1 |
การเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งเพื่อทดแทนอาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar (PDA) สำเร็จรูปสำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการ
ผู้แต่ง:
สุรศักดิ์ บุญรุ่ง, ฉวีวรรณ มลิวัลย์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
น้ำสกัดมันฝรั่ง, อาหารเลี้ยงเชื้อ, การเจริญ, การเก็บรักษา
หน้า: 29 - 35
(Download: 1887 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
อาหารเลี้ยงเชื้อ Potato Dextrose Agar (PDA) เป็นอาหารสำหรับเลี้ยงเชื้อราและยีสต์ที่นิยมใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาหารเลี้ยงเชื้อสำเร็จรูปมักมีราคาแพง การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 150 วัน ต่อการเปลี่ยนแปลงสี พีเอช และการเจริญของเชื้อรา (Aspergillus niger ATCC6275) และเชื้อยีสต์ (Saccharomyces cerevisiae TISTR5088) เปรียบเทียบกับอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้าพบว่า เชื้อรา A. niger ที่เลี้ยงในอาหาร PDA ที่เตรียมจากน้ำสกัดมันฝรั่งมีการเจริญใกล้เคียงกันที่ 6.17-6.50 เซนติเมตร การเจริญของเส้นใยมากกว่าอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้า (4.30 เซนติเมตร) หลังการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 4 วัน ส่วนเชื้อยีสต์ S. cerevisiae ที่เลี้ยงในอาหาร PDA ที่เตรียมจากน้ำสกัดมันฝรั่งมีการเจริญใกล้เคียงกันที่ 6.87-6.90 log units และใกล้เคียงกับอาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้า (6.90 log units) หลังการบ่มที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 2 วัน สีน้ำสกัดมันฝรั่ง (L* a* b*) วันที่ 0 มีค่าเท่ากับ 96.78, -0.45 และ 4.28 ตามลำดับ หลังเก็บรักษาสีของน้ำสกัดมันฝรั่งเปลี่ยนเป็น 93.24, -0.22 และ 5.98 ตามลำดับ ส่วนความเป็นกรดด่าง (พีเอช) ของน้ำสกัดมันฝรั่ง วันที่ 0 มีค่าเท่ากับ 5.52 หลังเก็บรักษา 150 วัน มีค่าเท่ากับ 5.46 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่า การเก็บรักษาน้ำสกัดมันฝรั่งที่อุณหภูมิ –20 องศาเซลเซียส ระยะเวลาเก็บรักษา 150 วัน สามารถนำมาเตรียมอาหาร เลี้ยงเชื้อ PDA เพื่อแทนการใช้อาหาร PDA สำเร็จรูปทางการค้าในการเรียนการสอนของห้องปฏิบัติการได้
Download
|
2 |
ผลของการพัฒนารูปแบบการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อการจัดการเหตุการณ์ ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนด้วยการตรวจยีน HLA-B*15:02 ในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจมินัล
ผู้แต่ง:
หนึ่งหทัย อภิพัตฐ์กานต์, วชิรศักดิ์ อภิพัตฐ์กานต์, กันต์พงษ์ ธารฤทธิ์ทวีพร
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
การจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีน , การตรวจคัดกรอง HLA-B*15:02, โรคปวดประสาทไทรเจมินัล
หน้า: 150 - 158
(Download: 1490 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้แนวทางการบริบาลทางเภสัชกรรมเพื่อการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจอมินัล โรงพยาบาลทันตกรรม คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนและฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ปี 2558-2563 เครื่องมือที่ใช้ คือ แนวทางการจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาในผู้ป่วยรายใหม่ที่ได้รับยาคาร์บามาซีปีน (Carbamazepine) ผลพบว่า ผู้ป่วยรายใหม่เฉลี่ย 34 รายต่อปี ด้านการตรวจ HLA-B*15:02 เริ่มปี 2562 พบรายใหม่ 20 ราย ได้รับการตรวจ 20 ราย (ร้อยละ100) ปี 2563 รายใหม่ 17 ราย ได้รับการตรวจ 17 ราย (ร้อยละ100) ด้านผลการตรวจ HLA-B*15:02 พบว่าปี 2562 รายใหม่ 20 ราย ผลลบ 19 ราย ใช้ยาได้ 17 ราย (ร้อยละ 89.47) ผลลบ แต่ใช้ยาไม่ได้ 2 ราย (ร้อยละ 10.53) ผลบวก 1 ราย (ร้อยละ5.00) แต่ใช้ยา Oxcarbazepine ได้ ,ปี 2563 รายใหม่ 17 ราย ผลลบ 14 ราย (ร้อยละ 82.35) ใช้ยาได้ 13 ราย (ร้อยละ 92.86), ใช้ยาไม่ได้ พบผื่นแพ้ยา 1 ราย (ร้อยละ 7.14) ผลบวก 3 ราย (ร้อยละ 17.65) ใช้ยาGabapentin ได้ 1 ราย (ร้อยละ33.33) ใช้ยาไม่ได้ 2 ราย (ร้อยละ 66.67) ด้านเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ระดับไม่รุนแรง ได้แก่ วิงเวียนศีรษะ ผื่น เดินเซ ไม่พบแพ้ยา SJS/TEN การศึกษานี้แสดงถึงผลการพัฒนาการบริบาลทางเภสัชกรรมที่ป้องกันและจัดการเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากยาคาร์บามาซีปีนในผู้ป่วยรายใหม่โรคปวดประสาทไทรเจมินัลได้
Download
|
3 |
วิเคราะห์ต้นทุนหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ธันวา เจริญศิริ
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ต้นทุน, รายรับ, รายจ่าย, สัตว์ทดลอง
หน้า: 10 - 20
(Download: 1457 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองของหน่วยสัตว์ทดลอง คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูลรายรับและรายจ่ายจากการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองนำมาวิเคราะห์ค่าทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า ค่าใช้จ่ายในการเลี้ยงดูสัตว์ทดลองระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีค่าเฉลี่ยต่อตัวสัตว์ทดลอง 9.04 บาทตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบรายได้เรียกเก็บจากลูกค้าที่จ้างเลี้ยงสัตว์ทดลองตามประกาศฯ ราคาค่าเลี้ยงดูหนูตัวละ 3 บาท/ตัว/วัน นั่นคือ รายจ่ายเฉลี่ยต่อตัวสูงกว่ารายได้ สะท้อนให้เห็นว่าคณะฯ สนับสนุนค่าใช้จ่ายในส่วนนี้โดยประมาณ 6.04 บาท/ตัว/วัน ตามลำดับ สำหรับต้นทุนค่าใช้จ่ายเลี้ยงดูสัตว์ทดลองปี 2562 มีการเลี้ยงสัตว์ทดลองจำนวน 84,648 ตัว เฉลี่ยวันละ 232 ตัว คิดเป็นร้อยละ 14.23 ของประสิทธิภาพที่หน่วยสัตว์ทดลองรองรับได้ และต้นทุนการดำเนินงานของหน่วยสัตว์ทดลอง พบว่า ต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 247.90 บาทต่อตัว เป็นต้นทุนคงที่ 238.86 บาทต่อตัว และต้นทุนผันแปร 9.04 บาทต่อตัว หากดำเนินงานเต็มประสิทธิภาพที่หน่วยสัตว์ทดลองรองรับได้ สามารถเลี้ยงสัตว์ทดลองได้จำนวน 1,630 ตัวต่อวัน มีต้นทุนค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 35.28 บาทต่อตัว (ต้นทุนคงที่ 34.00 บาทต่อตัว และต้นทุนผันแปร 1.28 บาทต่อตัว) สามารถสร้างรายได้จากลูกค้าผู้ปฏิบัติงานภายในคณะฯ ทั้งหมด จำนวน 5.43 ล้านบาท และหากลูกค้ามาจากบุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยมหิดลทั้งหมด รายได้เพิ่มขึ้นเป็น 15.87 ล้านบาท
Download
|
4 |
ชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา สำหรับใช้ในการสอนแบบออนไลน์
ผู้แต่ง:
รัชนีวรรณ หมั่นแสวง, สิทธิเดช วชิราศรีศิริกุล
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ชุดทดลองวงจรไฟฟ้า, วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น, วงจรไฟฟ้าพื้นฐาน, ไฟฟ้ากระแสตรง
หน้า: 88 - 94
(Download: 1434 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
สถานการณ์โควิด 19 มีมาตรการในการป้องกันและเพื่อควบคุมสถานการณ์ ให้อยู่ที่พักอาศัยทำให้ผู้สอนและผู้เรียนไม่สามารถทำการเรียนการสอนรายวิชาปฏิบัติได้ ผู้วิจัยสร้างชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพาสำหรับใช้ในการสอนแบบออนไลน์(portable electrical circuit training setfor online teaching) พร้อมกับพัฒนาใบงานการทดลองให้เหมาะสมกับชุดทดลองฯ เพื่อนำไปใช้ในการเรียนการสอนรายวิชา 262215ปฏิบัติการวงจรไฟฟ้า สำหรับการสอนแบบออนไลน์ โดยใช้วัสดุการศึกษาที่จัดซื้อใช้งานภายในห้องปฏิบัติการวงจรไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ มาประกอบเป็นชุดทดลองฯ เพื่อส่งไปให้ผู้เรียนใช้ทดลองร่วมกับการสอนแบบออนไลน์ในที่พักอาศัย เหมาะกับสถานการณ์ที่ยังต้องรักษาระยะห่างทางสังคม ผลการวิจัยนี้เปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนของแรงดัน กระแส และค่าความต้านทาน ที่วัดได้จากการทดลอง บนชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา มีเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อน น้อยกว่าเท่ากับร้อยละ 0.042ดังนั้นชุดทดลองวงจรไฟฟ้าแบบพกพา สามารถใช้ในการเรียนการสอนได้
Download
|
5 |
การวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563
ผู้แต่ง:
โกสินธุ์ ศิริรักษ์, กิตติพร ศรีเพ็ชร
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ฐานข้อมูล Scopus, การสืบค้น, การวิเคราะห์, การตีพิมพ์ระดับนานาชาติ, มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
หน้า: 123 - 130
(Download: 1426 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563 กลุ่มตัวอย่างเป็นผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในฐานข้อมูล Scopus ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559-2563 ใช้วิธีการค้นหาและเก็บรวบรวมข้อมูลจากฐานข้อมูล Scopus ประกอบด้วย บทความวิจัย บทความปริทัศน์ บทความสืบเนื่องจากงานประชุมวิชาการ และบทในหนังสือ วิเคราะห์ข้อมูลจำนวนการตีพิมพ์ในแต่ละปี ประเภทของบทความ จำนวนการอ้างอิงในแต่ละปี จำนวนบทความที่ตีพิมพ์ในแต่ละสาขา รายชื่อวารสารที่ได้รับการตีพิมพ์ รายชื่อหน่วยงานที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน รายชื่อประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกัน และแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนวิจัย ผลการศึกษาพบว่า ผลงานตีพิมพ์ระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ที่อยู่ในฐานข้อมูล Scopus ปี พ.ศ.2559-2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,031 บทความ (เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.22) มีบทความวิจัยตีพิมพ์เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 35.52 ในปี พ.ศ.2563 มีจำนวนการอ้างอิง 1,379 ครั้ง โดยสาขาที่ได้รับการตีพิมพ์สูงสุดคือ สาขาแพทยศาสตร์ จำนวน 208 บทความ วารสารที่ได้รับการตีพิมพ์สูงสุดคือ Walailak Journal of Science and Technology จำนวน 63 บทความ (ร้อยละ 6.11) หน่วยงานที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สูงสุด คือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จำนวน 127 บทความ ประเทศที่มีผลงานตีพิมพ์ร่วมกับมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์สูงสุด คือ ออสเตรเลีย จำนวน 59 บทความ และแหล่งทุนที่ให้การสนับสนุนการวิจัยตีพิมพ์สูงสุด คือ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 300 บทความ (ร้อยละ 29.10) สรุปผลการศึกษาพบว่า การตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในระดับนานาชาติของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีอัตราการตีพิมพ์ผลงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยข้อมูลดังกล่าวสามารถนำไปกำหนดนโยบาย และส่งเสริมสนับสนุนทิศทาง
การขับเคลื่อนงานวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ต่อไป
Download
|
6 |
การสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวจากของเสียบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม
ผู้แต่ง:
ชลธร กินแก้ว
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์, อัลคาไลน์พอลิเมอไรเซชัน, อะลูมิเนียมลามิเนต
หน้า: 114 - 122
(Download: 1407 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการหาสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวจากฟิล์มบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแบบอะลูมิเนียมลามิเนตที่เป็นของเสียจากการบริโภคของมนุษย์ ดังนั้น การทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันด้วยสารละลายด่างที่สภาวะแตกต่างกันเพื่อสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลวที่ดีที่สุดสำหรับการบำบัดน้ำ เริ่มด้วยการชะละลายอะลูมิเนียมในฟิล์มบรรจุภัณฑ์ที่ความเข้มข้นของกรดไฮโดรคลอริก 6 โมลต่อลิตร อัตราส่วนของเหลวต่อของแข็งเป็น 24:1 ด้วยอัตราการกวน 700 รอบต่อนาที เป็นเวลา 5 ชั่วโมง จากนั้นทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันจากสารละลายอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่ชะละลายมาได้ โดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์และโซเดียมอะลูมิเนตเป็นตัวทำปฏิกิริยาที่ B value (อัตราส่วนโมลระหว่างด่างกับอะลูมิเนียม) แตกต่างกัน ด้วยอัตราการกวน 700 รอบต่อนาที และอัตราการเติมสารละลายด่าง 1 มิลลิลิตรต่อนาที ซึ่งพบว่าสารละลายด่างที่เหมาะสมในการสังเคราะห์พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ชนิดเหลว คือ โซเดียมอะลูมิเนตที่ B value เท่ากับ 3 และหากทำการระเหยเพิ่มความเข้มข้นของอะลูมิเนียมคลอไรด์เป็น 4 เท่า ก่อนทำปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน จะทำให้พอลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ที่เข้มข้นนี้มีประสิทธิภาพในการตกตะกอนเพิ่มขึ้น สามารถลดความขุ่นของน้ำตัวอย่างให้เหลือ 0.37 NTU คิดเป็นอัตราการกำจัดสารแขวนลอยเป็นร้อยละ 96.21
Download
|
7 |
การวิเคราะห์ความสำคัญของกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร ของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ผู้แต่ง:
จเร นะราชา
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
การวิเคราะห์ความสำคัญ, กฎเกณฑ์ , กิจกรรมเสริมหลักสูตร , คนดี , คุณธรรมจริยธรรม
หน้า: 141 - 149
(Download: 1400 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความสำคัญของกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา โดยได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อนักศึกษา และมหาวิทยาลัยที่เกิดขึ้นจากการไม่มีกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษา วิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของกิจกรรมเสริมหลักสูตร กฎหมาย รูปแบบและกระบวนการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมโดยสถาบันการศึกษา ระเบียบข้อบังคับและนโยบายของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ผลดีต่อนักศึกษา และมหาวิทยาลัยกรณีที่มีกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษา ตลอดจนศึกษาตัวอย่างการบังคับใช้กฎหมายหรือกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของหน่วยงานและสถาบันอุดมศึกษาอื่น ๆ ด้วย พบว่า กิจกรรมเสริมหลักสูตรเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ช่วยพัฒนาและเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษามีคุณลักษณะของความเป็นบัณฑิตที่สมบูรณ์ได้ และเป็นกระบวนการหนึ่งในการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมให้ผู้เรียนเป็นคนดี และมีคุณธรรมจริยธรรม ตอบสนองการพัฒนากำลังคนของประเทศได้ ดังนั้นมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จึงควรกำหนดกฎเกณฑ์การเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรของนักศึกษาอย่างชัดเจน ได้แก่ กฎเกณฑ์การยื่นคำร้องขอสำเร็จการศึกษา และกฎเกณฑ์การเสนอชื่อเพื่อขอเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตร เพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด และใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์คุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่อไป
Download
|
8 |
ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจ ของนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ผู้แต่ง:
ปิยะวัฒน์ สุธา , ภิรมย์ พาบุ
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
เจตคติ, ความพึงพอใจ, สื่อสังคมออนไลน์
หน้า: 47 - 58
(Download: 1392 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อศึกษาผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจของนักศึกษาและบุคลากรคณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือโดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาและบุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ประเภทเฟซบุ๊ก มากกว่า 10 ครั้งต่อวันเพื่อติดตามการนำเสนอข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่ทันสมัยผ่านสื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์คณะอยู่ในระดับมาก ( =4.37, S.D.=0.58) และพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.86, S.D.=0.70) นอกจากนี้แล้วยังพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( =3.95, S.D.=0.66) และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยตัวแปรอิสระ 2 กลุ่ม ระหว่างเพศที่ต่างกันพบว่าผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจไม่แตกต่างกันแต่ระหว่างกลุ่มนักศึกษาและบุคลากรพบว่า ผลการใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อเจตคติและความพึงพอใจแตกต่างกัน
Download
|
9 |
ความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกประสบการณ์ วิชาชีพของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
โสภิดา สุทธนะ
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ความต้องการ, การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ, คณะศิลปศาสตร์, มหาวิทยาลัยพะเยา
หน้า: 21 - 28
(Download: 1365 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา ปีการศึกษา 2562 จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถาม ที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.87 ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษา พบว่า นิสิตมีความต้องการในการเตรียมความพร้อมสำหรับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ด้านจิตใจมากที่สุด ( = 4.10, S.D. = 0.67) รองลงมาคือ ด้านอารมณ์ ( = 3.97, S.D. = 0.70) ด้านสังคม ( = 3.89, S.D. = 0.68)ด้านสติปัญญา ( = 3.71, S.D. = 0.73) และด้านร่างกาย ( = 3.62, S.D. = 0.84) ตามลำดับ และนิสิตต้องการให้คณะฯ จัดการเรียนการสอนโดยเน้นการปฏิบัติจริงในสถานการณ์จำลอง การศึกษาดูงาน การทำกิจกรรม/โครงงานร่วมกับชุมชนและนิสิตต่างคณะ การพัฒนาทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการเป็นผู้นำ และทักษะการทำงานร่วมกับชุมชน ซึ่งเป็นทักษะที่สำคัญกับยุคโลกาภิวัฒน์
Download
|
10 |
การพัฒนาระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด: กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
สมเกียรติ เขียวแก่
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ความพึงพอใจ, พนักงานรักษาความปลอดภัย, คิวอาร์โค้ดระบบรักษาความปลอดภัย, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
หน้า: 1 - 9
(Download: 1364 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด มาทดแทนระบบตรวจเช็คแบบเดิม และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการใช้งานระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ด โดยกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ กลุ่มบุคลากรของสถาบันฯ ที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับระบบรักษาความปลอดภัยของสถาบันฯ ได้แก่ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่หน่วยกายภาพและการบริการ หัวหน้าพนักงานรักษาความปลอดภัย และเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย จำนวน 9 คน ผลการศึกษาพบว่าระบบตรวจเช็คพนักงานรักษาความปลอดภัยด้วยคิวอาร์โค้ดเป็นระบบที่ใช้งานสะดวกมีประสิทธิภาพในการจัดการ และมีประโยชน์ในการใช้งาน ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ ผลประเมินโดยรวมของผู้ใช้งานในด้านประสิทธิภาพ และด้านประโยชน์การใช้งาน มีความพึงพอใจระดับ 4.60 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.52 เท่ากันทุกด้าน ซึ่งอยู่ในช่วงเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด
Download
|
11 |
การศึกษาพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563
ผู้แต่ง:
พรรณวิภา โชคพิกุลทอง, นพพร จันทรนำชู, สมเกียรติ ไทยปรีชา
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
พฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์, โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
หน้า: 103 - 113
(Download: 1352 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ปีการศึกษา 2563 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ของนิสิตจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเรียนออนไลน์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิต กำหนดขนาดตัวอย่าง 360 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามคณะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์ มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.957 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ด้วยสูตรของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง พิจารณารายด้านพบว่ามีเพียงด้านการจัดการเวลาเรียนอยู่ในระดับมาก 2) ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเรียนในรูปแบบออนไลน์จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า นิสิตคณะต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนด้านทัศนคติในการเรียน และด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผลที่แตกต่างกัน และนิสิตที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคปลายต่างระดับมีพฤติกรรมการเรียนด้านการจัดการเวลาเรียน ด้านการรับรู้และการใช้ความรู้ ด้านปฏิสัมพันธ์ในการเรียน และด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผลที่แตกต่างกัน 3) ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนด้านการจัดการเวลาเรียน ด้านปฏิสัมพันธ์ในการเรียน ด้านการทบทวนบทเรียนและการวัดผล ด้านการรับรู้และการใช้ความรู้ และด้านการใช้เทคนิคในการเรียน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในภาคปลาย
Download
|
12 |
การพัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ญดา ประสมพงค์, ธวัช วราไชย, จุรีพร กาหยี, รจนา แก้วพิบูลย์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
การยื่นคำร้อง, ระบบออนไลน์, การพัฒนาระบบ
หน้า: 59 - 69
(Download: 1347 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการยื่นคำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อแก้ไขปัญหาการจัดทำและการดำเนินการคำร้องของคณะวิศวกรรมศาสตร์ และเพื่อวิเคราะห์ประสิทธิภาพของระบบยื่นคำร้องที่พัฒนาขึ้นโดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเกี่ยวกับการดำเนินการยื่นคำร้อง และจากคำร้องขอลงทะเบียนเรียนกรณีพิเศษ คำร้องขอกักตัวสอบ และคำร้องขอลงทะเบียนเรียนหน่วยกิตเกินและน้อยกว่ากำหนด ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561-2562 จำนวน 3,667 คำร้อง ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาที่พบส่วนใหญ่เกิดจากการกรอกแบบฟอร์มที่ไม่ถูกต้อง การไม่เข้าใจกระบวนการยื่นคำร้อง และการไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลการแจ้งผลการพิจารณา ส่งผลให้นักศึกษาไม่สามารถแก้ไขคำร้องและลงทะเบียนเรียนไม่ทันภายในเวลาที่กำหนด โดยหลังจากเปิดใช้งานระบบการยื่น คำร้องออนไลน์สำหรับนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า จำนวนคำร้องที่มีปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาตรีลดลงจากร้อยละ 15.03 เหลือร้อยละ 1.38 และไม่พบคำร้องที่มีปัญหาของนักศึกษาระดับปริญญาโทและระดับปริญญาเอก สามารถลดขั้นตอนการทำงานของเจ้าหน้าที่เหลือ 6 ขั้นตอน/คำร้อง จากเดิม 9 ขั้นตอน/คำร้อง และลดระยะเวลาการทำงานเหลือเพียงประมาณ 4.25 นาที/ คำร้อง จากเดิมใช้เวลาประมาณ 9.33 นาที/คำร้อง และสามารถลดค่าใช้จ่ายในการสำเนาเอกสารของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ลงได้ประมาณ 1,482.50 บาท/ปี รวมทั้งสามารถลดการใช้กระดาษของนักศึกษาลงได้ประมาณ 6,300 แผ่น/ปี
Download
|
13 |
ความคาดหวังและความพึงพอใจของนักศึกษาต่อคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่ ภาควิชาวิศวกรรมชีวการแพทย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
วชิราภรณ์ ทองคุ้ม, มัชฌิมา รัตนลัมภ์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ความคาดหวัง, ความพึงพอใจ, คุณภาพ, การให้บริการ
หน้า: 131 - 140
(Download: 1347 ครั้ง)
|
Download
|
14 |
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ผู้แต่ง:
เวธกา กลิ่นวิชิต, ทวีลาภ ตั๊นสวัสดิ์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
ศักยภาพนักวิจัย, บุคลากรทางการแพทย์, วิจัยทางคลินิก
หน้า: 179 - 195
(Download: 1341 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมเป้าหมายของโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต ซึ่งการวิจัยทางคลินิกเป็นพื้นฐานที่สำคัญ ดังนั้น การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์ให้ทำวิจัยในระดับที่สูงขึ้นจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่ง งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการแพทย์เพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิก คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรตามมาตรฐานวิจัยคลินิกที่ดี ประชากรที่ศึกษาทั้งสิ้น 315 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง 176 คน เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การนำเสนอผลการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสำรวจศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัย ระยะที่ 2 การกำหนดแนวทางและการจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการวิจัยทางคลินิก และระยะที่ 3 การจัดหลักสูตรฝึกอบรมและการประเมินผล ผลการศึกษาวิจัย พบว่า ระยะที่ 1 ศักยภาพของบุคลากรด้านการวิจัย ส่วนใหญ่ อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.02, S.D.=0.85) มีความต้องการสนับสนุน ดังนี้ 1) ความรู้พื้นฐานวิจัยคลินิก (90.4%) 2) การเผยแพร่ผลงานในวารสาร (87.7%) 3) การนำผลวิจัยไปใช้ประโยชน์ (82.2%) ระยะที่ 2 แผนกลยุทธ์ด้านวิจัยคลินิก 3 Platforms คือ Platform1 จัดตั้งศูนย์วิจัยทางคลินิก Platform 2 พัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านวิจัย Platform 3 พัฒนาฐานข้อมูลและเครือข่ายวิจัย ระยะที่ 3 จัดหลักสูตรอบรม 4 หลักสูตร ความสำเร็จของโครงการ 100% มีผลงานตีพิมพ์ 16 เรื่อง สรุปได้ว่าการนำผลวิเคราะห์ศักยภาพและความต้องการของบุคลากรเป็นข้อมูลป้อนเข้าเพื่อพัฒนาแผนกลยุทธ์ด้านวิจัยส่งผลให้เกิดประสิทธิผลของการพัฒนาเพื่อรองรับการทำวิจัยทางคลินิกขององค์กร
Download
|
15 |
กลยุทธ์และสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา
ผู้แต่ง:
นิภาพร ตันเครือ
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2565
Keyword:
กลยุทธ์และสื่อประชาสัมพันธ์, การตัดสินใจเข้าศึกษาต่อ, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยพะเยา
หน้า: 169 - 178
(Download: 1299 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี และ 2) กลยุทธ์สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจในการเลือกเข้าศึกษาต่อ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยพะเยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มนิสิตใหม่ชั้นปีที่ 1 จำนวน 202 คนและกลุ่มผู้บริหาร จำนวน 5 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษาวิจัย สถิติที่ใช้ ได้แก่ แจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากการวิจัยพบว่า 1) สื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนิสิตมากที่สุด คือ การเข้าแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนของมหาวิทยาลัยพะเยา/คณะ คิดเป็นร้อยละ 72.77 รองลงมา คือ สื่อแผ่นพับ/แผ่นปลิวและสื่อสังคมออนไลน์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (เฟซบุ๊ก,ทวิตเตอร์) คิดเป็นร้อยละ 48.51 ในส่วนของเนื้อหาสื่อประชาสัมพันธ์ที่ส่งเสริมการตัดสินใจสมัครเข้าศึกษาต่อมากที่สุด ได้แก่ ด้านสถานที่ ในเรื่องภูมิทัศน์สวยงามร่มรื่น และการแนะแนวเพื่อสมัครเข้าศึกษาต่อ ผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ เช่น เว็บไซต์ และ เฟซบุ๊ก ของมหาวิทยาลัยและคณะ (4.24±0.77) รองลงมา คือ ด้านคณาจารย์มีความรู้ความสามารถตรงกับหลักสูตรที่สอน (4.13±0.78) 2) กลยุทธ์การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ที่มีความต้องการมากที่สุด คือด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้บริหารมีความต้องการในการปรับปรุงเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ให้มีความทันสมัย ทั้งภาษาไทย/อังกฤษรวมทั้งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ผ่าน เฟซบุ๊ก/ทวิตเตอร์/ สื่อโซเซียลอื่นๆ เชิงรุก นอกจากนี้ยังมีความต้องการในการเพิ่มพื้นที่การเข้าแนะแนวการศึกษาในโรงเรียนอีกด้วย
Download
|
16 |
เกณฑ์การประเมินความเสี่ยงของงานพัสดุจากกรณีตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
พิชามญชุ์ กาหลง
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน - ธันวาคม ปี 2564
Keyword:
ประเมินความเสี่ยง, งานพัสดุ, มหาวิทยาลัยมหิดล
หน้า: 154 - 164
(Download: 1258 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
บทความนี้ผู้เขียนได้นำเสนอระบบบริหารความเสี่ยงในงานพัสดุจากกรณีตัวอย่างมหาวิทยาลัยมหิดล โดยเริ่มจากการกำหนดนโยบายบริหารความเสี่ยงงานพัสดุ การระบุความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้น และผู้เขียนได้นำเสนอเหตุการณ์ความเสี่ยงของงานพัสดุ 3 ด้าน ดังนี้1) ด้านกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง ได้แก่ 1.1) คณะกรรมการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง พิจารณาคุณสมบัติ ราคา การรายงานผลการพิจารณา ละเลย
การตรวจสอบเอกสาร หลักฐานของผู้ยื่นเสนอราคา 1.2) สินค้าหรือบริการที่ส่งมอบไม่ตรงกับใบสั่งซื้อ สั่งจ้าง สัญญา 1.3) ความล่าช้าในกระบวนการการจัดซื้อจัดจ้าง 1.4) การจัดทำร่างขอบเขตของงาน (TOR) ไม่ได้แต่งตั้งบุคลการที่ชำนาญเป็นคณะกรรมการในโครงการที่จัดซื้อ 1.5) การจัดทำราคากลางสูงเกินความเป็นจริง 1.6) เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทำผิดกฎระเบียบข้อบังคับ 2) ด้านการบริหารสัญญา ได้แก่ 2.1) การจัดทำสัญญาโดยมีข้อความหรือสาระสำคัญในสัญญาผิด 2.2) เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างงานพัสดุเสี่ยงต่อการสูญหาย 2.3) การแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุขาดความรู้ ความชำนาญในพัสดุที่ได้ดำเนินการจัดซื้อหรือจ้าง 2.4) ไฟล์สำเนาเอกสารการจัดซื้อจัดจ้างงานพัสดุเสี่ยงต่อการสูญหาย3) ด้านการควบคุมพัสดุ ได้แก่ 3.1) ทะเบียนคุมครุภัณฑ์ขาดความครบถ้วน ไม่สมบูรณ์ 3.2) การบันทึกรายการวัสดุสำรองคลังไม่ถูกต้อง 3.3) ทรัพย์สินมีค่าสูญหาย 3.4) ไม่จัดทำเอกสาร หลักฐานการส่งมอบครุภัณฑ์ให้แก่ผู้ใช้งาน 3.5) บุคลากรได้รับอุบัติเหตุจากการเข้าพื้นที่ห้องเก็บพัสดุ 3.6) การลดลงของพื้นที่ใช้สอยในห้องเก็บพัสดุ ผู้เขียนคาดหวังว่าองค์ความรู้จากบทความนี้จะเป็นประโยชน์และสามารถนำไปใช้ประเมินความเสี่ยงในงานพัสดุของมหาวิทยาลัยในประเทศไทยต่อไป
Download
|
17 |
การพัฒนาคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
นนทวัช ศรีแสงฉาย
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2567
Keyword:
คู่มือการปฏิบัติงาน, ผู้นำนิสิต, การพัฒนาคู่มือ
หน้า: 22 - 36
(Download: 844 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาด้านการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 2) สร้างและหาคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงาน 3) ทดลองใช้คู่มือการปฏิบัติงาน 4) ประเมินผลการใช้คู่มือการปฏิบัติงาน โดยมีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้นำนิสิตประจำปี 2565 จำนวน 32 คน ผู้นำนิสิตประจำปี 2566 จำนวน 40 คน รองคณบดีและบุคลากรงานกิจการนิสิต จำนวน 2 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบไปด้วยแบบสัมภาษณ์ คู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินตนเองก่อนหลังการทดลองใช้คู่มือการปฏิบัติงาน แบบประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ แบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์คำหลัก (Domain Analysis) และการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analysis Induction) ผลวิจัยพบว่า 1) ปัญหาในการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิต คือ ผู้นำนิสิตไม่ทราบแนวทาง การจัดกิจกรรม ขั้นตอนการปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ เอกสารที่เกี่ยวข้องกระจัดกระจาย ยากต่อการค้นหา ทำให้การดำเนินงานล่าช้า ผิดขั้นตอน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ต้องตอบคำถามซ้ำ ๆ แก่ผู้นำนิสิต 2) ผลประเมินคุณภาพคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับผู้นำนิสิตคณะศึกษาศาสตร์ในภาพรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (mean = 4.47, S.D. = 0.53) 3) การเปรียบเทียบผลประเมินตนเองของผู้ใช้ก่อนและหลังทดลองใช้คู่มือ พบว่า ผู้ใช้มีระดับการรับรู้หลังทดลองใช้คู่มือ สูงกว่าก่อนทดลองใช้คู่มือในทุกด้าน 4) ผลประเมินการปฏิบัติงานของผู้นำนิสิต พบว่าผู้นำนิสิตสามารถดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานแต่ละด้านได้อย่างถูกต้อง 100% 5) ผลประเมินความพึงพอใจที่มีต่อคู่มือการปฏิบัติงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (mean = 4.46, S.D. = 0.52)
Download
|
18 |
การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line notify API ในสถานการณ์ COVID-19
ผู้แต่ง:
สาวิตรี วงษ์นุ่น
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน-ธันวาคม ปี 2563
Keyword:
การแจ้งเตือน , การส่งข้อความอัตโนมัติ, ระบบสารสนเทศ
หน้า: 178 - 187
(Download: 828 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การประยุกต์รูปแบบ ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line Notify API ร่วมกับระบบสารสนเทศมีหลักการทำงาน 3 ส่วน ได้แก่ การรับค่าข้อมูล การประมวลผลเพื่อการส่งค่าข้อมูลและการแสดงผลสารสนเทศไปยังกลุ่มเป้าหมาย โดยออกแบบหลักการทำงานเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นด้วยภาษา PHP และฟอร์มรับค่าสำเร็จรูป เพื่อส่งสารสนเทศอัตโนมัติเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ คือ เพื่อประยุกต์รูปแบบการสื่อสาร ICT แจ้งเตือนสารสนเทศด้วยเทคนิค Line Notify API ใช้งานร่วมกับระบบสารสนเทศองค์กรเพื่อแก้ปัญหาการเข้าถึงข้อมูลในสถานการณ์ COVID -19 ผลการประเมินการใช้งานระบบแบ่งออกได้เป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบ พบว่า ระดับความพึงพอใจด้วยคะแนนเฉลี่ยที่ 4.41 (SD = 0.40) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีมาก ด้านการออกแบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าคะแนนอยู่ที่ 4.63 (SD = 0.41) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีที่สุด และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการใช้งานระบบ พบว่า ความพึงพอใจของผู้ใช้งานค่าคะแนนเฉลี่ย 4.50 (SD = 0.44) อยู่ในระดับความพึงพอใจระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยรวมผลการประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานภาพรวมอยู่ 4.51 สรุปได้ว่าอยู่ในระดับดีที่สุด
Download
|
19 |
ระบบจัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ โดยใช้ระบบยืนยันตัวตน CMU OAuth
ผู้แต่ง:
อริษา ทาทอง, ถนอม กองใจ
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
เว็บแอปพลิเคชันออนไลน์, ระบบจัดเก็บ, สืบค้น, เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
หน้า: 92 - 102
(Download: 826 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีแนวคิดในการจัดทำระบบสำหรับจัดเก็บไฟล์เอกสารอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเก็บรวบรวมเอกสารงานสารบรรณ เช่น คำสั่ง ประกาศ ระเบียบข้อบังคับ รายงานการประชุม โครงการ และเอกสารหลักสูตร ผู้ใช้งานสามารถสืบค้นไฟล์เอกสารได้ด้วยตนเองผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ที่พัฒนาบนแพลตฟอร์มเว็บแอปพลิเคชันออนไลน์รองรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สมาร์ตโฟน ระบบถูกพัฒนาด้วยภาษา PHP HTML และโปรแกรม WordPress ในการทำระบบบริหารจัดการข้อมูล และหน้าจอแสดงผล มีการลงชื่อเข้าใช้งานระบบด้วยบัญชีรายชื่อผู้ใช้ CMU IT Account ผ่านระบบยืนยันตัวตนของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ CMU OAuth โปรแกรมถูกทดลองติดตั้งและใช้จัดเก็บไฟล์เอกสารภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ย้อนหลังตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561 จนถึงปัจจุบัน ระบบกำหนดสิทธิการเข้าใช้งานระบบเฉพาะบุคลากรสังกัดภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จำนวน 36 คน เป็นระยะเวลา 6 เดือน ผลการทดลองพบว่า ระบบช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้งานในการสืบค้นเอกสาร ได้รับไฟล์เอกสารที่ถูกต้อง ลดเวลาและขั้นตอนการสืบค้นเอกสาร ช่วยพัฒนาการให้บริการและลดขั้นตอนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ธุรการในการสืบค้นเอกสารให้แก่บุคลากรที่ติดต่อขอใช้เอกสารรองรับการจัดเก็บไฟล์เอกสารได้หลายรูปแบบและจัดเก็บไฟล์ได้เป็นจำนวนมาก มีการจัดหมวดหมู่เอกสารให้สืบค้นได้ง่าย ลดการใช้ทรัพยากรกระดาษ ผู้วิจัยได้จัดทำแบบสอบถามประเมินความพึงพอใจจากผู้ใช้งานระบบ ผลประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.65 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.60 สรุปได้ว่าผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ดังนั้นระบบที่จัดทำขึ้นนี้สามารถนำไปใช้จัดเก็บและสืบค้นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ให้สอดคล้องการบริหารงานตามแนวทางที่มุ่งเน้นประสิทธิภาพ ความคุ้มค่า และลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน
Download
|
20 |
แนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
แนวทาง, การดำเนินงาน, เกณฑ์คุณภาพการศึกษา, การดำเนินงานที่เป็นเลิศ
หน้า: 129 - 137
(Download: 711 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางที่สำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม นำไปสู่การเข้าร่วมโครงการ EdPEx200 กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการประจำคณะ หัวหน้ากลุ่มงานและบุคลากรของคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 48 คน ที่มีหน้าที่รับผิดชอบและปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาที่เป็นเลิศ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลในรูปแบบค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพ พนักงานมหาวิทยาลัย จำนวน 22 คน ร้อยละ 45.83 ตำแหน่งเจ้าหน้าที่สายสนับสนุน จำนวน 34 คน ร้อยละ 70.83 ระยะเวลาการปฏิบัติงานในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มากกว่า 10 ปีขึ้นไป จำนวน 21 คน ร้อยละ 43.75 และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศต่ำกว่า 1 ปี จำนวน 41 คน ร้อยละ 85.42 เมื่อทำการพิจารณาถึงแนวทางที่สำคัญต่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ (EdPEx) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคามที่นำไปสู่การเข้าร่วมโครงการ EdPEx200 พบว่า ในภาพรวม ( =3.99, S.D.=0.57) ระดับแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์มาก และเมื่อทำการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า บทบาทผู้บริหารการนำองค์กร สูงเป็นอันดับแรก ( =4.16, S.D.=0.55) ระดับแนวทางการดำเนินงานตามเกณฑ์มาก รองลงมาได้แก่ การนำองค์กรอย่างมียุทธศาสตร์และกลยุทธ์( =4.12, S.D.=0.57) การสื่อสารและการสร้างความเข้าใจ ( =4.10, S.D.=0.45) การถ่ายทอดค่านิยมให้เกิดผลทางปฏิบัติ ( =4.04, S.D.=0.43) การตั้งเป้าหมายความเป็นเลิศที่มุ่งเน้นลูกค้า ( =4.01, S.D.=0.50) การวัดผล วิเคราะห์ ปรับปรุงผลการดำเนินงาน ( =3.97, S.D.=0.71) การให้ความสำคัญกับบุคลากร ( =3.83, S.D.=0.68) และ
การออกแบบการบริหารจัดการกระบวนการ ( =3.71, S.D.=0.65)
Download
|
21 |
การสร้างและการตรวจสอบคุณภาพแบบสอบถามสำหรับการวิจัย
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
แบบสอบถาม, การตรวจสอบคุณภาพ, ความเที่ยงตรง, ความเชื่อมั่น
หน้า: 1 - 15
(Download: 672 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ได้แก่ การสร้างแบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพ และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติเพื่อวิเคราะห์ความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ซึ่งแบบสอบถามเป็นที่นิยมใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะข้อมูลห์สำหรับการวิจัยเชิงปริมาณ เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อนมากนัก ประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่าย และสามารถใช้เก็บข้อมูลได้พร้อมกันในจำนวนมาก ๆ โดยเฉพาะในการวิจัยทางสังคมศาสตร์ มีขั้นตอนสำคัญคือ 1) กระบวนการสร้างแบบสอบถาม ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้ 1.1) การออกแบบและ การสร้างแบบสอบถาม และ 1.2) การทดสอบแบบสอบถามเบื้องต้น และ 2) การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ซึ่งสิ่งที่ต้องตรวจสอบ เช่น 1.1) ความเที่ยงตรง 1.2) ความเชื่อมั่น 1.3) ความยากง่ายและอำนาจการจำแนก1.4) ความเป็นปรนัย 1.5) ความมีประสิทธิภาพ 1.6) ความไว 1.7) ความเป็นมิติเดียว และ 1.8) ความง่ายต่อ การนำไปใช้ แต่ทั้งนี้การตรวจสอบคุณภาพขึ้นอยู่กับลักษณะของเครื่องมือวิจัยแต่ละชนิดว่าควรตรวจสอบอะไรบ้าง เพื่อให้ครอบคลุมเนื้อหาหรือสามารถนำไปวัดค่าได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการจะวัดให้มากที่สุด
Download
|
22 |
การพัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
ผู้แต่ง:
ธีรเดช จันทามี
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
การพัฒนา, คู่มือการบริหารจัดการความเสี่ยง, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
หน้า: 215 - 226
(Download: 648 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือ อาจารย์ ผู้บริหาร 7 คน และบุคลากรสายสนับสนุน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ คู่มือปฏิบัติงานและแบบประเมินความพึงพอใจ ความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) พัฒนาคู่มือปฏิบัติงานการบริหารจัดการความเสี่ยง มีระบบและขั้นตอนการบริหารจัดการความเสี่ยงที่ชัดเจน มีตัวอย่างวิธีการระบุความเสี่ยง วิธีกำหนดปัจจัยความเสี่ยง และมีแผนผังการปฏิบัติงาน ประสิทธิภาพของคู่มือผ่านเกณฑ์ 80/80 ตามที่กำหนด (E181.83/E2 85.87) 2) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการใช้คู่มือปฏิบัติงานที่สร้างขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมาก
Download
|
23 |
การนำระบบเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) มาใช้ในการประเมินคุณภาพ การศึกษาระดับหลักสูตร กรณีศึกษา: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน - ธันวาคม ปี 2566
Keyword:
ระบบเครือข่าย, ประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน, ระดับหลักสูตร
หน้า: 98 - 109
(Download: 635 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำระบบเครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) มาใช้ในการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตร กรณีศึกษา : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มีประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 59 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.75-1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.81 พบว่า 1) สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย จำนวน 48 คน ร้อยละ 81.36 อยู่ในตำแหน่งอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร จำนวน 25 คน ร้อยละ 42.37 ระยะเวลาการปฏิบัติงาน 10–15 ปี จำนวน 30 คน ร้อยละ 50.85 2) การมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องต่อการสนับสนุนการดำเนินงานโดยการใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.38, S.D. = 0.74) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 7 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุดถึงมาก 3) การสนับสนุนของหน่วยงานในระดับมหาวิทยาลัยและคณะที่จัดการเรียนการสอนต่อการนำเกณฑ์ AUN-QA มาพัฒนาการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.75) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 6 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก และ 4) ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการใช้เกณฑ์ AUN-QA ในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับหลักสูตรภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.74) เมื่อทำการพิจารณาเป็นรายหัวข้อทั้ง 6 หัวข้อ พบว่า อยู่ในระดับมาก
Download
|
24 |
การคัดเลือกผู้ทดสอบสำหรับการทดสอบทางประสาทสัมผัสในผลิตภัณฑ์อาหาร
ผู้แต่ง:
นันธชา ไฝทอง, ก่องกาญจน์ กิจรุ่งโรจน์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
การคัดเลือกผู้ทดสอบ, การทดสอบความถูกต้อง, การทดสอบจับคู่, การทดสอบการรับรู้สิ่งกระตุ้น
หน้า: 185 - 196
(Download: 628 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการคัดเลือกผู้ทดสอบทางประสาทสัมผัสเพื่อคัดเลือกอาสาสมัครที่มีคุณสมบัติเป็นผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่าง (Sensory panel) และผู้ทดสอบสำหรับฝึกฝน (Panel for training) สำหรับทดสอบผลิตภัณฑ์อาหารของห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัส มีอาสาสมัครเข้าร่วมการทดสอบทั้งสิ้น 55 คน ช่วงอายุตั้งแต่ 23-55 ปี อาสาสมัครผ่านการคัดลือกเบื้องต้นจากการตอบแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลด้านสุขภาพ นิสัยการบริโภค คำถามด้านเนื้อสัมผัสและกลิ่นรส รวมทั้งการทดสอบตาบอดสี โดยทำการคัดเลือกผู้ที่ไม่มีภาวะของโรคหรือการใช้ยาที่มีผลต่อการรับรู้ทางประสาทสัมผัส และไม่มีปัญหาด้านการมองเห็นสี มีทัศนคติที่ดีเกี่ยวกับการบริโภคอาหาร พบว่า มีผู้ทดสอบที่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดสามารถจัดเป็นผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่างได้จำนวน 34 คน ประกอบด้วยเพศชาย 12 คน และเพศหญิง 22 คน จากนั้นทำการคัดเลือกผู้มีความสามารถด้านประสาทสัมผัสด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ทดสอบความสามารถในการรับรู้รสชาติพื้นฐานทั้ง 4 รส การทดสอบการจับคู่กลิ่น และการทดสอบการรับรู้สิ่งกระตุ้นด้วยการทดสอบแบบสามเหลี่ยมของตัวอย่างอาหารที่มีกลิ่นรสและเนื้อสัมผัสต่าง ๆ ตลอดจนความสามารถในการจัดลำดับของกลิ่นรส และเนื้อสัมผัส และการทดสอบความสามารถในการพรรณนา พบว่ามีผู้ผ่านการคัดเลือกที่สามารถเข้าร่วมโครงการฝึกฝนผู้ทดสอบต่อไปได้จำนวน 21 คน โดยเป็นเพศหญิง 12 คน และเพศชาย 9 คน ห้องปฏิบัติการทดสอบทางประสาทสัมผัสของคณะอุตสาหกรรมเกษตรได้จัดทำฐานข้อมูลของผู้ทดสอบโดยแยกเป็นประเภทผู้ทดสอบสำหรับทดสอบความแตกต่าง (34 คน) และกลุ่มผู้ทดสอบสำหรับฝึกฝน (21 คน)
Download
|
25 |
ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2565
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
ปัจจัยที่มีผล , การตัดสินใจ, ศึกษาต่อ, ระดับปริญญาตรี
หน้า: 46 - 55
(Download: 597 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีของนักศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ประจำปีการศึกษา 2565 มีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การวิจัย จำนวน 297 คน โดยการใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม (Questionnaire) มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.76 - 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.83 และแบบสัมภาษณ์แบบเจาะลึก มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.81 – 1.00 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลวิจัยในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีการศึกษา 2565 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( =4.35, S.D.=0.69) และเมื่อทำการพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านภาพลักษณ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สูงเป็นอันดับแรกอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.53, S.D.=0.67) รองลงมาอยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน ( =4.49, S.D.=0.63) ด้านครอบครัว ( =4.40, S.D.=0.64) ด้านอาจารย์ ( =4.35, S.D.=0.67) ด้านการประชาสัมพันธ์ ( =4.30, S.D.=0.65) ด้านเหตุผลส่วนบุคคล ( =4.21, S.D.=0.87) และด้านสภาพแวดล้อม ( =4.17, S.D.=0.76)
Download
|
26 |
การมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2564
Keyword:
คุณภาพการศึกษา, การดำเนินงานที่เป็นเลิศ, การมีส่วนร่วม
หน้า: 168 - 177
(Download: 539 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จากเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 หมวด กลุ่มตัวอย่างการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหาร คณะกรรมการประจำคณะ หัวหน้ากลุ่มงานและบุคลากรของคณะโดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 48 คน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์และเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูปหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปแบบสถิติเชิงพรรณนา ผลวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินงานที่เป็นเลิศ จำแนกตามสถานภาพ พบว่า บุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในสถานภาพพนักงานมหาวิทยาลัย (ร้อยละ 45.83) ระยะเวลาการปฏิบัติงานมากกว่า 10 ปี (ร้อยละ 43.75) ประสบการณ์การปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพฯ (ร้อยละ 85.42) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บุคลากรมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพฯ เป็นอันดับแรก คือ การเข้าร่วมรับการฝึกอบรมและการเป็นคณะกรรมการฯ (X̅=3.33, S.D.=1.13) รองลงมา ได้แก่ การเข้าร่วมรับฟังนโยบายฯ (X̅=3.13, S.D.=0.79) และการมีส่วนร่วมการปฏิบัติงานฯ (X̅=1.77, S.D.=0.84) และ 2) ปัญหาอุปสรรคการปฏิบัติงานตามเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศของบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ จากเกณฑ์การประเมินทั้ง 7 หมวด พบว่า หมวดที่ 1) การนำองค์กรเป็นปัญหาและอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานอันดับสูงสุด (X̅=4.27, S.D.=0.53) รองลงมา ได้แก่หมวดที่ 2) การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (X̅=4.19, S.D.=0.55) หมวดที่ 7) ผลลัพธ์ (X̅=3.98, S.D.=0.69) หมวดที่ 5) การมุ่งเน้นบุคลากร (X̅=3.89, S.D.=0.61) หมวดที่ 6) การมุ่งเน้นปฏิบัติการ (X̅=3.82, S.D.=0.63) หมวดที่ 4) การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ (X̅=3.69, S.D.=0.64) และหมวดที่ 3) การมุ่งเน้นลูกค้า (X̅=3.52, S.D.=0.71)
Download
|
27 |
การวิเคราะห์จำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำ (FTES) ที่มีผลต่อการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 ของคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง
ผู้แต่ง:
ชยภร ศิริโยธา
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน - ธันวาคม ปี 2565
Keyword:
นักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่า, อาจารย์ประจำ, ประกันคุณภาพ
หน้า: 78 - 87
(Download: 528 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) วิเคราะห์ผลการคำนวณสัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 2) วิเคราะห์ความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ ผู้วิจัยนำแบบบันทึกสรุปผลการวิเคราะห์ค่าความแตกต่างและแบบประเมินสรุปคะแนนการประเมินประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2559 – 2563 จำนวน 5 เล่ม และผลการวิเคราะห์ SWOT Analysis มาใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาวิเคราะห์ผลการดำเนินงาน พบว่า 1) สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES มีจำนวนสัดส่วนที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 25.82 32.14 34.27 46.22 และ 51.75 2) ค่าความแตกต่างตามเกณฑ์มาตรฐาน FTES และตามคู่มือ การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 มีจำนวนค่าความแตกต่างที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อยู่ที่ 5.82 (25.82 : 1) 12.14 (32.14 : 1) 14.27 (34.27 : 1) 26.22 (46.22 : 1) และ 31.75 (51.75 : 1) และ 3) การแปลผลความแตกต่างจากเกณฑ์มาตรฐาน FTES เป็นค่าคะแนนการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ มีการแปลผลค่าคะแนนที่ไม่เป็นไปตามคู่มือประกันคุณภาพการศึกษาภายใน พ.ศ.2557 อยู่ที่ 29.08 (0.00 คะแนน) 60.69 (0.00 คะแนน) 71.37 (0.00 คะแนน) 131.08 (0.00 คะแนน) และ 158.76 (0.00 คะแนน) จากวิเคราะห์ผลการดำเนินงานในครั้งนี้จะนำไปกำหนดทิศทางการวางแผนวิเคราะห์ผลการดำเนินงานลงไปในรายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนของคณะเพื่อหาแนวทางแก้ไขที่จะดำเนินงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์และเกณฑ์มาตรฐาน FTES ต่อไป
Download
|
28 |
การพัฒนาระบบการจัดการสารเคมีของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วริญดา ประทุมวัลย์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2566
Keyword:
การจัดการสารเคมี, ห้องปฏิบัติการปลอดภัย, ลีน, ฐานข้อมูลสารเคมี
หน้า: 185 - 195
(Download: 459 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสารเคมี ซึ่งประกอบด้วยการจัดทำระบบฐานข้อมูลสารเคมี และพัฒนาระบบการจัดเก็บสารเคมีที่ปลอดภัยสำหรับห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์ ระบบการจัดการสารเคมีได้รับการพัฒนาขึ้นตามแนวทางการจัดการแบบลีน โดยรวบรวมรายชื่อสารเคมีที่มีอยู่และวิเคราะห์ปัญหาที่ก่อให้เกิดการมีสารเคมีที่ไม่จำเป็นก่อนจะพัฒนาวิธีการจัดการสารเคมีและประเมินประสิทธิภาพของกระบวนการ จากผลการวิจัยพบว่า ในปัจจุบันห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีวัสดุภัณฑ์มีรายการสารเคมี จำนวน 132 รายการ จากสารเคมีทั้งหมดมีสารเคมีหมดอายุจำนวน 12 ชนิด และสารเคมีที่ถูกใช้สำหรับการทดลองในห้องปฏิบัติการอีก 68 ชนิด ซึ่งมีนัยว่ายังมีสารเคมีที่เหลืออีกจำนวนมากที่ไม่จำเป็นต้องใช้ในห้องปฏิบัติการ ทั้งนี้เป็นเพราะขาดระบบการจัดการสารเคมีที่ดี ในการจัดทำระบบการจัดการสารเคมี สารเคมีทั้งหมดได้ถูกจำแนกประเภทตามสัญลักษณ์สีและเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกเพื่อความปลอดภัยในกรณีที่สารเคมีรั่วไหล เมื่อเทียบขั้นตอนการจัดการสารเคมีทั่วไป พบว่า ระบบการจัดการที่พัฒนาขึ้นสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานได้ถึงร้อยละ 68 การจัดเก็บสารเคมีในห้องปฏิบัติการมีระเบียบและสะดวกยิ่งขึ้นในการทำงาน นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนนความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ (ในกรณีของระบบการจัดการสารเคมี) จากร้อยละ 14.28 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 88.57 เมื่อประเมินโดยใช้รายการตรวจสอบตามมาตรฐาน การปรับปรุงการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการวิจัยของประเทศไทย (ESPReL)
Download
|
29 |
การพัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ ด้านความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ปิยะนันต์ จำนงสุทธเสถียร, พิชิต ลีรุ่งนาวารัตน์
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
การจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย, ความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์, ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์
หน้า: 163 - 172
(Download: 458 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การให้บริการเว็บไซต์ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเสี่ยงจากการโดนโจมตีทาง ไซเบอร์ และถูกบุกรุกเข้าสู่ระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงได้พัฒนากระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัย (Security information and event management : SIEM) ของเครื่องแม่ข่าย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคของกระบวนการจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยของเครื่องแม่ข่ายที่ให้บริการเว็บไซต์จำนวน 40 เครื่อง ที่ใช้ระบบปฏิบัติการและเว็บเซอร์วิสที่ต่างกันและศึกษาโปรแกรมประเภทโอเพนซอร์สที่มีความสามารถจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยเพื่อนำมาพัฒนากระบวนการใหม่ พบว่าโปรแกรม Wazuh เป็นโปรแกรมประเภทโอเพนซอร์สที่มีความสามารถที่จะรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์จากเครื่องแม่ข่ายต่าง ๆ และนำมาวิเคราะห์ตรวจสอบข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์แบบ Real-time เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์ได้ทันท่วงที เช่น การปิดกั้นการเข้าถึงจากผู้ประสงค์ร้ายได้ และยังสามารถวิเคราะห์สืบสวนหาร่องรอยการโดนโจมตีในอดีตได้อีกด้วย จากการติดตั้ง ตั้งค่า ทดสอบประสิทธิภาพการทำงาน พบว่ากระบวนการทำงานใหม่มีการเก็บรวบรวมข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์มาทำการวิเคราะห์และตรวจสอบด้วยระบบอัตโนมัติแบบ Real-time สามารถค้นหาและคัดกรองข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยที่ต้องการได้รวดเร็ว หากพบการโจมตีจะปิดกั้นโดยอัตโนมัติไม่ให้ผู้บุกรุกสามารถเข้าถึงเครื่องแม่ข่ายได้อีก รวมถึงโปรแกรมสามารถแสดงผลข้อมูลเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยเป็นกราฟข้อมูลทางสถิติที่สามารถเข้าใจได้ง่าย อีกทั้งยังช่วยประหยัดงบประมาณค่าระบบจัดการข้อมูลด้านความปลอดภัย และเหตุการณ์ด้านความปลอดภัยได้หลายล้านบาทต่อปี
Download
|
30 |
การสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับมาตรฐาน Clinical Decision Support
ผู้แต่ง:
ปรียาภรณ์ สุขงาม
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
ระบบการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์, ระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิก, ความปลอดภัยของผู้ป่วย
หน้า: 180 - 188
(Download: 448 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ความคลาดเคลื่อนการสั่งใช้ยาและคัดลอกคำสั่งใช้ยา เป็นสาเหตุอันไม่พึงประสงค์ ที่ทำให้เกิดการสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมหรือเป็นอันตรายต่อผู้ป่วย ซึ่งแนวทางในการลดความคลาดเคลื่อนนี้ คือ การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมในการทำงานหรือปรับปรุงระบบงาน โดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเข้ามาช่วยปิดช่องโหว่และสนับสนุนการทำงานของแพทย์ให้เกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับความปลอดภัยของผู้ป่วยในการได้รับการรักษา โดยอ้างอิงมาตรฐานความปลอดภัยของผู้ป่วย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญในระบบบริการสุขภาพที่ผู้ป่วยที่มาใช้บริการในโรงพยาบาลนั้น ๆ พึงจะได้รับ จึงได้มีการนำเอามาตรฐานการสั่งยาทางอิเล็กทรอนิกส์มาประยุกต์ใช้ร่วมกับแนวคิดของระบบสนับสนุนการตัดสินใจทางคลินิกเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญของ ความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วย สามารถวางแผนการเก็บข้อมูลได้ถูกต้องครบถ้วน นำไปสู่การวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุในเชิงระบบ และวางแนวทางในการป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการสั่งใช้ยาและคัดลอกคำสั่งใช้ยา ส่งผลให้แพทย์สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เพิ่มความปลอดภัยและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาผู้ป่วย อันเกิดจากเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ซึ่งระบบจะมีการใช้ฐานข้อมูลความรู้ทางคลินิกและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยแล้วนำมาวิเคราะห์แนวโน้มเพื่อส่งข้อมูลไปยังระบบการแจ้งเตือน และแสดงรายละเอียดให้แก่แพทย์เพื่อใช้ในการประกอบการวินิจฉัยโรค ตลอดจนการให้คำแนะนำในการดูแลผู้ป่วยอย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถลดระยะเวลาสำหรับการรอรับยาของผู้ป่วย ซึ่งจัดเป็นมาตรฐานชี้วัดคุณภาพของโรงพยาบาลอย่างหนึ่งว่าสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพสูงสุด และในอนาคตหากมีการพัฒนาระดับองค์รวม โดยทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินการปรับรูปแบบการรับส่งข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ก็จะสามารถทำให้การเชื่อมโยงข้อมูลทำได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น
Download
|
31 |
การประยุกต์ใช้ คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และ กูเกิลคาเลนดาร์ ในการบริหารจัดการระบบจองห้องเรียน
ผู้แต่ง:
ณัฎฐนิช พยนต์ยิ้ม, ปภาอร เขียวสีมา, ลักษิกา สว่างยิ่ง, พรพัฒน์ ธีรโสภณ
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2565
Keyword:
คิวอาร์โค้ด, กูเกิลฟอร์ม, กูเกิลคาเลนดาร์
หน้า: 182 - 192
(Download: 428 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาระบบจองห้องโดยประยุกต์ใช้ คิวอาร์โค้ด จากกูเกิลฟอร์มและกูเกิลคาเลนดาร์ และประเมินความพึงพอใจโดยรวมของผู้ใช้งานระบบการจองห้องด้วย คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มร่วมกับกูเกิลคาเลนดาร์โดยการสร้างระบบการจองห้องและการตรวจสอบสถานะห้อง ประเมินความเหมาะสมของระบบการจองห้อง และสำรวจความพึงพอใจจากบุคลากรและนิสิตคณะทันตแพทยศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ นำเสนอข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มและ กูเกิลคาเลนดาร์สามารถนำมาประยุกต์ใช้พัฒนาระบบได้เป็นอย่างดี จากผลการประเมินความเหมาะสมของระบบการจองห้องด้วย คิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์ม และ กูเกิลคาเลนดาร์ โดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ภาพรวมมีความเหมาะสมมาก ( = 4.33, s = 0.33) จากการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบจำนวน 108 คน พบว่า ระบบคิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มมีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.43, S.D. = 0.62) และระบบ กูเกิลคาเลนดาร์ มีความพึงพอใจโดยรวมอยู่ในระดับดี ( = 4.36, S.D. = 0.65) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การประยุกต์ใช้ระบบ ระบบคิวอาร์โค้ด กูเกิลฟอร์มร่วมกับ กูเกิลคาเลนดาร์ ในการบริหารจัดการระบบการจองห้องคณะทันตแพทยศาสตร์ ผู้ใช้ระบบ มีความคิดเห็นว่าระบบจองห้องที่ทำขึ้น มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถลดขั้นตอนและเวลาในการจองห้อง ระบบมีความเป็นปัจจุบันทันสมัย ช่วยประหยัดเวลา และแบ่งเบาภาระของเจ้าหน้าที่ได้เป็นอย่างดี
Download
|
32 |
การศึกษาศักยภาพการวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหาร ด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
ปาริดา จันทร์สว่าง
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2563
Keyword:
การสั่นทางพลวัต, การคืบและการคืน, อาหาร , รีโอมิเตอร์
หน้า: 102 - 111
(Download: 426 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ความหลากหลายของตัวอย่างอาหารที่นำมาตรวจวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ยังมีค่อนข้างน้อย ทั้งนี้เนื่องจากผู้รับบริการยังไม่ทราบถึงศักยภาพการใช้เครื่องรีโอมิเตอร์ในการวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหารชนิดต่าง ๆ ดังนั้นเพื่อรองรับการให้บริการของตัวอย่างที่หลากหลาย ผู้วิจัยจึงได้ศึกษาศักยภาพการวิเคราะห์สมบัติ วิสโคอิลาสติกในตัวอย่างอาหารที่แสดงพฤติกรรมเชิงรีโอโลยีที่หลากหลายด้วยเครื่องรีโอมิเตอร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในตัวอย่างที่มีสถานะของเหลวและของเหลวกึ่งแข็ง โดยทดสอบการสั่นทางพลวัต (ความถี่ 0.1-100 rad/s) และการทดสอบการคืบและการคืน (ความเค้นเฉือน 10 Pa 200 วินาที) ผลการศึกษาพบว่า น้ำเชื่อมช็อกโกแลต และสตาร์ชมันสำปะหลัง ร้อยละ 6 มีสมบัติ วิสโคอิลาสติกคล้ายของไหล(tand≈1) แป้งถั่วเขียว ร้อยละ 6 ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ แป้งกล้วย ความเข้มข้นร้อยละ 6 แป้งข้าวโพด ร้อยละ 6 และมายองเนส และโดขนมปังที่มีลักษณะคล้ายเจลอ่อน (0.15≤tand≤0.88) เจลลี่และวุ้นอ่อนมีสมบัติคล้ายเจลที่แท้จริง นอกจากนี้เครื่องรีโอมิเตอร์ยังมีศักยภาพในการทดสอบการคืบและการคืนโดยพบว่า ตัวอย่างเจลสตาร์ชมันสำปะหลัง ร้อยละ 8 เจลสตาร์ชข้าวเหนียวร้อยละ 8 เจลสตาร์ชข้าวหอมมะลิ ร้อยละ 8 โดขนมปัง ไส้กรอก ลูกชิ้นหมู ลูกชิ้นปลา และปูอัดมีลักษณะเป็นวิสโคอิลาสติก ตามรูปแบบของ Berger model ลูกชิ้นปลามีความเป็นวัสดุอิลาสติกสูงสุด (G0=9.5x104 Pa) โดขนมปังมีความเป็นวิสโคอิลาสติกสูงสุด (T1=30 s) ซึ่งเครื่องรีโอมิเตอร์ของคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สามารถรองรับการตรวจวิเคราะห์สมบัติวิสโคอิลาสติกในอาหารที่หลากหลายได้
Download
|
33 |
การพัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้แต่ง:
วันชัย แซ่ลิ่ม
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
ไลน์, แชทบอท, ระบบโต้ตอบอัตโนมัติ
หน้า: 56 - 65
(Download: 420 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบโต้ตอบอัตโนมัติผ่านแอปพลิเคชันไลน์ เพื่อสนับสนุนการให้บริการแก้ไขปัญหาคอมพิวเตอร์ของสาขาวิชา และกลุ่มงานต่าง ๆ ภายในคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งผู้ใช้งานสามารถสอบถามแนวทางการแก้ไขปัญหาได้ตลอดเวลา ทำให้ช่วยลดภาระงานให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการสนับสนุนระบบคอมพิวเตอร์ได้ ด้วยการประยุกต์ใช้บริการข้อความไลน์ตอบกลับอัตโนมัติ ทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มไดอะล็อกโฟลว์ ที่มีความสามารถด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ พร้อมทั้งประกอบไปด้วยระบบย่อย ๆ ที่เรียกว่า ริชเมนู สำหรับการเข้าใช้งานเว็บไซต์บริการของฝ่ายคอมพิวเตอร์ทางวิศวกรรม ทั้งยังสามารถกระจายข้อมูลถึงผู้ใช้งานเพื่อแจ้งข่าวสาร หรือประชาสัมพันธ์ ในการพัฒนาระบบนี้ใช้กระบวนการพัฒนาระบบสารสนเทศตามวงจรการพัฒนาระบบซึ่งประกอบไปด้วย 6 ขั้นตอนหลักประกอบด้วยการออกแบบเบื้องต้น การออกแบบระบบเชิงตรรกะ การออกแบบระบบเชิงกายภาพ การพัฒนาระบบ และการบำรุงรักษาระบบ จากผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินความพึงพอใจด้านการออกแบบ ได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.31 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.587) ความพึงพอใจระดับมากที่สุด ด้านการประมวลผลได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.03 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.575) ความพึงพอใจระดับมาก ด้านกระบวนการและขั้นตอนการใช้งาน ได้รับคะแนนเฉลี่ยที่ 4.23 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.679) ความพึงพอใจระดับมากที่สุด สรุปผลภาพรวมของการประเมินได้รับคะแนนเฉลี่ยรวมที่ 4.19 (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.614) ความพึงพอใจระดับมาก
Download
|
34 |
ผลกระทบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพ การปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ผู้แต่ง:
ประภัสสร จรัสอรุณฉาย
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
นวัตกรรม, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน, ความเชี่ยวชาญ, การคาดหวังผลลัพธ์
หน้า: 161 - 174
(Download: 400 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน 2) เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน และ 3) เพื่อศึกษาผลกระทบของพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา เป็นของพนักงานสายสนับสนุน กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม สุ่มกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 113 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์พหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ตัวแปรอิสระ ที่ใช้ในการศึกษา คือ พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานของพนักงานสายสนับสนุน ส่วนตัวแปรตามคือ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน ผลการวิจัย พบว่า 1) ทั้งระดับความคิดเห็นเฉลี่ยเกี่ยวกับพฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมและรายด้านของพนักงานสายสนับสนุน อยู่ในระดับมากและมีความแปรผันอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ทั้งกลุ่ม โดยมีค่าเฉลี่ยและค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (4.17) และ (4.31) ตามลำดับ 2) ผลการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานสายสนับสนุน พบว่า พฤติกรรมการสร้างนวัตกรรมในการทำงานในทุกด้านมีผลกระทบเชิงบวกต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยรวมของพนักงานสายสนับสนุน มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่าง 0.452-0.633
Download
|
35 |
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยในการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุน
ผู้แต่ง:
ศักดิ์ชัย จันทะแสง
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
สถิติ, บุคลากรสายสนับสนุน, ผลงานทางวิชาการ
หน้า: 1 - 10
(Download: 381 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยในการทำผลงานทางวิชาการของบุคลากรสายสนับสนุนมีความแตกต่างกัน
ขึ้นอยู่กับปัญหาการวิจัยแต่ละเรื่อง ซึ่งการเลือกสถิติที่เหมาะสมในการวิเคราะห์ข้อมูล โดยพิจารณาจากคำถาม
วัตถุประสงค์การวิจัยหรือสมมติฐานการวิจัย การออกแบบวิจัย และข้อควรระวังในการเลือกใช้สถิติเพื่อการวิจัยที่
สำคัญคือ 1) อำนาจการทดสอบต่ำ เนื่องมาจากขนาดตัวอย่างไม่เพียงพอ และ 2) การฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของ
การทดสอบทางสถิติ แต่การเลือกใช้สถิติควรพิจารณาองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ตัวแปร ระดับของการวัด การสุ่ม
กลุ่มตัวอย่างหรือใช้ประชากรทั้งหมด องค์ประกอบเหล่านี้จำเป็นต้องนำมาร่วมพิจารณาในการตัดสินใจเลือกใช้
สถิติด้วยทุกครั้ง เพื่อไห้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ถูกต้องแม่นยำ และความเชื่อมั่นอันจะนำไปสู่ผลการวิจัยที่มีคุณภาพ
Download
|
36 |
การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สถานบริการวิชาการ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
สุภาพรรณ เอกอุฬารพันธ์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2563
Keyword:
ความคุ้มค่า, เครื่องมือวิทยาศาสตร์
หน้า: 156 - 162
(Download: 368 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความคุ้มค่าของเครื่องมือวิทยาศาสตร์ สถานบริการวิชาการด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2558 – 2560 โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์จากแบบบันทึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น และคำนวณสถิติ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและ ค่าร้อยละ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ความคุ้มค่าในด้านการบริหารจัดการที่เกิดประโยชน์สูงสุดในระดับบุคคล มีความประหยัดงบประมาณ และการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัด เกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่า ผลการวิจัย พบว่า เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีให้บริการจำนวน 144 รายการ มีการใช้บริการจริง จำนวน 116 รายการ คิดเป็นร้อยละ 80.56 โดยมีอัตราเฉลี่ยผู้ใช้บริการ 9 คนต่อรายการ และเป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีอายุการใช้งานเกินเกณฑ์ 5 ปี ร้อยละ 88.79 นอกจากนี้ยังพบว่าห้องปฏิบัติการเลี้ยงเซลล์มีการใช้บริการมากที่สุด แสดงถึงความคุ้มค่าด้านการจัดห้องปฏิบัติการตามวัตถุประสงค์เฉพาะและมีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ ที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้บริการ เกิดประโยชน์สูงสุดในการทำงานระดับบุคคล และพบว่า ตู้แช่แข็ง -80 องศาเซลเซียส เป็นเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ใช้บริการคุ้มค่าที่สุด มีอายุการใช้งานนาน 12 ปี ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนและการวิจัยของนิสิตและบุคลากรทุกภาควิชาของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ใช้งบประมาณการจัดซื้อและซ่อมบำรุงอัตราเฉลี่ยที่ 2,461.06 บาทต่อคน ข้อมูลจากการศึกษาครั้งนี้ จะเป็นแนวทางการตัดสินใจในการจัดสรรงบประมาณการจัดซื้อและซ่อมบำรุงเครื่องมือวิทยาศาสตร์ให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ต้องมีการหาแนวทางในการส่งเสริมการใช้บริการเครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่ยังมีการใช้บริการน้อยต่อไป
Download
|
37 |
วิธีการสกัดกรดนิวคลีอิก (NTK) สำหรับการเรียนกลุ่มชีวเคมีพื้นฐานและ การวิจัยทางด้านชีวเคมี
ผู้แต่ง:
ไพศาล ขาวสัก
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
กรดนิวคลีอิก, ดีเอ็นเอ, การสกัดกรดนิวคลีอิก, วิธีการสกัดดีเอ็นเอ
หน้า: 25 - 34
(Download: 366 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเทคนิคการสกัดกรดนิวคลีอิกถือว่ามีบทบาทที่สำคัญในอณูชีววิทยา ดีเอ็นเอที่ได้ต้องมีคุณภาพและปริมาณสูง อย่างไรก็ตามชุดสกัดดีเอ็นเอมาตรฐานยังต้องใช้อุปกรณ์และสารเคมีที่มีต้นทุนสูงและซับซ้อน วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้คือ พัฒนาวิธีการสกัดกรดนิวคลีอิกที่เรียกว่า วิธี NTK (Nucleic acid Tool Kits) ให้มีความสะดวก เพื่อใช้ในการเรียนการสอนในกลุ่มวิชาชีวเคมีพื้นฐานและงานวิจัย โดยประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์และสารเคมีที่มีราคาถูก มีความเหมาะสม สะดวก ประหยัดเวลาและมีประสิทธิภาพดีเทียบเท่ากับชุดสกัดดีเอ็นเอที่ได้มาตรฐานจากการศึกษาเปรียบเทียบคุณภาพของดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัด ตามวิธี NTK กับดีเอ็นเอที่สกัดได้จากวิธีมาตรฐานคือ ชุดสกัดดีเอ็นเอของ Trizol® reagent (Invitrogen, USA), ชุดสกัดดีเอ็นเอของ NucleoSpin® tissue (MACHERREY-NAGEL, Germany), และ ชุดสกัดดีเอ็นเอของ QIAamp® DNA Mini kit (QIAgen, Germany) จากตัวอย่างแบคทีเรียแกรมบวกและแกรมลบคือ Escherichia coli, Pseudomonas aeruginosa, Enterococcus faecalis และ Staphylococcus aureus ผลการวิจัยพบว่า ดีเอ็นเอที่สกัดได้ ตามวิธี NTK มีความบริสุทธิ์ ไม่แตกต่างจากวิธีมาตรฐานอื่นอย่างมีนัยสำคัญ ได้ดีเอ็นเอที่มีคุณภาพและปริมาณสูงกว่าวิธีมาตรฐานอื่น (p<0.05) ดังนั้น ดีเอ็นเอจากการสกัด ตามวิธี NTK จึงมีคุณภาพสูงกว่าดีเอ็นเอที่ได้จากการสกัดตามวิธีมาตรฐาน ยืนยันผลการวิจัยเมื่อเปรียบเทียบด้วยแถบความเข้มของดีเอ็นเอ ที่ได้จากเทคนิคพีซีอาร์ ดังนั้น การสกัดดีเอ็นเอ ตามวิธี NTK เป็นวิธีสกัดดีเอ็นเอที่มีประสิทธิภาพสูงกว่าวิธีการสกัดดีเอ็นเอมาตรฐานอื่น ด้วยต้นทุนที่ถูกกว่า เป็นวิธีการที่ง่ายและสะดวกกว่า จึงเป็นทางเลือกให้ อาจารย์ นิสิต นักศึกษา และ นักวิจัย ได้นำไปใช้ในการเรียนการสอนและงานวิจัยต่อไป
Download
|
38 |
การวิเคราะห์ชนิดและปริมาณแคโรทีนอยด์ในเยื่อหุ้มเมล็ดผลสุกฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) ที่สภาวะการเก็บรักษาแตกต่างกัน
ผู้แต่ง:
จิราภรณ์ พิมพ์ภูมี, คมศร ลมไธสง
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน-ธันวาคม ปี 2562
Keyword:
ฟักข้าว, แคโรทีนอยด์, เบต้าแคโรทีน, ไลโคปีน
หน้า: 10 - 16
(Download: 366 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดที่มีอยู่ในเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวระยะสุกแก่ (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng.) ที่สภาวะการเก็บรักษาแตกต่างกัน คือ ที่อุณหภูมิ 4 ºC -20 ºC และ -70 ºC เป็นเวลา 5 วัน 10 วัน และ 15 วัน และเปรียบเทียบปริมาณของแคโรที-นอยด์ทั้งหมดในเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวที่ทำให้แห้ง ด้วยวิธีผึ่งให้แห้งด้วยลม และผึ่งให้แห้งด้วยแดดกลางแจ้ง เป็นเวลา 3 และ 5 วัน ทำการวิเคราะห์หาปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดโดยนำมาวัดค่าการดูดกลืนแสงด้วยเครื่องสเปคโตรโฟโตรมิเตอร์ และวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของแคโรทีนอยด์ด้วยเทคนิค HPLC ผลการวิจัยพบว่า การเก็บรักษาเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน และการผึ่งให้แห้งด้วยลม จะมีปริมาณของแคโรทีนอยด์ทั้งหมดมากที่สุด เท่ากับ 4.232 ± 0.100 mg/g และ 2.910 ± 0.114 mg/g ตามลำดับ นอกจากนี้เมื่อนำเยื่อหุ้มเมล็ดของผลสุกฟักข้าวมาวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของแคโรที-นอยด์ด้วยเทคนิค HPLC สามารถตรวจพบแคโรทีนอยด์ 2 ชนิด คือ เบต้าแคโรทีนและไลโคปีน ในปริมาณมากที่สุดเมื่อเก็บรักษาที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน คือ 2.083 และ 0.701 mg/g ตามลำดับ และพบว่าการผึ่งให้แห้งด้วยลม สามารถตรวจพบเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน ในปริมาณมากที่สุดเช่นเดียวกัน คือ 0.637 และ 0.629 mg/g ตามลำดับ จะเห็นได้ว่าการเก็บรักษาเยื่อหุ้มเมล็ดของฟักข้าวระยะสุกแก่ที่อุณหภูมิ -20 ºC เป็นเวลา 5 วัน และการผึ่งให้แห้งด้วยลม เป็นสภาวะที่เหมาะสมกับการเก็บรักษา
Download
|
39 |
การพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการ
ผู้แต่ง:
ธีติมา ไชยกิจ, ธนาคม เจริญพิทย์, มนตรี ศิริปรัชญานันท์
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
ระบบฐานข้อมูล, วารสารวิชาการ, ระบบการจัดการ
หน้า: 49 - 61
(Download: 354 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การจัดทำวารสารวิชาการเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้จากงานวิจัย เป็นสิ่งชี้วัดถึงผลงานทางวิชาการของมหาวิทยาลัย และมีระบบฐานข้อมูลที่ดีจะช่วยสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลข้อมูล จากปัจจุบันพบว่า การจัดเก็บข้อมูลผู้เขียนบทความ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบคุณภาพบทความ และบรรณาธิการประจำบทความ มีการจัดเก็บบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทำให้มีการเข้าถึงข้อมูลได้ยาก ผู้วิจัยจึงสนใจจัดทำระบบการจัดการงานวารสารวิชาการเพื่อนำข้อมูลต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีวัตถุประสงค์ใน การวิจัย 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการ 2) เพื่อพัฒนาระบบการจัดการงานวารสารวิชาการและ 3) เพื่อการประเมินประสิทธิภาพของระบบที่พัฒนาขึ้น โดยศึกษาจากระบบการทำงานเดิม รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ ออกแบบระบบฐานข้อมูล และพัฒนาระบบฐานข้อมูล โดยใช้ภาษา Yii Framework ช่วยในสร้างเว็บแอปพลิเคชันได้อย่างรวดเร็วและมีระบบแคชซึ่งช่วยให้การประมวลผลเร็วยิ่งขึ้น และการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือมีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ที่ 5.67 ดังนั้นข้อคำถามมีความสอดคล้องกับงานวิจัย โดยระบบดังกล่าวได้ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ใช้ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4 ด้าน 1) ด้านระบบตรงต่อความต้องการผู้ใช้ 2) ด้านความถูกต้องของผลลัพธ์ที่ได้จากระบบ 3) ด้านการใช้งานของระบบมีความง่ายต่อการใช้งาน และ 4) ด้านการตรวจสอบข้อผิดพลาดของข้อมูล เมื่อดำเนินการพัฒนาระบบได้จัดทำการประเมินผลและทดสอบระบบ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ บรรณาธิการและผู้ที่ทำหน้าที่เป็นฝ่ายจัดการวารสารในกองบรรณาธิการจำนวน 10 วารสาร ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ผลประเมินพบว่า คะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยความพึงพอใจเท่ากับ 4.76 แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสร้างความพึงพอใจต่อผู้ทดลองใช้ สามารถนำไปใช้ในการจัดการงานวารสารวิชาการได้
Download
|
40 |
การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564
ผู้แต่ง:
อุเทน หินอ่อน
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2566
Keyword:
งบประมาณ, การเบิกจ่ายงบประมาณ, คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
หน้า: 96 - 103
(Download: 340 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิเคราะห์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2560-2564 ใน 3 มิติ คือ 1) มิติด้านแหล่งงบประมาณ 2) มิติด้านภารกิจหลัก และ 3) มิติด้านหน่วยงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารแผนปฏิบัติราชการประจำปีและเอกสารรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณประจำปี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการเปรียบเทียบและใช้สถิติเชิงพรรณนาในการนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปีงบประมาณที่ระดับประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณมากที่สุด คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 มีประสิทธิภาพระดับสูง เบิกจ่ายร้อยละ 93.07 รองลงมา คือ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง เบิกจ่ายร้อยละ 89.63 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 มีประสิทธิภาพระดับปานกลาง เบิกจ่ายร้อยละ 86.20 ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีประสิทธิภาพระดับต่ำ เบิกจ่ายร้อยละ 85.88 และ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 มีประสิทธิภาพระดับต่ำ เบิกจ่ายร้อยละ 85.17 ตามลำดับ เห็นได้ว่าประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณ 5 ปีย้อนหลัง ส่วนมากอยู่ในช่วงระดับต่ำถึงปานกลาง ดังนั้น จึงควรพิจารณาปรับมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณให้สูงขึ้น
Download
|
41 |
ความต้องการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผู้แต่ง:
ธานินทร์ เงินถาวร , อทิตา มู่สา, พิธาน ดลหมาน, ยุทธชัย ด้วงสวัสดิ์
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
ความต้องการศึกษาต่อ, หลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ), คณะนิติศาสตร์, มหาวิทยาลัยทักษิณ
หน้า: 144 - 151
(Download: 334 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการในการศึกษาต่อหลักสูตรปริญญาเอก (หลักสูตรบูรณาการ) คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ในการศึกษาเชิงคุณภาพใช้กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 12 คน ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กลุ่มที่ 2 ในการศึกษาเชิงปริมาณ จะใช้กลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในหน่วยงานต่าง ๆ ภายในพื้นที่ 14 จังหวัดภาคใต้ จากกลุ่มอาจารย์ประจำหลักสูตร กลุ่มนิสิตที่กำลังศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา กลุ่มบุคลากรภาครัฐ และกลุ่มผู้ประกอบการ จำนวน 175 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงพรรณนา สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) เหตุผลในการศึกษาต่อ คือ ต้องการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เพิ่มพูนความรู้ ต่อยอดทางธุรกิจหรือสายอาชีพกฎหมาย เนื้อหาสาระวิชาต้องเป็นการนำความรู้ด้านกฎหมายและศาสตร์อื่น ๆ มาบูรณาการให้อยู่ในรูปแบบสหวิทยาการ เวลาเรียนต้องเป็นนอกเวลาราชการและช่วงเสาร์-อาทิตย์ ส่วนใหญ่ใช้ทุนทรัพย์ส่วนตัวและทุนที่มาจากการสนับสนุนของหน่วยงานในการศึกษาต่อ ค่าเทอมที่เหมาะสมต่อภาคการศึกษา 50,000 บาท - 85,000 บาท หรือตลอดหลักสูตร 150,000 บาท - 350,000 บาท เน้นการทำวิทยานิพนธ์ มากกว่าการทำการค้นคว้าอิสระและวิจัยรูปแบบอื่น ๆ และเหตุผลในการเลือกสถานศึกษาในการศึกษาต่อ คือ ชื่อเสียงมหาวิทยาลัย และอยู่ใกล้กับสถานที่ทำงานและสถานที่พักอาศัย 2) ผลการศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่าง พบว่า โดยภาพรวมปัจจัยต่าง ๆ ในการศึกษาต่อปริญญาเอก อยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ พบว่า ตัวแปรทั้ง 7 ตัวแปร มีนัยทางสถิติที่ระดับ 0.01
Download
|
42 |
ถอดบทเรียนการอบรมเชิงปฏิบัติการ: เรื่องการวิจัยเชิงคุณภาพ สู่การพัฒนาทรัพยากรบุคคลของศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์
ผู้แต่ง:
ภาณุพันธุ์ อักษรเสือ, อุทุมพร หลอดโค, จิตติมา มโนนัย บาร์ทเล็ทท์
ฉบับที่ 3 เดือน
กันยายน - ธันวาคม ปี 2565
Keyword:
การปรับปรุงคุณภาพ, การรับรู้, ประสบการณ์, การอบรมเชิงปฏิบัติการ, การวิจัยเชิงคุณภาพ
หน้า: 1 - 12
(Download: 322 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับมุมมองการรับรู้และประสบการณ์ของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การวิจัยเชิงคุณภาพ” และเพื่อค้นหาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุงกระบวนการ วิธีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการด้านการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีการคัดเลือกบุคลากรจำนวน 9 ราย ที่สังกัดและปฏิบัติงานภายในศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง โดยใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีวิเคราะห์แก่นสาระ มีการจัดกลุ่มเป็นแก่นเรื่องและหัวข้อย่อย ผลการวิเคราะห์พบว่า ก่อนการเข้าร่วมการอบรมผู้เข้ารับการอบรมรับรู้และเห็นว่าระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเองและต่องานที่ทำ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินการวิจัยไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากความเป็นเอกลักษณ์ของวิธีการในแง่ของการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล และหลังจากการเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการผู้ให้ข้อมูลทุกคนได้เล็งเห็นถึงข้อดีของการวิจัยประเภทนี้ในการปรับปรุงคุณภาพ ประการแรกมีการระบุข้อมูลเชิงลึกได้อย่างแม่นยำเกี่ยวกับปัญหาที่พบ ประการที่สองมีความคิดริเริ่มในการปรับปรุงคุณภาพที่สร้างขึ้นโดยมาจากข้อมูลเชิงลึกเหล่านั้น สามารถนำไปใช้ประโยชน์ทั้งตัวบุคคลและในที่ทำงาน แต่ถึงอย่างไรก็ตามการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่ไม่ใช่ตัวเลขยังเป็นสิ่งที่ท้าทาย สรุปได้ว่า วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ มีบทบาทสำคัญและสามารถใช้ประโยชน์ได้จากการรับรู้ข้อมูลเชิงลึก ในการค้นหาปัญหาและช่วยกำหนดแผนการปรับปรุงและพัฒนาระบบการให้บริการ โดยกระบวนการวิธีการฝึกอบรมควรคัดเลือกผู้เข้ารับการอบรมที่มีความเต็มใจ พร้อมที่จะทุ่มเทเสียสละเวลา เน้นให้มีการฝึกปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอและมีพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
Download
|
43 |
การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แบบพอเพียงของผู้สูงวัยไทยในภาคตะวันออก
ผู้แต่ง:
เวธกา กลิ่นวิชิต, พิสิษฐ์ พิริยาพรรณ
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2563
Keyword:
คุณภาพชีวิต, สุขภาพพอเพียง, วิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, ผู้สูงอายุ
หน้า: 80 - 93
(Download: 311 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์การวิจัยครั้งนี้เพื่อประเมินคุณภาพชีวิตและศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุและศักยภาพการดูแลผู้สูงอายุของผู้ดูแลและศึกษาแนวทางพัฒนาคุณภาพชีวิตแบบพอเพียงบนพื้นฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการมีส่วนร่วมของชุมชน เป็นวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ประเมินสถานการณ์และสภาพปัญหา กลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 334 คน ประชากร 645,353 คน และผู้ดูแล 334 คน ประชากร 4,098,487 คน ในพื้นที่ภาคตะวันออก เครื่องมือของกลุ่มผู้สูงอายุ ได้แก่ แบบวัดคุณภาพชีวิตและแบบประเมินศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุ กลุ่มผู้ดูแลใช้แบบประเมินศักยภาพการดูแล ประกอบด้วยแบบวัดการรับรู้ภาวะสุขภาพ แบบประเมินปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุ และแบบประเมินความสามารถตนเองในการดูแลผู้สูงอายุ สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย กลุ่มตัวอย่าง มีเกณฑ์คัดเลือก ได้ผู้สูงอายุและผู้ดูแล กลุ่มละ 50 คน ใช้วิธีสนทนากลุ่ม ขั้นตอนที่ 3 การประเมินผลโดยผู้ใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเดียวกับขั้นตอนที่ 2 ผลการวิจัย พบว่า คุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ อยู่ในระดับดี ด้านร่างกาย จิตใจและสัมพันธภาพทางสังคมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี ศักยภาพการดูแลตนเองของผู้สูงอายุค่อนข้างเหมาะสม ผู้ดูแลรับรู้ภาวะสุขภาพผู้สูงอายุระดับปานกลาง ปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวานและโรคข้อ ความสามารถในการดูแลผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลาง รูปแบบพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ใช้แผนภาพ “บ้าน” มีปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเปรียบเสมือนหน้าจั่วของบ้านยึดเหนี่ยวและนำทาง ตัวบ้าน คือ ความรู้ คู่คุณธรรม ผู้สูงอายุ คือ ผู้อยู่อาศัยในบ้าน ประกอบด้วย ร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ แวดล้อมด้วยสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลประเมินการใช้รูปแบบ พบว่า ผู้สูงอายุและผู้ดูแล มีความพึงพอใจระดับมากที่สุด
Download
|
44 |
การพัฒนาที่ยั่งยืน: การขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยงานวิจัย
ผู้แต่ง:
ภาสกร บุญคุ้ม, รัตนา ด้วยดี
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2566
Keyword:
การพัฒนาที่ยั่งยืน, งานวิจัย, มหาวิทยาลัยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน
หน้า: 165 - 176
(Download: 293 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ผลจากการพัฒนาในอดีตพบว่าเกิดความไม่สมดุลและไม่ยั่งยืน แม้ตัวเลขรายได้ประชาชาติเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังมีปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ดังนั้น การพัฒนาอย่างยั่งยืนคือคำตอบการในการบริหารจัดการการพัฒนาสังคมในมิติต่าง ๆ ในปัจจุบัน โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนเน้นการสรางความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดลอม การที่จะทำให้เกิดความสมดุลของการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้นั้นจะต้องพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะต่าง ๆ ที่จำเป็น บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการขับเคลื่อนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วยงานวิจัยโดยได้นำเสนอสองประเด็นหลัก คือ (1) บทบาทงานวิจัยที่จะช่วยให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ 1.1) งานวิจัยจะช่วยให้เข้าใจสภาพปัญหา ความท้าทายของแต่ละเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนว่ามีสถานการณ์อย่างไร 1.2) งานวิจัยช่วยกำหนดขอบเขตการพัฒนาที่ยั่งยืนให้มีความชัดเจนและเฉพาะเจาะจง 1.3) งานวิจัยช่วยกำหนดการพัฒนาแนวทาง การแก้ไขปัญหา 1.4) งานวิจัยช่วยในการระบุและประเมินทางเลือกหรือเส้นทางการพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด และ 1.5) งานวิจัยช่วยในการสนับสนุนการดำเนินงานเป็นไปตามกรอบการพัฒนาที่ยั่งยืน (2) แนวทางการสนับสนุนให้เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นประเด็นวิจัยในมหาวิทยาลัย ได้แก่ 2.1) มหาวิทยาลัยควรทำให้นักวิจัยรู้จักและเข้าใจเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเฉพาะนักวิจัยรุ่นใหม่ที่อยากจะสร้างผลงานทางวิชาการ (Profile) ในระยะยาว 2.2) ช่วยให้นักวิจัยเห็นความเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัยของเขากับเป้าหมายต่าง ๆ ทั้ง 17 เป้าหมาย 2.3) วิเคราะห์จุดแข็งด้านงานวิจัยของมหาวิทยาลัยโดยเชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และระบุตัวนักวิจัยหลักให้ชัดเจน 2.4) หมั่นรายงานว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนอย่างไร และ 2.5) ส่งเสริมให้นักวิจัยเชื่อมโยงตนเองกับชุมชนนักวิจัยระดับโลก
Download
|
45 |
การพัฒนาเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผู้แต่ง:
จีราวรรณ ทองลิ้ม
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2564
Keyword:
เว็บไซต์, เวิร์ดเพรส, คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์, มหาวิทยาลัยนเรศวร
หน้า: 178 - 184
(Download: 293 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อพัฒนาระบบเว็บไซต์ในการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารของคณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่พัฒนาขึ้นจากกลุ่มตัวอย่าง 240 คน ประกอบด้วย นิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลภายนอก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่พัฒนาด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส เวอร์ชัน 4.97 และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ ผลการวิจัยด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ของนิสิต อาจารย์ เจ้าหน้าที่ คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และบุคคลภายนอกที่เข้าใช้งานเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีความพึงพอใจต่อเว็บไซต์ที่พัฒนาขึ้น โดยภาพรวมของเว็บไซต์อยู่ในระดับ มาก ( = 4.14, SD = 0.69) โดยแบ่งเป็นรายด้าน ดังนี้ ด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก ( = 4.15, SD = 0.70) ด้านการออกแบบอยู่ในระดับมาก ( = 4.16, SD = 0.70) และด้านประโยชน์และการนำไปใช้อยู่ในระดับมาก ( = 4.12, SD = 0.68) สรุปได้ว่าเว็บไซต์คณะวิทยาศาสตร์การแพทย์ มหาวิทยาลัยนเรศวรที่ได้พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรมเวิร์ดเพรส สามารถใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลและประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานได้
Download
|
46 |
การวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยของ ห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้แต่ง:
วาทิศ วารายานนท์
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ, มาตรฐานความปลอดภัย, ESPReL Checklist, BSL Checklist
หน้า: 134 - 143
(Download: 289 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจสภาพความปลอดภัยและวิเคราะห์ผลการประเมินตนเองของห้องปฏิบัติการเคมีคลินิก คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตามรายการสำรวจสภาพความปลอดภัยตามระบบมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (ESPReL Checklist) และรายการสำรวจความปลอดภัยห้องปฏิบัติการทางชีวภาพ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (BSL Checklist) ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบผลการประเมินตนเองตามมาตรฐานความปลอดภัยทั้ง 2 เครื่องมือของปี 2565 เทียบกับปี 2564 พบว่า (1) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางเคมีจากการสำรวจด้วย ESPReL Checklist ใน 7 องค์ประกอบหลัก และมี 6 องค์ประกอบที่ต้องทำการยกระดับความปลอดภัย เนื่องจากมีร้อยละคะแนนอยู่ในช่วงร้อยละ 75–85 ได้แก่ องค์ประกอบที่ 1 การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย องค์ประกอบที่ 2.1 การจัดการข้อมูลสารเคมี องค์ประกอบที่ 3.2 การลดการเกิดของเสีย องค์ประกอบที่ 5.1 การบริหารความเสี่ยง องค์ประกอบที่ 5.3 ข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยโดยทั่วไป และองค์ประกอบที่ 7 การจัดการข้อมูลและเอกสาร ซึ่งห้องปฏิบัติการควรเร่งหาแนวทางหรือมาตรการมารองรับ เพื่อยกระดับความปลอดภัยของห้องปฏิบัติการให้สอดคล้องกับมาตรฐานความปลอดภัย และ (2) องค์ประกอบด้านความปลอดภัยทางชีวภาพจากการสำรวจด้วย BSL Checklist มีร้อยละคะแนนเกินร้อยละ 80 ทุกองค์ประกอบ
Download
|
47 |
การศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีน ด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงร่วมกับตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์
ผู้แต่ง:
จรรยา แสงเขียว
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2567
Keyword:
ตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์, ตัวตรวจวัดชนิดฟลูออเรสเซนต์, ไฮดรอกซีโพรลีน
หน้า: 94 - 102
(Download: 287 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีนด้วยเทคนิคโครมาโทกราฟีของเหลวสมรรถนะสูงร่วมกับตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์ (HPLC-DAD) และเพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทดสอบด้วยตัวตรวจวัดชนิดไดโอดแอเรย์และฟลูออเรสเซนต์ (HPLC-FLD) พบว่าความยาวคลื่นของตัวอย่างที่เหมาะสม คือ 270 นาโนเมตร แบนวิธ 10 นาโนเมตร และความยาวคลื่นอ้างอิง 360 นาโนเมตร แบนวิธ 100 นาโนเมตร มีช่วงในการวัด 0.5-50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ขีดจำกัดในการวัดอยู่ที่ 0.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ตรวจสอบความแม่นและความเที่ยงของผลการทดสอบที่ได้จาก HPLC-DAD และ HPLC-FLD ด้วยวัสดุอ้างอิงมาตรฐานและตัวอย่างควบคุมคุณภาพ พบว่าค่าเฉลี่ยที่ได้เมื่อเทียบกับค่าอ้างอิง และเปรียบเทียบกับ HPLC-FLD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% มีความเที่ยงในการทำซ้ำ HORRAT น้อยกว่า 2 เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน แสดงให้เห็นว่าการทดสอบไฮดรอกซีโพรลีนด้วย HPLC-DAD มีความถูกต้องแม่นยำ สามารถเป็นทางเลือกเพื่อนำไปใช้งานควบคู่หรือใช้งานทดแทนกันได้
Download
|
48 |
การทดสอบยอมรับระบบสารสนเทศโดยผู้ใช้งานออนไลน์ ในภาวะการระบาดของโรคโควิด 19
ผู้แต่ง:
วิภาวี รื่นจิตต์, รัตนา ปัดถา
ฉบับที่ 1 เดือน
มกราคม-เมษายน ปี 2567
Keyword:
การทดสอบยอมรับระบบโดยผู้ใช้งาน, ยูเอที, โปรแกรมซูม, ระบบสารสนเทศ, โรคโควิด 19
หน้า: 16 - 26
(Download: 286 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ในภาวะการระบาดของโรคติดต่อเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 การเว้นระยะห่างทางสังคม เป็นมาตรการสำคัญที่นำมาใช้เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรค ลดจำนวนผู้ติดเชื้อของประเทศ และเพื่อเป็นการตอบสนองต่อมาตรการดังกล่าว ทั้งภาครัฐและเอกชนได้ออกนโยบายให้เจ้าหน้าที่ทำงานที่บ้าน (Work From Home) ด้วยเหตุนี้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ย่อมได้รับผลกระทบ ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ตลอดจนค้นคิดหาเครื่องมือช่วยเหลือการทำงาน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามปกติโดยไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินงานการทดสอบยอมรับระบบโดยผู้ใช้งานเป็นกระบวนการที่ใช้ในการทดสอบก่อนการขึ้นใช้งานของระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยองค์กร โดยผู้ใช้งานหรือเจ้าของระบบ(Product Owner) เข้ามาตรวจสอบเพื่อยืนยัน ความถูกต้องและกระบวนการทำงานของระบบที่พัฒนาขึ้น ว่าเป็นไปตามความต้องการและสามารถรองรับกระบวนการทางธุรกิจของตนเองได้ก่อนนำระบบขึ้นใช้งานจริง ซึ่งมีความจำเป็นต้องอาศัยบุคคลหลายกลุ่มเข้าร่วมทดสอบและวางแผนการดำเนินการ ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในช่วงภาวะวิกฤตการระบาดของโรคโควิด 19 ฝ่ายสารสนเทศ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้ศึกษาแนวทางการนำโปรแกรมเพื่อการจัดการประชุมและกิจกรรมออนไลน์ เช่น ZOOM cloud meeting, Cisco WebEx, Google hangouts meet, Skype, Microsoft Teams, Line, Bluejeans เป็นต้น เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับจัดกิจกรรมการทดสอบยอมรับระบบสารสนเทศโดยผู้ใช้งานออนไลน์ เพื่อให้ได้ขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถนำมาปรับปรุงและทดแทนกระบวนการทำงานรูปแบบเดิมได้
Download
|
49 |
ทางเลือกใหม่ของการทดลองกฎของฮุค
ผู้แต่ง:
นัฐชยพงศ์ ธีรัชตระกูล
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2564
Keyword:
กฎของฮุค, แรงตึงเริ่มต้น, มอดูลัสเฉือน
หน้า: 113 - 120
(Download: 283 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
ในรายงานฉบับนี้ ได้เสนอทางเลือกใหม่ในการทดลองกฎของฮุค โดยเพิ่มเติมการหาค่าแรงตึงเริ่มต้น ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่สปริงกับความยาวของสปริง การหาค่าคงที่สปริงที่ต่อแบบอนุกรมโดยการใช้สปริงเพียงเส้นเดียว นอกจากนั้นยังได้หาค่ามอดูลัสเฉือนของวัสดุที่ใช้ทำสปริงด้วย จากการทดลองได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจและสอดคล้องกับการวิเคราะห์เชิงทฤษฎีเป็นอย่างดี การจัดชุดการทดลองที่เรียบง่ายได้ผลลัพธ์ที่แม่นยำและมีประโยชน์ทางการศึกษา ทำให้การทดลองนี้น่าสนใจและเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยชั้นปีที่ 1
Download
|
50 |
ความต้องการ แรงจูงใจ อุปสรรค และการส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R): กรณีศึกษาสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล
ผู้แต่ง:
ภาสกร บุญคุ้ม, พลอยชมพู สุคัสถิตย์
ฉบับที่ 2 เดือน
พฤษภาคม-สิงหาคม ปี 2566
Keyword:
ความต้องการ, แรงจูงใจ, อุปสรรค, งานประจำสู่งานวิจัย, บุคลากรสายสนับสนุน
หน้า: 67 - 80
(Download: 277 ครั้ง)
|
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความต้องการ แรงจูงใจ อุปสรรคในการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัยของบุคลากรสายสนับสนุน สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล 2) การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ มีกลุ่มประชากรที่ศึกษาเป็นผู้บริหาร จำนวน 2 คน และบุคลากรสายสนับสนุน จำนวน 36 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสอบถามออนไลน์โดยมีลักษณะเป็นคำถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และร้อยละ ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) บุคลากรส่วนใหญ่มีความต้องการที่จะทำ R2R (ร้อยละ 65.4) และไม่มีความต้องการทำ R2R (ร้อยละ 34.6) โดยเหตุผลของผู้ที่มีความต้องการทำ R2R ส่วนใหญ่ คือ พบปัญหาในงานจึงต้องการหาวิธีการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น (ร้อยละ 43.5) ส่วนเหตุผลของ ผู้ที่ไม่ต้องการทำ R2R ส่วนใหญ่ คือ มีภาระงานประจำมากเกินไปจึงไม่มีเวลาทำ (ร้อยละ 29.2) 2) แรงจูงใจ และอุปสรรคในการพัฒนางาน R2R คือ 2.1) แรงจูงใจในการพัฒนางาน R2R ได้แก่ ต้องการแก้ไขปัญหาใน การทำงาน พัฒนาศักยภาพตนเอง สร้างคุณค่าและความภูมิใจในการทำงาน การมีรายได้เพิ่ม และเนื่องจาก การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานเป็นอย่างดี 2.2) อุปสรรคในการพัฒนางาน R2R ได้แก่ การขาดความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับงาน R2R โดยบุคลากรส่วนใหญ่เข้าใจว่าต้องเขียนเชิงวิชาการและมีความยุ่งยากซับซ้อน การขาดประสบการณ์และทักษะในการเขียน และการมีภาระงานประจำและภาระครอบครัวมาก จึงไม่สามารถจัดเวลาได้ 3) การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนางานประจำสู่งานวิจัย (R2R) ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มี 4 รูปแบบคือ 3.1) การส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจในการพัฒนางาน R2R 3.2) การพัฒนาทักษะการเขียน 3.3) การกระตุ้นและติดตามอย่างต่อเนื่อง และ 3.4) การให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา
Download
|