดยใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ข้อมูล และการหาคุณภาพของเครื่องมือด้วยค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ผลการศึกษาพบว่า แพทย์ประจำบ้านมีความต้องการสื่อในการเรียนรู้ประเภทของสื่อดิจิทัล โดยมีความต้องการสื่อประเภทวิดีโอมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 37.50 รองลงมาเป็น สื่อประเภทข้อความ คิดเป็นร้อยละ 21.88 และ สื่อประเภทสื่อประสม คิดเป็นร้อยละ 18.75 ส่วนความต้องการโปรแกรมเรียนรู้ ในด้านรูปแบบการเรียนรู้ที่สนใจ พบว่า มีความต้องการรูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 34.27 รองลงมาเป็นรูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบแพลตฟอร์มการเรียนรู้ดิจิทัล คิดเป็นร้อยละ 25 และรูปแบบการเรียนรู้ผ่านระบบสื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 21.87 สำหรับความพึงพอใจที่มีต่อการใช้งานแอปพลิเคชัน การเรียนรู้ด้วยตนเองของแพทย์ประจำบ้าน ในด้านภาพรวม พบว่า มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนในรายด้านพบว่า ด้านสื่อ มีคะแนนอยู่ในอันดับสูงที่สุด โดยมีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการสืบค้นข้อมูล ด้านการเรียนรู้ ด้านการค้นคว้า และด้านการฝึกฝน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เช่นกัน
Download
|
5 |
ปัจจัยส่วนบุคคลและการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ของนิสิตคณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา
ผู้แต่ง:
ณิชา ตันติรักษ์ธรรม
Keyword:
การรับรู้, สื่อประชาสัมพันธ์ , การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อ
หน้า: 22 - 31
( Download: 147 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของนิสิตที่ส่งผลการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และ 2) การรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากนิสิตระดับปริญญาตรี คณะเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยทักษิณ วิทยาเขตสงขลา ประจำปีการศึกษา 2565 จำนวน 248 ตัวอย่าง ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ t test F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (ANOVA) และการวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple regression Analysis) ผลการวิจัย พบว่า สาขาวิชาที่กำลังศึกษาต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี แตกต่างกัน และปัจจัยการรับรู้สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี มี 2 ปัจจัย เรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ สื่อบุคคล และสื่อเฉพาะกิจ โดยทั้ง 2 ปัจจัย ส่งผลในทิศทางเดียวกันกับการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ทั้งนี้ ปัจจัยทั้งหมดสามารถอธิบายการเปลี่ยนแปลงการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ได้ร้อยละ 50.9 และ 38.8 ซึ่งมาจากการพิจารณาจากข้อมูลปัจจัยภายในและภายนอก
Download
|
6 |
การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ผู้แต่ง:
ณัฐพงษ์ เอียดเต็ม, ชุติ อากาศะชาติ, สิรภพ อบแพทย์
Keyword:
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, มาตรฐานความปลอดภัย , ระบบประเมินสภาพความปลอดภัยห้องปฏิบัติการ
หน้า: 32 - 40
( Download: 194 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของห้องปฏิบัติการภาควิชาเทคโนโลยีและการจัดการสิ่งแวดล้อม คณะสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ตามรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) ของสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ตามองค์ประกอบความปลอดภัยทั้ง 7 ด้าน เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนนของการประเมินตนเองตามองค์ประกอบด้านความปลอดภัยปี พ.ศ. 2566 เทียบกับปี พ.ศ. 2565 พบว่า ค่าคะแนนองค์ประกอบหลักด้านความปลอดภัย 5 องค์ประกอบ จาก 7 องค์ประกอบ มีร้อยละผลคะแนนรวมที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 68.8 เป็น 74.9 เมื่อพิจารณารายละเอียดของแต่ละองค์ประกอบด้านความปลอดภัย เพื่อวิเคราะห์หาช่องว่างความปลอดภัย (Gap Analysis) พบว่า มีบางองค์ประกอบที่มีค่าต่ำกว่าร้อยละ 75.0 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการด้านความปลอดภัย (ร้อยละ 70.0) องค์ประกอบที่ 3.3 การลดการเกิดของเสีย (ร้อยละ 20.0) องค์ประกอบที่ 4.1 งานสถาปัตยกรรม (ร้อยละ 70.0) องค์ประกอบที่ 4.5 งานวิศวกรรมสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม (ร้อยละ 66.7) องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง (ร้อยละ 64.0) องค์ประกอบที่ 5.2 การเตรียมความพร้อม/ตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน (ร้อยละ 68.8) องค์ประกอบที่ 6 การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (ร้อยละ 29.6) และองค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร (ร้อยละ 60.7)
Download
|
7 |
การจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ผู้แต่ง:
เชิดเกียรติ หยิบยานนท์
Keyword:
ตารางเรียนตารางสอน, เจ้าหน้าที่ , ระดับปริญญาตรี
หน้า: 41 - 48
( Download: 210 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาการจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี ของเจ้าหน้าที่สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นเจ้าหน้าที่ส่วนงานวิชาการ 11 คณะ 4 วิทยาลัย 1 วิทยาเขต และเจ้าหน้าที่สำนักวิชาศึกษาทั่วไป มีหน้าที่จัดตารางเรียนตารางสอนในระดับปริญญาตรี จำนวนทั้งหมด 24 คน เป็นการศึกษาจากประชากรผู้จัดทำตารางเรียนตารางสอนทั้งหมดภายในสถาบัน เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูล นำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงการจัดตารางเรียนตารางสอนในภาคการศึกษาถัดไปมาแจกแจงความถี่ โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เนื้อหา พบว่า ผลศึกษาการจัดตารางเรียนตารางสอนระดับปริญญาตรี ระดับความเห็นของเจ้าหน้าที่ที่มีต่อความรู้ความเข้าใจด้านนโยบายของสถาบัน และระเบียบข้อบังคับระดับปริญญาตรี รวมถึงด้านโครงสร้างหลักสูตรและรายละเอียดวิชา มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับมาก ( =3.68, S.D.=1.02) ระดับความเห็นของเจ้าหน้าที่ ที่มีต่อเวลาในการจัดตารางเรียนตารางสอนตามปฏิทินการศึกษาและในระบบสำนักทะเบียนและประมวลผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ( =3.88, S.D.=0.83) โดยมีข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ในการปรับปรุงการจัดตารางเรียนตารางสอน เรื่องฟังก์ชันระบบยังไม่ครอบคลุมการใช้งานมากที่สุด รองลงมา คือ การดึงข้อมูลในระบบไปใช้งานผิดเพี้ยน และต้องการสิทธิการเพิ่มเงื่อนไขหลังจากปิดระบบ ปิดระบบเร็วไปขอให้ยืดหยุ่นในการปิดระบบ ต้องการเมนูภาษาอังกฤษสำหรับต่างชาติ
Download
|
8 |
การศึกษาเทคนิคการสร้างเสียงภาษาไทยจากปัญญาประดิษฐ์เพื่อใช้ผลิตสื่อมัลติมีเดีย
ผู้แต่ง:
กุลกานต์ สุทธิดารา, อลิษา แสงวิมาน, อาทิตยา บินฮาซัน
Keyword:
การสร้างเสียงจากปัญญาประดิษฐ์ , การผลิตสื่อมัลติมีเดีย , ข้อความภาษาไทย
หน้า: 49 - 62
( Download: 129 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
ปัจจุบันปัญญาประดิษฐ์หรือ AI (Artificial Intelligence ) เข้ามามีบทบาทสำคัญในทุกภาคส่วน ซึ่งเทคโนโลยีการสร้างเสียงจากปัญญาประดิษฐ์ (Generate AI Voice) เป็นศาสตร์หนึ่งของ AI ที่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการผลิตเสียงสังเคราะห์เลียนแบบเสียงพูดจริงของมนุษย์ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวันและการทำงาน การสร้างเสียงจากปัญญาประดิษฐ์นั้นอาศัยเทคโนโลยี 2 ด้านหลัก คือ
(1) การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP: Natural language processing) ร่วมกับ (2) เทคโนโลยีสังเคราะห์เสียงจากข้อความ (TTS: Text-to-Speech Synthesis) เพื่อแปลงข้อความจากตัวหนังสือให้เป็นเสียงพูดในภาษาต่าง ๆ ได้ โดยงานเทคโนโลยีการเรียนรู้ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้ใช้เสียงภาษาอังกฤษจาก AI ในงานผลิตสื่อมัลติมีเดีย ซึ่งสามารถใช้แทนการอัดเสียงจากห้องสตูดิโอได้เป็นอย่างดี แต่สำหรับการสร้างเสียงภาษาไทยจาก AI นั้นยังมีปัญหาเรื่องการอ่านออกเสียงที่ไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมชาติอยู่ เนื่องจากโครงสร้างทางภาษาไทยมีความซับซ้อนและไม่มีการเว้นช่องว่างระหว่างคำเหมือนภาษาอังกฤษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเทคนิคการป้อนข้อความภาษาไทยในซอฟต์แวร์การสร้างเสียงจากปัญญาประดิษฐ์ (Generate AI Voice) ให้ได้เสียงพูดสังเคราะห์ที่แม่นยำและเป็นธรรมชาติ โดยมีกระบวนการ ดังนี้ 1) ศึกษารายละเอียดข้อมูลและวิเคราะห์ซอฟต์แวร์ที่ให้บริการแปลงข้อความให้เป็นเสียงพูดเพื่อเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมกับการใช้งาน และเนื้อหาที่ต้องการผลิตสื่อ 2) ทดลองป้อนเนื้อหาในซอฟต์แวร์ที่เลือกเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลด้านความถูกต้องของการออกเสียง และด้านความเป็นธรรมชาติของเสียง (จังหวะ ความเร็ว และการเว้นวรรค) ผลการศึกษาพบว่า จากการทดลองใช้เทคนิค ความถูกต้องของการออกเสียงและความเป็นธรรมชาติของเสียงดีขึ้นตามลำดับ ในการทดลองครั้งที่ 1 ความถูกต้องของการออกเสียงคิดเป็นร้อยละ 92 จนถึงครั้งที่ 30 คิดเป็นร้อยละ 100 และความเป็นธรรมชาติของเสียงปรับจากเสียงที่อ่านเร็วเกินไป และขาดจังหวะหายใจ มาเป็นเสียงที่จังหวะพอดีเข้ากับสื่อที่ผลิต ดังนั้นขั้นตอนการเตรียมพร้อมของข้อความก่อนที่จะป้อนลงซอฟต์แวร์เป็น สิ่งสำคัญ เช่น การเว้นวรรคคำใหม่ การใช้สัญลักษณ์พิเศษ การถอดอักษรเป็นคาราโอเกะสำหรับคำที่มีความซับซ้อนในการอ่าน โดยสามารถสรุปเป็นเทคนิคที่สำคัญในการการสร้างเสียงจาก AI เพื่อใช้ผลิตสื่อมัลติมีเดียได้ 8 ข้อ
Download
|
9 |
ความต้องการในการพัฒนาของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ มหาวิทยาลัยนครพนม
ผู้แต่ง:
พาทิศ คงโสมา, จิณัฐตา เพ็งอ่ำ, ชนน์วริศร์ ชยกรธนาวัชร์
Keyword:
การพัฒนา , สายสนับสนุนวิชาการ , ยุควิถีชีวติใหม่
หน้า: 63 - 76
( Download: 158 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ 2) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการ และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในยุควิถีชีวิตใหม่ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาการปฏิบัติงาน ได้แก่ ความรู้การวางแผน การวิเคราะห์งาน และการตัดสินใจ ความรู้ ความเข้าใจกระบวนการทำงานและทักษะในการปฏิบัติงาน ทักษะการศึกษาและค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและภารกิจของหน่วยงาน ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ และการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ ความสามารถในการให้คำแนะนำ หรือเป็นที่ปรึกษาช่วยตัดสินใจหรือแก้ปัญหา แรงจูงใจหรือความพยายามสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ความรู้ ความเข้าใจต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ และความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษ ความต้องการพัฒนาการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ได้แก่ แรงจูงใจหรือความพยายามสู่ความก้าวหน้าในวิชาชีพ ( = 4.19) ความรู้ ความเข้าใจและกระบวนการทำงาน และทักษะในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย ( = 4.10) ความรู้การวางแผน การวิเคราะห์งาน และการตัดสินใจ ( = 4.04) ทักษะการศึกษาและค้นคว้าอย่างเป็นระบบ ( = 4.04) ความรู้ ความเข้าใจต่อหน้าที่ในตำแหน่งงานที่ได้รับมอบหมาย ( = 4.00) ความรู้เกี่ยวกับการจัดเก็บข้อมูลสารสนเทศ และการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ ( = 3.99) ความสามารถในการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ( = 3.94) ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายและภารกิจของหน่วยงาน ( = 3.93) ความสามารถในการเขียนหนังสือราชการ ( = 3.77) แนวทางการพัฒนาพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุนวิชาการในยุควิถีชีวิตใหม่ ได้แก่ การส่งเสริมและพัฒนาการผลิตผลงานทางวิชาชีพ การส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ และการจัดทำหลักสูตรฝึกอบรม
Download
|
10 |
การรับฟังเสียงลูกค้าด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
นันท์ชญาณ์ แดนสีแก้วธัญ, กมลพร จันทาคึมบง
Keyword:
ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, การเรียนการสอน
หน้า: 77 - 86
( Download: 118 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรีคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตจำนวน 327 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาส่วนมากเป็นเพศหญิง ชั้นปีที่ 3 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต 2) มีความคาดหวังหรือความต้องการด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความคาดหวังหรือความต้องการในด้านผู้เรียนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านผู้สอน ด้านหลักสูตร และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา เป็นลำดับสุดท้าย 3) มีความพึงพอใจด้านการจัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีความพึงพอใจในด้านผู้สอนมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านหลักสูตร ด้านผู้เรียน และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา เป็นลำดับสุดท้าย 4) ความคาดหวังหรือความต้องการและความพึงพอใจของนิสิตด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า ด้านหลักสูตร ด้านผู้สอน ด้านผู้เรียน และด้านสิ่งสนับสนุนการศึกษา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Download
|
11 |
การพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
กุลางกูร พัฒนเมธาดา, พรรณี ศรีเรือน
Keyword:
ระบบสารสนเทศ, การตรวจสอบภายใน, เทคโนโลยีดิจิทัล
หน้า: 87 - 100
( Download: 144 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัย พหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 2) ประเมินผลระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัย พหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยผู้วิจัยได้ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการตรวจสอบภายในของสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จากนั้น ดำเนินการออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายในที่ได้นำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลของระบบ รวมถึงบูรณาการข้อมูลดิจิทัลกับระบบสารสนเทศอื่นของสถาบันฯ ทำให้ได้ระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน สถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประกอบด้วย 8 ประเด็นการตรวจสอบ ได้แก่ 1) การติดตามผลการตรวจสอบครั้งก่อน 2) การดำเนินงานด้านการรับ-นำส่งเงิน 3) การดำเนินงานด้านงานวิจัย 4) การดำเนินงานโครงการบริการวิชาการ 5) การดำเนินงานด้านการให้เช่าสถานที่/ค่าสาธารณูปโภค 6) รายงานกองทุนเงินส่งเสริมและพัฒนางานวิจัยประจำปี 7) ผลการดำเนินงานตามคำรับรองกับมหาวิทยาลัย 8) การควบคุมภายในด้านการจ่ายเช็ค ผลที่ได้จากการประเมินคุณภาพของการจัดการข้อมูลสำหรับการตรวจสอบภายในโดยใช้ระบบงานเดิมและระบบงานที่พัฒนา พบว่า ระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายในสถาบันวิจัยพหุศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่วยลดระยะเวลาจัดเตรียมเอกสารก่อนการตรวจสอบภายใน ลดจำนวนเอกสารที่ใช้ในการตรวจสอบภายใน มีกระบวนการกำกับติดตามและควบคุมความเสี่ยง และสามารถตรวจสอบภายในผ่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังพบว่า ผู้ใช้งานระบบสารสนเทศสำหรับการตรวจสอบภายใน มีความพึงพอใจต่อระบบโดยรวมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.66 และค่าเฉลี่ยของความพึงพอใจมากที่สุด คือ ด้านความง่ายต่อการใช้งาน และด้านการใช้งานระบบโดยรวม รองลงมา คือ ด้านตรงตามความต้องการ ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และด้านประสิทธิภาพ
Download
|
12 |
วิเคราะห์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนอาจารย์พิเศษ ของคณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประจำปีการศึกษา 2565
ผู้แต่ง:
สุธาสินี หินแก้ว
Keyword:
การเบิกจ่าย , ค่าตอบแทนการสอน , อาจารย์พิเศษ , เกณฑ์ภาระงานสอน
หน้า: 101 - 111
( Download: 155 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัจจุบันการเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนของอาจารย์พิเศษ 2. วิเคราะห์การเบิกจ่ายค่าตอบแทนการสอนของอาจารย์พิเศษ และ 3. วิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ประจำตามเกณฑ์ภาระงาน คณะทันตแพทยศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565 การวิจัย พบว่า ชั่วโมงการสอนปีการศึกษา 2565 กลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ มีค่าใช้จ่ายในการเชิญอาจารย์พิเศษมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ และกลุ่มวิชาทันตกรรมป้องกันและทันตสาธารณสุขตามลำดับ โดยกลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์มีชั่วโมงการสอนมากที่สุด รองลงมาเป็นกลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก และสาขาวิชาวิทยาการวินิจฉัยโรคช่องปาก จำแนกได้ว่ากลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมประดิษฐ์ เชิญอาจารย์พิเศษมากที่สุด จำนวน 611 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 611,000 บาท กลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก เชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 527 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 527,000 บาท และกลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิชาทันตกรรมหัตถการ เชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 400 ชั่วโมง มีค่าตอบแทน 400,000 บาท หากอาจารย์ประจำสอนตามเกณฑ์ภาระงานสอน จำนวน 1,050 ชั่วโมงตลอดปีการศึกษา คณะทันตแพทยศาสตร์จะประหยัดค่าใช้จ่ายในการเชิญอาจารย์พิเศษ จำนวน 2,904,000 บาท โดยมี 3 สาขาวิชา ที่มีภาระงานสอนมากกว่าเกณฑ์ภาระสอนที่กำหนดและสามารถเชิญอาจารย์พิเศษมาทำการสอนให้กับนิสิตได้ ได้แก่ กลุ่มสาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ สาขาวิขาทันตกรรมประดิษฐ์ กลุ่มสาขาวิชาเวชศาสตร์ช่องปากและศัลยศาสตร์ สาขาวิชาศัลยศาสตร์ช่องปาก และสาขาวิชา
ทันตกรรมหัตถการ โดยมีงบประมาณการค่าตอบแทนอาจารย์พิเศษ จำนวน 1,170,000 บาท
Download
|
13 |
การวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus จากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ปีงบประมาณ 2561 - 2565
ผู้แต่ง:
ธนภัทร เลิศมงคลอักษร
Keyword:
ฐานข้อมูล Scopus , นักวิจัยหลังปริญญาเอก , การวิเคราะห์ข้อมูล , บทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติ , มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้า: 112 - 121
( Download: 151 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์บทความตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ในฐานข้อมูล Scopus จากโครงการวิจัยที่ได้รับทุนเงินรายได้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเภท ทุนสนับสนุนนักวิจัยหลังปริญญาเอก ปีงบประมาณ 2561 - 2565 การศึกษาในครั้งนี้ใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้วิธีการสืบค้นและเก็บรวบรวมจำนวนบทความตีพิมพ์ที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติ โดยมีนักวิจัยหลังปริญญาเอกเป็นผู้ประพันธ์ชื่อแรก (First author) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ผลการศึกษา พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนบทความตีพิมพ์ระดับนานาชาติในฐานข้อมูล Scopus ระหว่าง พ.ศ. 2561 - 2565 จำนวนทั้งสิ้น 66 บทความ โดยมีผลงานตีพิมพ์สูงสุดในปีงบประมาณ 2561 (ร้อยละ 133.33) รองลงมาปีงบประมาณ 2562 (ร้อยละ 84.62) และในปีงบประมาณ 2563 - 2565 อาจเป็นผลมาจากการตีพิมพ์บทความวิจัยจะเกิดหลังจากสิ้นสุดการรับทุนแล้วประมาณ 1 - 2 ปี จากผลการวิจัยในข้อ 1.5 จึง คาดว่าในอนาคตปีงบประมาณ 2563 - 2565 จะมีบทความตีพิมพ์เพิ่มขึ้น รวมถึงบทความตีพิมพ์อาจไม่เป็นไปตามที่คาด โดยอาจมีปัจจัยในหลายด้าน ผลการศึกษาในครั้งนี้นำมาสู่การปรับปรุงและพัฒนาแนวทางการบริหารงานวิจัย คือ มหาวิทยาลัยควรส่งเสริมและกระตุ้นให้นักวิจัยสามารถสร้างผลงานวิจัยให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยและยุทธศาสตร์ประเทศ รวมทั้งการส่งเสริมกำลังคนที่จะมาช่วยในการพัฒนางานวิจัยและบทความตีพิมพ์ ข้อเสนอแนะประการสุดท้าย คือ การส่งเสริมให้นักวิจัยมีทัศนคติที่ดีต่อการทำวิจัยและสร้างผลงานการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ มีความภาคภูมิใจต่อมหาวิทยาลัยรวมถึงความก้าวหน้าในอาชีพ และได้รับการยอมรับในวงการวิชาการ
Download
|
14 |
เครื่องเก็บตัวอย่างแยกส่วนแบบอัตโนมัติ สำหรับเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
ผู้แต่ง:
ทรงสุดา พรหมทอง, ฮัมดัน มะเซ็ง, อุทัย ไทยเจริญ, ก้องเกียรติ รักษ์วงศ์, สัตยา บุญรัตนชู
Keyword:
เครื่องเก็บตัวอย่าง, เครื่องบันทึกข้อมูล, โครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง
หน้า: 122 - 132
( Download: 141 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการพัฒนาเครื่องเก็บตัวอย่างแยกส่วนแบบอัตโนมัติสำหรับเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูง (HPLC Automatic Fraction Collector) การพัฒนาได้ออกแบบเครื่องเก็บตัวอย่างแบบถาดหมุนสามารถบรรจุขวดเก็บตัวอย่างได้สูงสุด 12 ขวด ความจุขวดละ 20 มิลลิลิตร โดยใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์ PIC18F252 เป็นตัวควบคุมสามารถเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ผ่านพอร์ต RS-232 อีกทั้งได้พัฒนาโปรแกรมส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานเพื่อใช้ควบคุมการทำงานและกำหนดค่าการเก็บตัวอย่างในรูปแบบกราฟิก (Graphic User Interface) ทำให้สะดวกต่อการใช้งานเป็นอย่างมาก ผลของการทดสอบการทำงานของเครื่องเก็บตัวอย่างที่ได้พัฒนาขึ้น สามารถเก็บตัวอย่างจากการแยกของเครื่องโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงได้อย่างแม่นยำ และสามารถวนรอบการเก็บตัวอย่างได้โดยอัตโนมัติเพื่อเพิ่มปริมาณตัวอย่าง อีกทั้งยังสามารถบันทึกโครมาโทแกรมเพื่อเรียกดูย้อนหลังได้อีกด้วย
Download
|
15 |
แบบพิมพ์เซรามิกส์สำหรับกระบวนการจุ่มขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ
ผู้แต่ง:
นุชรีย์ ชมเชย
Keyword:
แบบพิมพ์เซรามิกส์ , ดินขาว , ไดอะตอมไมท์ , เบนโทไนต์ , ยางธรรมชาติ
หน้า: 133 - 143
( Download: 155 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสูตรส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อใช้ผลิตแบบพิมพ์เซรามิกส์สำหรับกระบวนการจุ่มขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ มีวิธีดำเนินการ 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 ทดสอบสมบัติของสูตรดินผสม 10 สูตร โดยใช้แผนภาพตารางสามเหลี่ยมด้านเท่ากำหนดอัตราส่วนผสมวัตถุดิบ ดินขาว ไดอะตอมไมท์ และเบนโทไนต์ ขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยวิธีหล่อน้ำดิน และเผาที่อุณหภูมิ 800°C ในบรรยากาศออกซิเดชัน ทดสอบสมบัติทางกายภาพและสมบัติทางกลตามมาตรฐาน ASTM C 326-03 ASTM C 373-72 และ ASTM C 674-81 ทดสอบสีโดยใช้เครื่องวัดสีมินอลต้า วิเคราะห์องค์ประกอบและปริมาณทางแร่ด้วยเทคนิคการเลี้ยวเบนของรังสีเอกซ์ (X-ray Diffraction; XRD) และวิเคราะห์สมบัติโครงสร้างจุลภาคโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (Scanning Electron Microscopy; SEM) ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบการใช้งานจริงโดยนำสูตรที่เหมาะสมขึ้นรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต้นแบบ ผลการวิจัย พบว่า สูตรที่เหมาะสมที่จะใช้ผลิตแบบพิมพ์เซรามิกส์สำหรับกระบวนการจุ่มขึ้นรูปผลิตภัณฑ์จากยางธรรมชาติ ประกอบด้วยดินขาว 53-58 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักไดอะตอมไมท์ 27-36 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก และเบนโทไนต์ 10-15 เปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนัก ผลิตภัณฑ์ที่ได้มีลักษณะพิเศษ คือ มีความพรุนตัว 41-45 เปอร์เซ็นต์ การหดตัว 0.7-1.0 เปอร์เซ็นต์ ปริมาตรของรูพรุนเปิด 11-16 ลูกบาศก์เซนติเมตร ค่าโมดูลัสของการแตกหัก 6-8 เมกะพาสคาล ผลการนำไปใช้งาน พบว่า แบบพิมพ์เซรามิกส์มีคุณสมบัติเด่นเรื่องน้ำหนักเบา ดูดติดน้ำยางได้ดี ชิ้นงานที่ขึ้นรูปจากแบบพิมพ์มีผิวเรียบ มีความหนาสม่ำเสมอ และถอดชิ้นงานออกจากแบบพิมพ์ได้ง่าย
Download
|
16 |
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณ สำหรับบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
จุฑามาศ ทินกรวงศ์
Keyword:
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ , ระบบบริหารจัดการงบประมาณ , บุคลากร
หน้า: 144 - 157
( Download: 125 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณ สำหรับบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณสำหรับบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเปรียบเทียบความรู้และความเข้าใจของบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ก่อนและหลังการศึกษาระบบบริหารจัดการงบประมาณ โดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพะเยา จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ประกอบด้วย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ แบบทดสอบก่อนและหลังการศึกษา และแบบความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและเนื้อหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า t-test ผลการศึกษาพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณ สำหรับบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 92.66/100 เป็นไปตามสมมติฐานที่ผู้วิจัยตั้งไว้ คือ 90/ 90 และผู้ใช้งานมีคะแนนหลังการศึกษาในหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การใช้งานระบบบริหารจัดการงบประมาณ สำหรับบุคลากรคณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ สูงกว่าคะแนนก่อนการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Download
|
17 |
การพัฒนาระบบลงทะเบียนและส่งผลงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ CDD2023 & WKC2023 สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ภานุชญา มณีวรรณ
Keyword:
ระบบลงทะเบียน, ส่งผลงานวิชาการ, การประชุมวิชาการนานาชาติ, ระบบสารสนเทศ
หน้า: 158 - 172
( Download: 124 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบลงทะเบียนและส่งผลงานการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ CDD2023 & WKC2023 สำหรับคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ออกแบบการพัฒนาระบบ นำหลักวงจรการพัฒนาระบบ Software Development Life Cycle (SDLC) มาใช้ในการวิจัย โดยออกแบบระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ สร้างและพัฒนาระบบด้วยภาษา PHP ภาษา HTML ภาษา JavaScript และใช้การจัดการฐานข้อมูล MySQL ระบบที่พัฒนาขึ้นถูกประเมินโดยผู้ใช้ระบบทุกกลุ่มจำนวน 73 คน ได้แก่ ผู้เข้าร่วมประชุม ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้ช่วยบรรณาธิการ บรรณาธิการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดประชุม ผลการประเมินการใช้งานระบบแต่ละด้านได้ค่าเฉลี่ยมากกว่า 4.00 จากคะแนนเต็ม 5 ซึ่งผลการประเมินอยู่ในระดับมีประสิทธิภาพมากถึงมากที่สุด ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานมีค่าระหว่าง 0.50 - 0.56 สรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถช่วยการดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ ช่วยแก้ไขปัญหา ได้แก่ ปัญหาความซ้ำซ้อนของ การทำงาน ลดขั้นตอนของการทำงาน ลดปัญหาการรวบรวมข้อมูล ทั้งนี้สามารถนำข้อมูลจากระบบเพื่อใช้ในจัดงานประชุมได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น
Download
|
18 |
การพัฒนาระบบการยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเงื่อนไขพิเศษในรายวิชาจำกัดจำนวน รูปแบบออนไลน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
ผู้แต่ง:
ศิรินภา โชติกมาศ, ธันยาภรณ์ ไกรน้อย
Keyword:
การพัฒนาระบบ , การยื่นคำร้องออนไลน์ , กูเกิลลุคเกอร์สตูดิโอ
หน้า: 173 - 188
( Download: 181 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเงื่อนไขพิเศษในรายวิชาจำกัดจำนวน รูปแบบออนไลน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อการแก้ไขปัญหาความซับซ้อนในการทำงาน ลดเวลาการรอคอย ตรวจสอบสถานะคำร้องได้อย่างเป็นระบบ โดยการวางแผน ตัดสินใจ ออกแบบและพัฒนาระบบตามหลักวงจรการพัฒนาระบบ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบดังกล่าว โดยการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหลเพื่อหาแนวทางการทำงานและปรับปรุงวิธีการทำงานด้วยหลักการ ECRS และพัฒนาระบบการยื่นคำร้องขอลงทะเบียนเรียนรายวิชาที่มีเงื่อนไขพิเศษในรายวิชาจำกัดจำนวน รูปแบบออนไลน์ โดยใช้โปรแกรมกูเกิลฟอร์ม และโปรแกรมกูเกิลลุคเกอร์สตูดิโอ ผลการศึกษา พบว่า การวิเคราะห์ระบบงานและนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาระบบการทำงานนั้น ทำให้งานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดขั้นตอน ลดความสูญเปล่าของเวลาในการดำเนินการ ถึงแม้ว่าขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ให้บริการจะเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 ขั้นตอน เนื่องจากต้องมีการจัดทำฐานข้อมูลเฉพาะรายวิชาในแต่ละภาคการศึกษา แต่ระบบดังกล่าวสามารถลดขั้นตอนการยื่นคำร้องของนักศึกษาจากเดิมลงไปได้ 1 ขั้นตอน ลดปริมาณกระดาษที่ใช้ได้ร้อยละ 100.00 และลดระยะเวลาในการทำงานของผู้ใช้บริการจากรูปแบบเดิมได้ร้อยละ 43.86 ลดเวลาการยื่นคำร้องของผู้รับบริการได้ร้อยละ 71.36 และพบความพึงพอใจของผู้ใช้งานทั้งอาจารย์และนักศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยรวม 4.51 จากประเมิน 5 ระดับ
Download
|
19 |
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากร สายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
นวภัสร์ ปันใจ
Keyword:
เจตคติต่อการผลิตผลงานทางวิชาการ , การได้รับการสนับสนุนทางสังคม , การรับรู้ความสามารถของตน , ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน , ลักษณะงานที่ทำ
หน้า: 189 - 203
( Download: 118 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับตัวแปรเจตคติต่อการผลิตผลงานทางวิชาการ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนในการผลิตผลงานทางวิชาการ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน ลักษณะงานที่ทำ และความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการ 2. ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการ และ 3. ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 85 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานและการวิเคราะห์อิทธิพลด้วยเทคนิคการประมาณค่าภาวะน่าจะเป็นสูงสุด ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการมีเจตคติต่อการผลิตผลงานทางวิชาการ การได้รับการสนับสนุนทางสังคม การรับรู้ความสามารถของตนในการผลิตผลงานทางวิชาการ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน และลักษณะงานที่ทำอยู่ในระดับมาก ส่วนความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สำหรับการศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการ พบว่าลักษณะงานที่ทำเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลสูงสุดต่อความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการ โดยมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.43 ขณะที่ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ การรับรู้ความสามารถของตนในการผลิตผลงานทางวิชาการ เจตคติต่อการผลิตผลงานทางวิชาการ และความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน พบว่ามีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการผลิตผลงานทางวิชาการในลำดับรองลงมาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีขนาดอิทธิพลรวมเท่ากับ 0.35, 0.27, 0.12 ตามลำดับ
Download
|
20 |
การพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ สำหรับงานบริการนิสิตและคณาจารย์ ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
ผู้แต่ง:
จักรพันธ์ บุญเม่น , ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
Keyword:
แอปพลิเคชัน Chatbot , อุปกรณ์เคลื่อนที่ , ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
หน้า: 204 - 219
( Download: 147 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทและคำถามที่เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลจากการจัดทำโครงการของนิสิตและคณาจารย์ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา 2) เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชัน Chatbot บนอุปกรณ์เคลื่อนที่สำหรับนิสิตและคณาจารย์ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้แอปพลิเคชัน Chatbot สำหรับนิสิตและคณาจารย์ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนิสิตและคณาจารย์ที่มีต่อแอปพลิเคชัน Chatbot กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตและคณาจารย์ โดยการเก็บรวมรวมข้อมูลแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แอปพลิเคชัน Chatbot 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดกิจกรรมใช้งานแอปพลิเคชัน Chatbot 3) แบบสอบถามบริบทและคำถามที่เกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการของภาควิชาฯ โดยสร้างแบบอัตนัยและปรนัยเพื่อสอบถามปัญหาและความต้องการของนิสิตและคณาจารย์ 4) แบบประเมินคุณภาพแอปพลิเคชัน Chatbot โดยผู้เชี่ยวชาญ 5) แบบสอบถามพึงพอใจของนิสิตและอาจารย์ที่มีต่อการใช้แอปพลิเคชันฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) แบบ Dependent ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตและคณาจารย์ รู้กระบวนการเริ่มต้นการเขียนเพื่อพิจารณาอนุมัติ และมีระบบการติดตามกระบวนการเสนอโครงการ โดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์มาช่วยในการอำนวยความสะดวก 2) แอปพลิเคชัน Chatbot มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก (mean = 4.23, S.D. = 0.48) 3) นิสิตมีความรู้ความเข้าใจในการใช้ Chatbot เคลื่อนที่หลังใช้สูงกว่าก่อนใช้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความพึงพอใจของนิสิตและคณาจารย์ที่มีต่อแอปพลิเคชัน Chatbot อยู่ในระดับมาก (mean = 4.34, S.D. = 0.55)
Download
|
21 |
ความคาดหวังและความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ PSU Open Mobility คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
นูรฮัม ฮะซา, พิภัตน์ เผ่าจินดา
Keyword:
โครงการ PSU Open Mobility, ความพึงพอใจ, ความคาดหวัง, ความเป็นนานาชาติ
หน้า: 220 - 234
( Download: 255 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ PSU Open Mobility ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ระหว่างปีพ.ศ. 2564-2566 2) เพื่อศึกษาความคาดหวังของผู้เข้าร่วมโครงการ PSU Open Mobility ระหว่างปีพ.ศ. 2564-2566 ต่อการส่งเสริมความเป็นนานาชาติของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้เข้าร่วมโครงการ PSU Open Mobility จำนวน 14 โครงการย่อยที่จัดขึ้นระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 1,616 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1 โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ 1) ข้อมูลทั่วไปของผู้เข้าร่วม 2) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมต่อการจัดโครงการ PSU Open Mobility และ 3) ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมต่อการส่งเสริมความเป็นนานาชาติของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.70 มีสถานภาพเป็นนักศึกษา ร้อยละ 89.99 มีช่วงอายุระหว่าง 18-23 ปี ร้อยละ 48.80 และมีระดับการศึกษาสูงสุด คือ ปริญญาตรี ร้อยละ 80.12 ซึ่งตรงตามกลุ่มเป้าหมายของโครงการฯ 2) ความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมต่อการจัดโครงการ PSU Open Mobility มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุดอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2564-2566 โดยมีค่าเฉลี่ยในปีพ.ศ. 2564 คือ (µ=4.51, σ=0.16) ในปีพ.ศ. 2565 คือ (µ=4.64, σ=0.18) และในปีพ.ศ. 2566 คือ (µ=4.64, σ=0.13) และ 3) ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมต่อการส่งเสริม ความเป็นนานาชาติของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เสนอให้จัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมนานาชาติภายในมหาวิทยาลัยมากที่สุด ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564-2566 คิดเป็นร้อยละ 30.20 ในปีพ.ศ. 2564 ร้อยละ 23.88 ในปีพ.ศ. 2565 และร้อยละ 16.91 ในปี พ.ศ. 2566
Download
|
22 |
การศึกษาเจตคติต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผู้แต่ง:
สัตยาบัน กาวิชัย
Keyword:
เจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษา , คณะมนุษยศาสตร์ , มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
หน้า: 235 - 244
( Download: 104 ครั้ง )
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แยกตาม เพศ ชั้นปี 2) เพื่อเปรียบเทียบระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่แยกตามเพศ ชั้นปี และสถานะ การกู้ยืมเพื่อการศึกษา 3) เพื่อศึกษาข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ การปรับปรุงกิจกรรมจิตอาสาของคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สัญชาติไทย ที่กำลังศึกษา ปีการศึกษา 2565 จำนวน 360 คน โดยสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้วิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้การทดสอบค่าความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ใช้การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับเจตคติที่มีต่อกิจกรรมจิตอาสาของนักศึกษา ทั้งกลุ่มรวมและกลุ่มย่อยแยกตาม เพศ และชั้นปีการศึกษา อยู่ระดับมาก 2) นักศึกษาที่มีเพศต่างกันมีเจตคติด้านการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อแยกตามชั้นปีการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างที่เรียนชั้นปีที่ 1 กับชั้นปีที่ 2 และ 3 มีเจตคติภาพรวมด้านความรู้สึก อารมณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และเมื่อเปรียบเทียบนักศึกษาที่มีสถานภาพการกู้ยืมเงินกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาต่างกัน พบว่า นักศึกษามีเจตคติต่อกิจกรรมจิตอาสาด้านการแสดงพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) กลุ่มตัวอย่างมีข้อคิดเห็นเสนอแนะว่าควรจัดกิจกรรมที่ไม่กระทบกับการเรียน รูปแบบกิจกรรมหลากหลาย และควรปรับปรุงรูปแบบการประชาสัมพันธ์ให้น่าสนใจมากขึ้น
Download
|
23 |
ปกหลังด้านใน รายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ |
24 |
หลักเกณฑ์และคำแนะนำสำหรับผู้นิพนธ์บทความ วารสารวิชาการ ปขมท. |